10 ต.ค. 2022 เวลา 09:38 • ท่องเที่ยว
ชมบุปผชาติเบิกบานที่สวนแม่ฟ้าหลวง
ดอยตุง เป็นขุนเขาลูกหนึ่งของเทือกเขาดอยขุนน้ำนางนอน ที่ทอดไปตามแนวพรมแดนไทยพม่า หากมองรูปสัณฐานจากถนนสายแม่จันทร์-แม่สาย จังหวัดเชียงราย ก็ดูคล้ายสาวนอนเหยียดยาว ดอยตุงจะตั้งอยู่ตรงส่วนที่เป๋นใบหน้าของเทือกเขานางนอนนี้ บนยอดสุดของดอยตุงเป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุดอยตุง ปูชนียสถานสำคัญอย่างหนึ่งของภาคเหนือ อันเป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชน มาแต่โบราณกาล ชื่อดอยตุงนั้นตรงกับภาษาภาคกลางว่าดอยธง ที่มีตำนานมาจากการสร้างพระธาตุดอยตุงนั่นเอง
บนยอดสุดของดอยตุงจึงปรากฏวัดพระธาตุดอยตุงอันมีพระสถูปสีทองคู่ประดิษฐานเป็นศรีสง่าแก่พุทธศาสนิกชนได้มาสักการะเป็นเวลายาวนาน และวันนี้ในทางด้านใต้ก็ปรากฏสถานที่อันเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนชาวไทยขึ้นอีกแห่งหนึ่ง คือ พระตำหนักดอยตุง ที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จย่าหรือที่ชาวเหนือเรียกว่า แม่ฟ้าหลวง
พระตำหนักดอยตุงที่สมเด็จย่าโปรดให้กร มชลประทานปลูกเป็นบ้านหลังเล็กๆเพื่อประทับพักผ่อนขณะทรงงานปลูกป่าร่วมกับโครงการพัฒนาดอยตุง สร้างบนพื้นที่29 ไร่ 3งาน ตัวบ้านเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น มีรูปทรงผสมผสานระหว่างศิลปล้านนากับชาเลต์ของสวิส ผนังด้านนอกปิดด้วยปีกไม้สักทองแบบล๊อคเคบินภายในกรุด้วยไม้สนภูเขา เครื่องเรือนทุกชิ้นทำด้วยไม้สน ลักษณะเด่นของบ้านที่ดอยตุงคือเหนือจั่วหลังคามีกาแลแกะสลักวิจิตร เชิงชายแกะสลักลายเมฆไหล ขอบหน้าต่างแกะสลักชีวิตชาวเมืองเหนือ
พระตำหนักดอยตุง มิใช่แต่เป็นบ้านที่สมเด็จย่าประทับทรงงานในโครงการพัฒนาดอยตุงเท่านั้น แต่เคลื่อนไหวอย่างีวดเร็วที่เรียกว่าศรัทธา นับแต่พระองค์ทรงปลูกป่าบนดอยตุง เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คน หน่วยงานต่างๆได้สนองพระปณิธานด้วยการตั้งโครงการพัฒนาดอยตุง เพื่อพัฒนาดอยตุงในพื้นที่ 93515 ไร่ หรือ 150 ตารางกิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่กว่า 20000 คน ส่วนใหญ่เป๋นชาวไทยภูเขาและทำไร่เลื่อนลอย
โครงการพัฒนาดอยตุง เป็นโครงการแบบเบ็ดเสร็จ กำหนดระยะเวลาไว้สามปี เริ่มตั้งแต่เดือน กันยายน 2530-ตุลาคม 2533 โดยมีวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดในเรื่องการพัฒนาให้เป็นที่อุดมสมบูรณ์ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติฯอย่างเหมาะสม และยกระดับคุณภาพชีวิตประชากร และประสบความสำเร็จตามแผน 100%
ผลสำเร็จจากการพัฒนาดอยตุงก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดินตุงและภายนอกอย่างเห็นได้ชัด ผู้คนเริ่มทยอยเข้ามาในพื้นที่ดอยตุงมากขึ้น จนรัฐบาลขายระยะเวลาพัฒนาดอยตุงต่อไปอีกสามปี
เมื่อโครงการพัฒนาดอยตุงฯสำเร็จทำให้มีผู้คนเข้าไปทำมาหากินและท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวขึ้น โดยสร้างสวนไม้ดอกไม้ประดับบริเวณด่านหลังพระตำหนัก ก่อสร้างอาคารบริการนักท่องเที่ยว และป้ายแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและน้อมถวายในเวลาต่อมา
สวนแม่ฟ้าหลวง
ณ ที่ลาด้ชิงเขาที่เป็นที่ตั้งของพระตำหนักดอยตุง ภาพภูมิประเทศที่มองเห็นเป็นภาพขุนเขาสลับซับซ้อนไปทางทิศเหนือ ส่วนทางทิศใต้เป๋นท้องทุ่ง เป๋นเขต อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย และอำเภอเชียงแสน ทางทิศเหนือจะเห็นสามเหลี่ยมทองคำ และสาธาณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในขณะทางตะวันตกเป๋นแนวกั้นระหว่างไทยและพม่า
บริเวณทางขึ้นพระตำหนักดอยตุง เป็นต้นตุงอยู่กลางลาน มีอาคารกองอำนวยการรักษาความปลอดภัยพระตำหนักดอยตุงอยู่หลังหนึ่ง ชั้นบนใช้เป็นที่ประชาสัมพันธ์ ขายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ทางลงสวนแม่ฟ้าหลวง มีประตูอยู่ด้านข้างบริการนักท่องเที่ยว บริเวณทางเดินชมสวนมีป้ายบอกทางเป็นระยะ สองข้างทางมีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น ใต้ต้นมีเฟิร์น มีต้นนางแย้มป่าอวดดอกยิ้มแย้มอยู่ริมทาง
สวยประติมากรรมมทางขวา และสวนไม้มงคลอยู่ฝั่งซ้าย มีต้นคริสมาส ฮอนลี่ฮอก สนสามร้อยยอด เบญจมาศ พุดตาน รวมเรียกว่าไฟของเซนจอร์น พรึะบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พนะราชนิพนธ์ไว้ในฮกลกซิ่ว
ฮก คือดอกพุดตาน ที่จีนถือว่าเป็นดอกไม้วิเศษ ปลูกไว้ที่ใดต้นไม้อื่นล้อมรอบ
ลก ใช้ดอกเบญจมาศ เพราะดอกซ้อนแสดงถึงความมั่นคง
ซิ่ว ใช้ต้นสนเพราะเป็นไม้ใหญ่และทนกว่าไม้อื่นในจีน
บริเวณสวยประติมากรรมเห็นแต่ดอกไม้กลายพันธุ์หลายสีสัน ปรับเขาให้ลาดเอียงสม่ำเสมอ เป็นรูปใบพัดและมีการปั้นอย่างต่อเนื่อง เป็นฝีมือของคุณมิดซียม ยิบอินซอย รอบรูปปั้นออกแบบเป็นรูปลายผ้า และซุ้มไม้เลื้อยที่มีพันธุ์ไม้กว่า70ชนิด
โฆษณา