7 ต.ค. 2022 เวลา 15:20 • ข่าวรอบโลก
เอเซีย ไปต่อไม่รอแล้วนะ! ซื้อพลังงานรัสเซียหนักมาก มั่นคงพลังงานสูงกว่ายุโรป
8
ในขณะที่บรรดาผู้นำยุโรป ยังคงหลงตัวตนของพวกตนเองว่าเป็น "ศูนย์กลางแห่งโลก" เชื่อข่าวกรองลวงจากสหรัฐ ว่าต้องรักษาระเบียบโลกเก่าขั้วเดียวไว้เพื่อจะมีอำนาจครอบงำโลกต่อไป
โดยคว่ำบาตรรัสเซียหวังให้มีรายได้เข้าประเทศน้อยลง จะได้มีแสนยานุภาพทางอาวุธด้อยกว่าสหรัฐ แล้วรัสเซียจะถูกข่มขู่จนแตกเป็นประเทศย่อยๆ แบบยุคศตวรรษ 1900 จากนั้นลูกพี่สหรัฐ ให้คำมั่นว่าจะพาบริวารไปรุมขย้ำพลังงานจากประเทศเกิดใหม่เหล่านั้น
5
แต่โลกจะต้องหมุนไปตามยุคสมัย รัสเซีย จับมือกับจีน และพันธมิตรทั่วโลก ประกาศโค่นล้มระเบียบโลกขั้วเดียวให้จบสิ้นยุคลงแล้ว และจัดระเบียบโลกใหม่หลายขั้วที่เป็นธรรม และที่ผ่านมาก็ทำได้จริง
เพราะบรรดาชาติตะวันออกกลาง มหาอำนาจพลังงาน ต่างพากันแห่ตีจากสหรัฐ ยุโรป หันมาร่วมมือรัสเซียในนามกลุ่ม OpecPlus ที่ทรงอำนาจพลังงานมากที่สุดในโลก สหรัฐไม่อาจเทียบได้เลย
7
รัสเซีย ขยับทางใด OpecPlus ก็ขยับทางนั้นเหมือน "นักดนตรีวงเดียวกัน" เมินเฉยคำขู่สหรัฐ ไม่ใยดีคำขอร้องจากยุโรป นี่คือจุดแตกของระเบียบโลกเก่าที่ชัดเจนที่สุด
สินค้าของรัสเซียแม้ไม่มีลูกค้ายุโรป แต่ชาติทั้งโลก 3 ใน 4 ก็พร้อมจะซื้อสินค้าโภคภัณฑ์พลังงาน สินแร่ อาหาร ฯลฯ จากรัสเซีย เพราะต้องใช้ดำรงชีพพื้นฐานขาดไม่ได้แม้นาทีเดียว ไม่เช่นนั้นประเทศที่แม้แข็งแกร่งขนาดไหนสังคมก็จะยุ่งเหยิงวุ่นวายไปหมด
8
รัสเซีย จีน แสดงให้นานาชาติเห็นว่าชาติตะวันตก "ไม่ใช่ศูนย์กลางแห่งโลก" อีกต่อไปแล้ว จบสิ้นอำนาจควบคุมโลกแล้ว ไม่มีใครฟังคำสั่งมหาอำนาจตะวันตกขั้วเดียวอีก มีแต่ "อำนาจหลายขั้ว" ตามภูมิรัฐศาสตร์
สหภาพยุโรปสั่งห้ามนำเข้าพลังงานรัสเซีย แต่ยุโรปไม่ใช่เจ้านายชาวโลก ตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นไปความมั่นคงด้านพลังงานกลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อทุกชาติ
ราคาพลังงานที่สูงเกินไปอาจก่อให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเมืองและสังคมตามมา ชาติต่างๆ จำเป็นต้องจัดหาพลังงานบริการให้กับพลเมืองของตนในราคาที่ไม่แพง
12
เดือน ก.ย.2022 ข้อมูลจาก S&P Global Commodities at Sea อินเดียและจีนนำเข้าน้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์ของรัสเซียรวมกัน 2.7 ล้านบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้น 54% จากปีที่แล้ว จีนได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในสนับสนุนจัดระเบียบโลกใหม่ จากธุรกรรมการเงินด้านพลังงานทั่วโลก
โดยรัสเซียส่งออกก๊าซ LPG ทางท่อไซบีเรีย และก๊าซเหลว LNG , น้ำมัน ถ่านหิน ทางเรือสินค้าจากทะเลเหนือ และทางถนนเชื่อมไปยังจีนเพื่อแปรสภาพ แล้วผสมส่งออกไปยังยุโรป และประเทศอื่นในนาม "ก๊าซ และน้ำมันจีน"
6
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกไม่มีพลังงานเป็นของตนเองเพียงพอใช้ในประเทศ จึงไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้เมื่อต้องเผชิญกับความต้องการด้านพลังงานสูง จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากภายนอกเป็นหลัก
ความมั่นคงด้านพลังงานเป็นปัญหาสำหรับชาติเอเชียที่ขาดแคลนทรัพยากรพลังงานมาโดยตลอด แต่สมรภูมิสงครามระหว่าง NATO กับรัสเซีย ในพื้นที่ยูเครน ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับวิกฤติพลังงานของเอเซียตะวันออกที่เป็นบริวารสหรัฐ
4
โดยที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศเกาะที่ขาดแคลนพลังงาน จึงมีความเสี่ยงต่อผลกระทบต่อตลาดพลังงานทั่วโลก ในปี 2020 ญี่ปุ่นมีอัตราการพึ่งตนเองด้านพลังงานได้ต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออก
เมื่อต้นปีนี้ น้ำมันดิบของรัสเซียถูกกว่าน้ำมันดิบเบรนท์ ทะเลเหนือของอังกฤษ มากกว่า 30 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ปัจจุบันรัสเซียเพิ่มราคาขึ้นจึงถูกกว่าน้ำมันดิบเบรนท์ราว 20 ดอลลาร์/บาร์เรล
4
เศรษฐกิจเอเชียจำนวนมากจึงเกิดความได้เปรียบด้านราคาของพลังงานของรัสเซีย ที่กลายเป็น“สินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ที่ทรงพลัง”
รัสเซีย ยืนยันที่จะใช้เงินรูเบิลเป็นสกุลเงินสำหรับการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจในเอเชียทำข้อตกลงเพื่อจ่ายค่าพลังงานให้รัสเซียโดยใช้เงินหยวนของจีน
เสริมสัดส่วนเงินหยวนในตลาดการค้าโลก และเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้ชาติในเอเซียสำหรับจ่ายค่าพลังงานให้รัสเซีย
10
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ดินแดนในเอเซียตะวันออกบริวารสหรัฐ จับตามองการล่มสลายจากวิกฤติพลังงานยุโรปที่คว่ำบาตรรัสเซีย พวกเขาไม่ต้องการพาชาติและประชาชนหายนะแบบยุโรป จึงไม่ประกาศโชว์พาวแสดงอำนาจบาตรใหญ่ แต่ใส้แห้งแบบนั้น
เนื่องจากราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น ความต้องการพึ่งพานำเข้าพลังงานมากขึ้น และราคาที่แข่งขันได้ของพลังงานรัสเซีย
6
ทำให้ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน จึงแอบซื้อพลังงานรัสเซียมากขึ้นอย่างเงียบเชียบมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงครึ่งปีแรกปีนี้ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน นำเข้าเชื้อเพลิงน้ำมันและก๊าซ จากรัสเซียรวมกัน 5,500 ล้านดอลลาร์ สวนทางกับสหภาพยุโรป
โดยศูนย์วิจัยพลังงานและอากาศบริสุทธิ์ (CREA) ประเมินว่าการนำเข้าถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ จากรัสเซีย แยก 3 ดินแดนดังนี้
5
- ญี่ปุ่นซื้อมูลค่า 2,600 ล้านดอลลาร์
- เกาหลีใต้ 1,700 ล้านดอลลาร์
- ไต้หวัน 1,200 ล้านดอลลาร์
เมื่อเดือนที่แล้วบริษัท JERA ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ได้ลงนามในข้อตกลงการจัดหาก๊าซกับรัฐวิสาหกิจรัสเซีย ในโครงการพัฒนาน้ำมันและก๊าซ Sakhalin-2 ในตะวันออกไกลของรัสเซีย
1
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วบริษัท Toho Gas ผู้ให้บริการก๊าซในเมืองใหญ่อันดับสามของญี่ปุ่น ได้ต่อสัญญาซื้อก๊าซ LNG จากโครงการ Sakhalin-2
เพราะญี่ปุ่นไว้วางใจทรัพยากรพลังงานของรัสเซียมาก ทั้ง 3 ดินแดนจึงมีแนวโน้มว่าจะเป็นผู้นำเข้าพลังงานรายใหญ่ที่สุด และปั้มเงินเข้าคลังรัสเซียจนล้นทะลักเพิ่มขึ้นตลอดเวลา กลายเป็น "ขั้วอำนาจใหม่" แยกแตกกิ่งออกมา รอจังหวะประกาศปลดพันธนาการจากสหรัฐ
9
มีหลายชาติในเอเซียแอบไปทำข้อตกลงซื้อพลังงานราคาต่ำกับรัสเซียไว้แล้ว ดังนั้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะได้เห็นทิศทางพลังงานราคาถูกสู่ยุโรปปิดลง และเปลี่ยนทิศทางส่งพลังงานเหล่านั้นมายังประเทศต่างๆ ในเอเชียมากขึ้น
ชาติในเอเซีย จะรีบตระครุบโอกาสงามสำหรับก๊าซ LNG และน้ำมันของรัสเซีย เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤติพลังงานราคาแพงชะงักงันจากสหรัฐ ที่จะถูกยุโรปแย่งไป ย่อมเป็นสิ่งที่รัฐบาลและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในเอเซียไม่ต้องการความเสี่ยงพึ่งพาพลังงานราคาแพงจากสหรัฐ เหมือนที่ยุโรปกำลังเผชิญ
8
แนวโน้มเศรษฐกิจในเอเชียจะซื้อพลังงานจากรัสเซียเพิ่มมากขึ้นเพราะความได้เปรียบด้านราคาเป็นเหยื่อล่อที่ทรงพลัง ดังนั้นการที่ยุโรปคว่ำบาตร หรือจำกัดราคาพลังงานรัสเซีย จึงจะไม่มีผลกระทบอะไรกับรัสเซียเลยแม้เพียงน้อย
ในทางกลับกันพลังงานจากรัสเซีย จะสร้างความได้เปรียบ ย้ายความมั่งคั่งจากยุโรปมาให้เอเซีย เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม รายได้ GDP ของเอเซีย จะพุ่งขึ้นผงาดฟ้าแทนยุโรป
6
โดยเฉพาะไทยที่รักทุกฝ่าย ไม่เป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายใด ชาติมั่นคง โครงสร้างพื้นฐานดี มีพันธมิตรพลังงานรอบด้าน
จะกลายเป็นเป้าหมายการลงทุนจากจีน รัสเซีย เอเซียตะวันออก ยุโรป สหรัฐ ตะวันออกกลาง ดังนั้นการจัดระเบียบโลกใหม่หลายขั้วของรัสเซีย จีน คราวนี้อาเซียน และไทย "เหมือนถูกหวย" โดยไม่ต้องทำอะไรเลย
8
เพียงอย่าไปเผลอทำตามสหรัฐ ยุยงให้ขัดแย้งกับจีน และเพื่อนบ้านติดกันเท่านั้น จะปลอดภัยมั่นคง สู้ต่อไป รุ่งเรืองแน่นอน 🤩😂
3
ที่มา : scmp , CREA , reuters
#WorldUpdate
1
ช่องทางติดตามบทวิเคราะห์ข่าวเชื่อมโยงกัน
2
โฆษณา