10 ต.ค. 2022 เวลา 02:00 • ข่าวรอบโลก
คางคกฟักทอง “นักกระโดดจอมเงอะงะ” แห่งผืนป่าแอตแลนติกในบราซิล
สายพันธุ์และลักษณะเด่นของคางคกฟักทอง
Brachycephalus rotenbergae อีกชื่อหนึ่งของเพื่อนจิ๋วในบทความนี้ “คางคกฟักทอง” สายพันธุ์ของมันประกอบไปด้วยคางคกฟักทอง 36 ชนิด ขนาดของมันเล็กจิ๋วจนบางคนก็เรียกมันว่ากบจิ๋ว แต่ก็มีจุดเด่นที่สีส้มสดใสและสามารถเรืองแสงได้ในบางสถานการณ์ โดยสีส้มสดใสนี้เป็นสิ่งป้องกันตัวมันเองจากนักล่า เราเคยได้ยินว่ากบที่มีสีสันสวยงามบางชนิดสร้างพิษขึ้นมาได้เพื่อป้องกันตัวจากนักล่า สีสันเหล่านี้เป็นเหมือนเครื่องบอกนักล่าว่าพวกมันมีพิษนะ จงคิดอีกทีถ้าคิดจะกินพวกมัน
LUIZ F. RIBEIRO
พัฒนาการทางสรีระ
เจ้าเพื่อนจิ๋วของเรานั้นถูกค้นพบสายพันธุ์ชนิดใหม่เมื่อไม่นานนี้ ณ ผืนป่าแอตแลนติกในบราซิลซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำนวนมากที่สุดในโลก มันมีขนาดเล็กกว่าปกติ มีลายสีดำจางๆบนผิวหนัง เนื่องจากหูของพวกมันไม่ได้ถูกพัฒนามาได้ดีนัก ทำให้แม้แต่เสียงของพวกมันเองยังแทบจะไม่ได้ยินเลยทีเดียว โดยวิธีสื่อสารของพวกมันมาจากทางสายตาเป็นหลัก ผิวของพวกมันสามารถเรืองแสงได้เมื่อกระทบกับแสงอัลตร้าไวโอเล็ต
ความประหลาดและข้อถกเถียง
จุดที่แปลกที่สุดของคางคกฟักทอง ซึ่งนักวิชาการประหลาดใจมากก็คือ หลังจากกระโดดมันจะลอยขึ้นเคว้งคว้างในอากาศ บางครั้งก็หมุนเป็นกงเกวียน หรือพลิกกลับแล้วตกลงสู่พื้น บ่อยครั้งพวกเขาลงเอยด้วยการล้มลงหรือหันหลังลงสู่พื้น นักวิชาการจึงตั้งข้อสงสัยว่าเจ้าคางคกฟักทองนี้อาจมีปัญหาในจับการเคลื่อนไหวของร่างกายมัน
โดยทั่วไปแล้วของเหลวที่ไหลผ่านท่อกระดูกในหูชั้นในจะช่วยให้สัตว์สัมผัสตำแหน่งของร่างกายได้ แต่ของพวกมันมีขนาดเล็กมากสำหรับสัตว์มีกระดูกสันหลังที่โตเต็มวัย การศึกษาอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าท่อกระดูกเล็ก ๆ นั้นใช้งานไม่ได้ดีทั้งหมด ของเหลวในหูก็ไม่สามารถไหลผ่านได้อย่างอิสระ นั่นทำให้พวกมันไม่สามารถที่จะเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการลงเหยียบสู่พื้น
สถานการณ์ปัจจุบัน
ผืนป่าแอตแลนติกในบราซิลนั้นได้ชื่อว่าเป็นแหล่งรวมสัตว์ต่างๆมากมาย แต่ด้วยความเจริญของเมืองรวมถึงการทำลายป่า ทำให้กว่า 90% ของที่อยู่อาศัยของสัตว์เหล่านี้ถูกทำลายไป น่าเสียดายที่พื้นที่แหล่งนี้มีสัตว์อีกเป็นจำนวนมากที่ถูกค้นพบสายพันธุ์ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา พวกเราคงได้แต่หวังว่าพวกมันจะสามารถหาที่อยู่ที่ปลอดภัยและเจริญเติบโตจนคนรุ่นใหม่ๆได้รู้จักพวกมัน
อ้างอิง:
1. Meghan Rosen, July 22, 2022, Why these jumping toadlets get confused mid-flight; https://www.snexplores.org/article/pumpkin-toadlets-jump-clumsy-ear-canal-brachycephalus
2. SOFIA QUAGLIA, May 1, 2021, New pumpkin toadlet species found—and it secretly glows in the dark; https://www.nationalgeographic.com/animals/article/new-pumpkin-toadlet-species-found-glows-in-the-dark
โฆษณา