Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
8 ต.ค. 2022 เวลา 03:50 • ธุรกิจ
ทำไมบางครั้ง สินค้าตัวเดียวกัน ขายถูก-แพง ไม่เท่ากัน
ทำไมบางโรงหนัง ขายตั๋วหนังรอบเดียวกัน โซนเดียวกันให้คนทั่วไป แพงกว่าขายให้นักศึกษา ?
ทำไมตั๋วเครื่องบินเที่ยวเดียวกัน โซนเดียวกัน บางคนจองได้ถูก บางคนจองได้แพง ?
เรื่องนี้สามารถอธิบายแบบเนิร์ด ๆ ได้
ด้วยทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ที่เรียกว่า “Price Discrimination”
แล้ว Price Discrimination คืออะไร ?
BrandCase จะสรุปให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
เป็นเรื่องปกติที่สินค้าหลายอย่างมีราคาต่างกัน เนื่องมาจากความแตกต่างของตัวสินค้า เช่น แบรนด์ หรือวัสดุที่ใช้ จึงไม่แปลกที่จะทำให้ราคาสินค้านั้นต่างกัน
แต่หลายครั้ง แม้จะเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน ไม่มีความแตกต่างใด ๆ ในตัวของสินค้าหรือบริการ แต่ราคาสินค้านั้น กลับขายในราคาต่างกัน
โดยทั่วไป หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอุปสงค์ คือ “Willingness to Pay” หรือความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้บริโภค
ดังนั้น ตราบใดที่ผู้บริโภคยังเต็มใจที่จะจ่าย เพื่อซื้อสินค้าในราคาเท่านี้ ผู้ผลิตก็พยายามที่จะตั้งราคาตามที่ผู้บริโภคเต็มใจจ่าย
เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น สมมติว่า เรากำลังขายสินค้าชิ้นหนึ่ง โดยมีต้นทุนที่ 10 บาท และมีผู้ที่ต้องการซื้อสินค้าของเราทั้งหมด 3 คน โดย
- คนที่ 1 เต็มใจที่จะจ่ายได้สูงสุด 20 บาท
- คนที่ 2 เต็มใจที่จะจ่ายได้สูงสุด 18 บาท
- คนที่ 3 เต็มใจที่จะจ่ายได้สูงสุด 16 บาท
การตั้งราคาที่แตกต่างกันแบบนี้ เรียกว่า “Price Discrimination” หรือการแบ่งแยกราคา
ถ้าเราตั้งราคาขายที่ 20 บาท เราจะขายได้ 1 ชิ้น โดยมีกำไรเท่ากับ 10 บาท ซึ่งมาจากคนที่ 1 คนเดียว เพราะคนอื่นไม่เต็มใจที่จะจ่ายในราคานี้
แต่ถ้าหากเราตั้งราคาขายที่ 18 บาท เราจะขายสินค้าได้ 2 ชิ้น โดยมีกำไรชิ้นละ 8 บาท ทำให้ได้กำไรทั้งหมดเท่ากับ 16 บาท
และถ้าหากเราตั้งราคาขายที่ 16 บาท เราจะขายสินค้าได้ 3 ชิ้น โดยมีกำไรชิ้นละ 6 บาท ทำให้ได้กำไรทั้งหมดเท่ากับ 18 บาท
เราจะเห็นว่า จากสถานการณ์ดังกล่าว การตั้งราคาขายที่ 16 บาทนั้น จะทำให้ธุรกิจได้กำไรสูงถึง 18 บาท
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตก็ยังสามารถทำกำไรได้มากกว่า 18 บาท หากนำกลยุทธ์การแบ่งราคาขายมาใช้ โดยตั้งราคาขายสูงสุด เพราะตราบใดที่ผู้บริโภคแต่ละคน ยังมีความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อซื้อสินค้าของเรา
หมายความว่า เมื่อผู้ผลิตรู้ว่า คนที่ 1 นั้น มีความเต็มใจที่จะจ่ายได้สูงสุดถึง 20 บาท
คนที่ 2 เต็มใจที่จะจ่ายได้สูงสุด 18 บาท
และคนที่ 3 เต็มใจที่จะจ่ายได้สูงสุด 16 บาท เขาก็จะตั้งราคาขายเท่านั้น กับคนแต่ละกลุ่มไปเลย
ดังนั้น ในกรณีนี้ ผู้ผลิตสามารถทำกำไรได้สูงถึงที่ 24 บาท มากกว่ากรณีที่ผู้ผลิตเลือกที่จะตั้งราคาขายไว้ที่ราคาเดียวที่ 16 บาท นั่นเอง
คำถามคือ ถ้าคนที่ 1 กับคนที่ 2 รู้ว่าตัวเองต้องจ่ายแพงกว่า คนที่ 3 แล้วทำไมเขาถึงยังยอมจ่าย
ประเด็นคือ มันจะมีสถานการณ์ หรือเงื่อนไขเข้ามาบีบบังคับ ให้จำเป็นต้องจ่ายในราคาที่สูงกว่า
เช่น ถ้าจองตั๋วเครื่องบินก่อนวันเดินทางวันเดียว และมีที่นั่งเหลืออยู่เพียงที่นั่งเดียว
เราก็ต้องจำยอมจ่ายในราคาที่สูงกว่าคนอื่น
เพราะสายการบินจะรู้ว่า เราอาจไม่มีทางเลือกมากนัก ถ้าเราจำเป็นต้องเดินทางในวันพรุ่งนี้แล้วนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องหมายเหตุว่า การที่บริษัทหรือผู้ผลิตรายใดจะทำแบบนี้ ก็ต้องทำภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ต้องไม่มีผู้บริโภครายใดซื้อ และนำไปขายต่อ
หรืออาจมีการเก็งกำไรด้วยการซื้อสินค้าประเภทเดียวกัน ในราคาที่ถูกกว่า แล้วนำไปขายในราคาที่แพงกว่า
1
เช่น กรณีของสายการบิน ที่ต้องลงชื่อผู้เดินทางกำกับไปเลยตอนซื้อตั๋ว
เพราะถ้าไม่มีเงื่อนไขนี้ ผู้บริโภคบางคนก็อาจจะซื้อสินค้า แล้วนำไปขายต่อ สุดท้ายจะทำให้สินค้ามีราคาเดียวในที่สุด และกลยุทธ์ Price Discrimination ก็จะไม่สามารถถูกนำไปใช้ได้อีกต่อไป
อ่านมาถึงตรงนี้ เราน่าจะหายสงสัยไปบ้างแล้วว่า
ทำไมบางครั้งสินค้าชนิดเดียวกัน ถึงขายในราคาต่างกัน
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า ผู้ผลิต หรือผู้ให้บริการ ต้องการทำกำไรให้ได้สูงสุด นั่นเอง..
References
-
https://en.wikipedia.org/wiki/Price_discrimination
-
http://sagehouse.igetweb.com/index.php?mo=3&art=517676
ธุรกิจ
10 บันทึก
15
6
10
15
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย