9 ต.ค. 2022 เวลา 10:34 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ จีน ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา
อย่าเล่นกับไฟ เพราะว่าไฟจะแผดเผาตัวเอง
สี จิ้น ผิง
กรอบเวลาที่ใกล้เคียงกันของทั้งจีน ไต้หวันและสหรัฐอเมริกาในเรื่องของผู้นำ
สธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC))
  • 1.
    Mao Zedong
  • 2.
    Deng Xiaoping
  • 3.
    Jiang Zemin
  • 4.
    Hu Jintao
  • 5.
    Xi Jinping
สธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC))
ไต้หวัน (Republic of China (ROC))
  • 1.
    Chiang Kaishek
  • 2.
    Chiang Chingkuo
  • 3.
    Lee Tenghui
  • 4.
    Chen Shuibian
  • 5.
    Ma Yingjeou
  • 6.
    Tsai Ingwen
ไต้หวัน (Republic of China (ROC))
สหรัฐอเมริกา (United States of America (U.S.A. หรือ USA))
  • 1.
    Harry S. Truman
  • 2.
    Bill Clinton
  • 3.
    George W.Bush
  • 4.
    Barack Obama
  • 5.
    Donald Trump
สหรัฐอเมริกา (United States of America (U.S.A. หรือ USA))
ไต้หวัน (Republic of China (ROC))
ไต้หวันมี 2 พรรค ด้วยกัน คือ KMT ก๊กมินตั๋ง DPP ประชาธิปไตยก้าวหน้า ทั้งสองพรรคนี้มีความเข้าใจเรื่องของนโยบายจีนเดียวไม่เหมือนกัน
ไต้หวันมีดับเบิ้ลเจียง คือ
  • 1.
    Chiang Kaishek
  • 2.
    Chiang Chingkuo
และนอกจากนี้ยังมีผู้นำสำคัญๆ คือ ลี เฉิง หม๋า ไฉ่
  • 1.
    Lee tenghui ประธานาธิบดีที่มีอิทธิพลคนหนึ่งของไต้หวันหรือเรียกว่า Mr. Democracy
  • 2.
    Chen Shuibian ประธานาธิบดีคนแรกที่ไม่ใช่มาจากพรรคก๊กมินตั๋ง
  • 3.
    Ma Yingjeou ประธานาธิบดีคนแรกที่ถ่ายภาพกับสี จิ้น ผิง
  • 4.
    Tsai Ingwen ประธานาธิบดีของไต้หวัน
มีหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจคือไต้หวันเองจะมีการเลือกตั้งทุก 4 ปี เพราะฉะนั้นกรอบเวลาของไต้หวันจะใกล้เคัยงกับของสหรัฐอเมริกา และมันสามารถอ้างอิงถึงกันได้เลยว่า เช่น
1.Ma Yingjeou [2008-2016] จะชนกับช่วงเวลาของ Barack Obama [2009-2017]
2.Chen Shuibian [2000-2008] จะชนกับช่วงเวลาของ George W. Bush จูเนีย [2001-2009]
ไต้หวัน
สามารถเห็นภาพได้ว่าทั้ง 3 ประเทศมันเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ไต้หวันได้เริ่มต้นจากการที่จีนจบการปกครองแบบระบบฮ่องเต้ที่มีมา 5 พันกว่าปี และเป็นจุดเริ่มต้นที่บุคคลสำคัญๆ เกิดขึ้น ร่วมไปถึงการเกิดของ PRC และ ORC อีกด้วย
ในปี 1912 Sun Yatsen (หรือดร.ซุน) ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐของจีน กลายเป็นบิดาที่สถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้น แต่มีพื้นที่จำกัดในการกระจายอำนาจ และคนที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับดร.ซุน คือ Joseph Stalin ผู้นำแห่งโซเวียต เพื่อบอกว่าการที่จะขยายอำนาจได้นั้น มันต้องมี 2 องค์ประกอบ คือ คู่คิดทางการทหาร และกองกำลังเสริมที่แข็งแกร่ง
Joseph Stalin
เลยทำให้เจียงไคเชก ก้าวขึ้นมาเป็นคนที่บทบาทและกลายเป็นคนสนิทของดร.ซุน และกลายมาเป็นบิดาของไต้หวันในเวลาต่อมา นอกจากนี้โซเวียตกลัวว่าถ้าสาธารณรัฐจีนเกิดขึ้นมาอย่างโดดเด่น ก็กลัวว่าพรรคคอมมิวนิตส์จะเข้าไปไม่ถึงจีน
เลยต้องทำให้ดร.ซุนเชื่อสนิทใจ โดยการบอกว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถเป็นอาวุธให้กับท่านได้ เลยเกิดกองกำลังที่มีเจียงไคเชก ดร.ซุน และพรรคคอมมิวนิสต์จีนร่วมกันในการทำให้จีนรวมเป็นหนึ่ง
ในระหว่างที่กำลังเดินหน้าผนึกกองกำลัง ดร.ซุนได้ถึงแก่กรรม ทำให้อำนาจทั้งหมดตกไปเป็นของเจียงไคเชก มือขวาคนสนิท และเจียงไคเชกก็เห็นว่าพรรคคอมมิวนิสต์ไว้ใจไม่ได้ ถ้าวันหนึ่งเกิดแข็งแกร่งขึ้นมา เราก็อาจจะตายได้
หลังจากนั้นพรรคของเจียงไคเชกก็ทำการปฎิวัติพรรคคอมมิวนิสต์ โดยเริ่มต้นที่การสังหารหมู่ที่เซียงไฮ้ จนพรรคคอมมิวนิสต์ต้องหาฐานที่มั่นใหม่เพื่อไปตั้งหลักและกลับมาสู่กับพรรคของเจียงไคเชกใหม่
นั้นคือจุดกำเนิดของคำว่า Long March การเดินทางไกลของพรรคคอมมิวนิสต์ โดยการเดินทางอ้อมไปเข้าไปทางตอนในของประเทศเพื่อสถาปนาตัวเอง และหนึ่งในผู้เดินทางที่เป็นแกนนำก็คือ เหมาเจ๋อตุง เลยทำการสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนในช่วงเวลานั้น
และยังเป็นช่วงที่เกิดการขยายอำนาจของจักรวรรดิญี่ปุ่นอีกด้วย ทำให้ญี่ปุ่นมาบุกจีน ทางด้านของเจียงไคเชกคิดว่าจะสู้ญี่ปุ่นไหวหรือไม่ เพราะแสงยานุภาพของญี่ปุ่นแข็งแกร่งมาก แต่เจียงไคเชกก็ยืนยันที่จะเดินหน้าต่อไป
สงครามญี่ปุ่น จีน
ทำให้ลูกน้องของเจียงไคเชก คือ จางเสว่เหลียง ทำการจับเจียงไคเชกเป็นตัวประกันเพื่อต่อรองให้ร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ของเหมาเจ๋อตุง เพื่อทำการต่อสู้กับญึ่ปุ่น และทำให้จางเสว่เหลียงถูกจับขังคุกนับตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันที่เจียงไคเชกถึงแก่กรรมในปี 1975 ถึงได้รับอิสระภาพ
ในท้ายที่สุดเจียงไคเชกและเหมาเจ๋อตุง ก็ได้ร่วมมือกันแบบไม่ไว้วางใจในการต่อสู้กับญี่ปุ่น แต่เจียงบอกว่า เรามีอาวุน้อย เงินก็ได้ เราต้องหาแหล่งเงิน จึงได้ทำการติดต่อเมกา และส่งคนสนิทที่สุดไปคือภรรยาของเจียงไคเชก คือ ซ่งเหม่ยหลิง
ซ่งเหม่ยหลิงได้พบกับสตรีหมายเลข 1 และได้ขึ้นปราศัยขอความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาที่สภาคองเกรส ซ่งเหม่ยหลิงได้รับการศึกษามาจากตะวันตก สามารถโน้มน้าวใจคนอเมริกาได้ สหรัฐอเมิรกาเลยให้ความช่วยทั้งอาวุธและเงินให้ทางรัฐบาลจีนเพื่อสู้กับญี่ปุ่น
หลังจากจบสงครามจีนไม่ได้ชนะญี่ปุ่น แต่เป็นสหรัฐอเมริกาที่สามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 2 มีคนตายประมาณ 40 ล้านคน 18 ล้านคนเป็นคนจีน
หลังจากจบสงครามสหรัฐอเมริกากลัวว่าจีนจะเป็นคอมมิวนิสต์ Harry S. TruMan เลยได้คุยกับรัฐมนตรีต่างประเทศ คือ Marshall ไปทำภารกิจที่เรียกว่า Marshall Mission เพื่อทำให้เจียงไคเชกและเหมาเจ๋อตุง ร่วมกันแล้วเป็นรัฐบาลผสม แต่เมื่อเดินทางไปพบเจียงไคเชกเพื่อพูดคุยก่อนจะไปพบกับเหมาเจ๋อตุง
เจียงไคเชก เหมาเจ๋อตุง Marshall
เจียงไคเชกมีท่าทีเห็นด้วย เพราะเจียงไคเชกรู้ว่าตัวเองเป็นแต้มต่อในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ให้ท่านไปคุยกับเหมาเจ๋อตุง แต่เหมาเจ๋อตุงกับมีท่าทีบอกว่าไม่ต้องการ เพราะรู้ว่าถ้าตอบตกลงจะต้องกินน้ำใต้ศอกอย่างแน่นอน
เพราะฉะนั้นเลยมีภาพประวัติศาสตร์ที่ Marshall ที่ถ่ายรูปรวมกันกับผู้นำของจีน ทั้งหมด 5 คน เพื่อเป็นการทำให้เกิดรัฐบาลผสมของจีน ผลคือไม่สำเร็จ
George Marshall goes to China to impose a ceasefire
หลังจากที่ Marshall กลับไปยังสหรัฐอเมริกาแล้ว ทางจีนและสหรัฐอเมริกาไม่เคยได้คุยกันอีกเลยจนถึงปี 1972 หลังจากที่ Marshall กลับออกไปแล้วนั้น ทางเหมาเจ๋อตุงและเจียงไคเชก ก็ได้ทำการสู่รบกัน มองภาพรวมง่ายๆว่า พรรคของเจียงไคเชกยิ่งรบกองกำลังยิ่งเล็ก พรรคคอมมิวนิสต์ยิ่งรบกองกำลังยิ่งเพิ่ม
พรรคก๊กมินตั๋ง ในเวลาไปที่ไหนจะเกิดการกดขี่และปล้นเงินชาวบ้าน แต่พรรคคอมมิวนิสต์ ไปแบบพี่น้อง เอาอาหารไปให้ ไปพูดคุย ผลสุดท้ายกองกำลังก๊กมินตั๋งก็พ่ายแพ้ หนานกิงก็แตกจนย้ายไปที่ฮกเกี๋ยนก็ไม่สามารถต้านทานได้ จนท้ายที่สุดก็ได้ข้ามช่องแคบไต้หวันเพื่อไปยังเกาะไต้หวันและได้ทำการตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติขึ้นในปี 1950
พ่ายแพ้สงคราม ลี้ภัยสู่เกาะไต้หวัน
เกาะไต้หวันสมัยก่อนเคยเป็นพื้นที่ที่ขุนพลของราชวงศ์หมิงหนีไปตั้งรัฐบาลชาวฮั่น เกาะไต้หวันจึงเป็นเพียงพื้นที่รบภัยเท่านั้น ไม่ได้มีความน่าสนใจอะไรเกิดขึ้น
แต่ความน่าสนใจอยู่ที่ว่าไต้หวันเอง มีเพื่อนที่แข็งแกร่งอย่างสหรัฐอเมริกา เลยได้ทำการส่งกองเรือนาวิกโยธิน ส่งมาปกป้องรอบเกาะ และในปี 1950 เกิดสมรภูมิแรกของสงครามเย็นเกิดขึ้น ก็คือสงครามเกาหลี
สงครามเกาหลีเกิดจาก Harry S. Truman ต้องการที่จะค้านอำนาจกับสหภาพโซเวียต เลยได้ทำการเริ่มต้นที่จะรบกัน และในเวลานั้นพี่เลี้ยงที่เหมาเจ๋อตุงไม่ค่อยชอบหน้าอย่าง สหภาพโซเวียต ได้บอกให้เหมาเจ๋อตุงร่วมกันสู้เพื่อ Kim lL sung ให้ช่วยกับกองกำลังเกาหลีทางเหนือ เหมาเจ๋อตุงก็เลยไปร่วมสู้รบ แต่การเปิดแนวรบสองทางในเวลานั้นไม่ใช่เรื่องที่ดีเลยของประเทศเกิดใหม่
การรบในครั้งนี้อยู่ภายใต้การควบคุมจอมพลของเผิงเต๋อฮ่วย และได้ส่งพันโทคนหนึ่งที่ได้รับการศึกษาจากรัสเซียไปที่เปียงยาง ในปีแรก 1950 สหรัฐอเมริกา ทำสงครามด้วยระเบิดที่นาปาง ค่ายของของพันโทคนนี้ก็โดนโจมตีพร้อมกันอีกด้วย ทำให้ทุกคนกลายเป็นศพไหม้เกรียม และผู้ชายคนนี้คือ Mao Anying ลูกชายคนโตของเหมาเจ๋อตุง
สงครามเกาหลี
หลังจากที่ถูกระเบิดลงทำให้ศพทุกคนถูกเผาไหม้ ทำให้ไม่สามารถที่จะระบุตัวตนได้แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้รู้ว่าใครคือ Mao Anying คือข้อมือที่สวมใส่นาฬิกาของโซเวียต ที่ Stalin มอบให้ไว้ แต่กว่าเหมาจะรู้ว่าลูกชายตายไปแล้วก็เป็นระยะเวลาเกือบปี เพราะว่าโจเอินไหล ไม่อยากให้เหมาเสียเวลากับการสร้างชาติ
เพิ่มเติมข้อเท็จจริง ณ เวลานั้น
ถึงแม้ว่าเจียงไคเชกจะทำการลี้ภัยไปไต้หวันแล้วก็ตาม แต่ว่าเจียงไคเชกยังเป็นตัวแทนของจีนในเวทีสหประชาชาติในเวลานั้นอีกด้วย เพราะว่าใช้คำว่า ไต้หวัน (Republic of China (ROC)) ใน ขณะที่ประเทศเกิดใหม่ใช้คำว่า สธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) และมันก็ไม่ได้ถูกใส่ไว้ในระบบสหประชาชาติ ถึงแม้ว่าเจียงไคเชกจะลี้ภัยไปไต้หวันแล้วแต่สถานภาพการเป็นตัวแทนของจีนยังคงอยู่
ณ เวลานั้นสมาชิกคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีด้วยกันทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรังเศส สหภาพโซเวียต และ ไต้หวัน (Republic of China (ROC))
เจียงไคเชกลี้ภัยไปอยู่ไต้หวัน ในปี 1950 เจียงไคเชกเป็นประธานาธิบดีที่อยู่ในอำนาจนานที่สุดถึง 25 ปี และเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ จนถึงปี 1975 ขณะที่จีนได้ร่วมรบสงครามเกาหลีจนจบสงคราม และก็ได้กลับมาพัฒนาระบบภายในประเทศรวมถึงวัฒนธรรม เรื่องการต่างประเทศคนที่ดูแลคือโจวเอินไหล ณ ช่วงเวลานั้นจีนไม่ได้มีบทบาทในเวทีโลกเท่าอย่างวันนี้
สหรัฐอเมริกา ผูกมิตรจีนแผ่นดินใหญ่
ในปี 1971 เป็นช่วงที่สหรัฐอเมริกาเกิดสงครามเวียดนาม และ ณ เวลานั้นมีการพูดคุยระหว่าง Richard Nixson และ Henry Kissinger ของสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้น ด้วยการที่จะทำให้โซเวียตอ่อนกำลังลงจะต้องทำการแยกตัวระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตแยกออกจากกันให้ได้
เลยให้ Henry Kissinger เดินทางไปปักกิ่งเพื่อพูดคุยกับโจวเอินไหล นับเป็นเวลายาวนานมากตั้งแต่ยุคของ Marshall ที่ได้พูดคุยกับจีน และในวันที่ 25 ตุลาคมของปี 1971 มีมติสหประชาชาติในการประชุมใหญ่ หมายเลข 2758 บอกไว้ว่า ณ เวลานี้ผู้แทนโดยชอบทำของจีนก็คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC))ในขณะที่ ไต้หวัน (Republic of China (ROC)) ไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของจีนอีกต่อไป
นับเป็นช่วงเวลา 4 ปีก่อนเจียงไคเชก จะถึงแก่กรรม และในปี 1972 เกิดภาพ Richard เดินทางไปพบกับเหมาเจ๋อตุง และแต่การค้าขายก็ยังคงดำเนินต่อไป แต่ ณ เวลานั้นสหรัฐอเมริกาก็ยังไม่ได้มองเห็นว่าจีนเป็นภัยคุกคามเท่าวันนี้ สหรัฐอเมริกามองเห็นจีนเป็นเพียงประเทศที่กำลังพัฒนา
การที่ไปรวมกัน ณ เวลานั้นก็คือเรื่องของการมั่นคงทางทหาร หรือทางดุลอำนาจโลก และเป็นสิ่งที่ดีที่เราได้เพื่อนใหม่เพิ่ม และจีนก็ยินดีเลยเปิดบ้านต้อนรับ แต่ ณ เวลานั้นสงครามเย็นก็ยังไม่ได้จบลงแต่เพียงใด
Henry Kissinger
ความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกากับ ไต้หวัน
  • 1.
    การค้าขาย
  • 2.
    การอารักขาไต้หวันในบางส่วน
  • 3.
    เรื่องของอาวุธยุทธโธปกรณ์
  • 4.
    เรื่องของกำลังคน
ในปี 1972 เป็นยุคท้ายๆ ของเหมาเจ๋อตุง ก่อนที่จะเปลี่ยนขั้วอำนาจไปให้เติ้งเสียวผิง จนมีคำพูดจากเติ้งเสียวผิง
กลางวันฟังเติ้งใหญ่ กลางคืนฟังเพลงเพราะๆ ของเติ้งเล็ก
เติ้ง เสียวผิง
เติ้งเล็กก็คือ เติ้งลี่จวิน นักร้องไต้หวันที่ได้รับความนิยมแพร่ไปถึงจีนแผ่นดินใหญ่ในเวลานั้น
ถึงแม้ว่าจะมีการสู่รบกันในเรื่องของทางการเมือง แต่ว่าทางการค้าขายหรือวัฒธรรมของจีนไต้หวันก็ยังนำไปมาหาสู่กันมาตลอด
หลังจากถึงแก่กรรมของเหมาเจ๋อตุง ก็ได้มีเติ้งเสียวผิงขึ้นมาแทนทีและในปี 1975 เจียงไคเชกก็ถึงแก่กรรมและลูกชายเจียงจิงกัวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีแทน แต่ต้องรอระยะเวลา 3 ปีถึงจะสามารถขึ้นมาดำรงตำแหน่งได้ จึงต้องทำการแต่งตั้งประธานาธิบดีคนนอกขึ้นมารักษาการแทนอยู่ 3 ปี ซึ่งก็เป็นของพรรคก๊กมินตั๋ง
และในปี 1982 คือการที่สหรัฐอเมริกาเดินทางไปคุยกับจีน เรื่องสัญญาเกาะฮ่องกง และได้เกิดข้อเสนอ 1 ประเทศ 2 ระบบ ขึ้น ในปี 1983 ได้เริ่มพูดคุยกับทางไต้หวันถึงข้อเสนอ 1 ประเทศ 2 ระบบแต่ทางไต้หวันไม่เห็นด้วย
ในยุคสมัยของเจียงจิงกัว มีจุดเปลี่ยนในช่วง 1978 - 1988 อยู่ในอำนาจมาเป็นระยะเวลา 10 ปีแบบคอมมิวนิสต์ หลังจากนั้นก็เริ่มให้สื่อหรือสิ่งต่างๆ เข้ามามีบทบาท และเริ่มเป็นยุคที่ผ่อนคลายขึ้น ทำให้เกิดพรรคของ ประชาธิปไตยก้าวหน้า (DDP) ที่มาจากขั้วอำนาจของก๊กมินตั้งที่ไม่ได้มาจากจีนแผ่นดินใหญ่โดยตรง
เจียงจิงกัว
ในไต้หวันมีสองข้วอำนาจ ขั้วที่มาจากจีนแผ่นดินใหญ่ กับ ขั่วท่ีเกิดจากไต้หวัน ช่วงที่ก๊กมินตั๋งเสื่อมอำนาจลงทำให้ ประชาธิปไตยก้าวหน้า (DDP) เริ่มเข้ามามีบทบาท และนโยบายต่อจีนเดียวที่ไม่เหมือนกัน
ในปี 1988 ลีเติ้งฮุย เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เกิดจากไต้หวัน เป็นหัวสมัยใหม่ จนได้ชื่อว่า Mr. Democracy เปลี่ยนระบบการปกครองเลือกประธานาธิบดี โดยตรงไปเลย และในช่วงเวลาดังกล่าวทางสหรัฐอเมริกาเอง ก็อยากจะเดินมาแสดงความยินดีกับไต้หวัน
แต่ช่วงเวลานั้นเปนช่วงที่ค่อนข้างเปราะบาง ถ้าเดินทางมาไต้หวันอาจจะเกิดปัญหากับจีนได้ และเป็นช่วงที่ลี เติ้งฮุย อยู่ในอำนาจ จนในปี 1990 จีนเริ่มเข้ามามีอำนาจ เร่ิมยิ่งนิวเคลีย
และในปี 1995 ลี เติ้งฮุย ได้รับการเชิญจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล เชิญไปกล่าว สุนทรพจน์ ว่าด้วยเรื่องการวางรากฐานของประชาธิปไตยให้กับไต้หวัน ผลคือจีนประท้วง
และในปี 1992 มีการประชุมของเจ้าหน้าที่ระดัยสูงของจีนและไต้หวัน จัดขึ้นที่ฮ่องกง (ณ เวลานั้นฮ่องกงยังอยู่ในการปกครองของอังกฤษ) และได้มีข้อตกลงเกิดขึ้น ชื่อว่า 1992 Consensus เป็นการตกลงกันเรื่องของสถานภาพ และมีการพูดขึ้นมาว่า One China
ประเด็นอยู่ที่ว่าสำเนาคู่ฉบับมีคำว่า One China แต่ทั้งไต้หวันและจีนตีความคำนี้ออกมาได้ไม่เหมือนกัน
หลังจากลี เติ้งฮุยอยู่ในอำนาจมาได้ประมาณ 12 ปี เต็มเพดานของรัฐธรรมนูญของไต้หวัน และเปลี่ยนขั้วอำนาจมาเป็น Chen Shuibian เป็นการที่ ประชาธิปไตยก้าวหน้า (DDP) ก้าวขึ้นมาสู่อำนาจครั้งแรก ดำรงตำแหน่งถึงสองสมัย ระยะเวลาที่อยู่ในอำนาจคือ 8 ปี
ในช่วงนั้นการตีความ One China ไม่ได้เข้มข้นเท่าทุกวันนี้ เพราะในยุคที่ Chen Shuibian ครองอำนาจก็เกิดการคอรัปชั่นขึ้น และเมื่อหมดอำนาจลงได้เพียง 1 ปี ในปี 2009 ก็ถูกศาลตัดสินให้จำคุกเป็นระยะเวลา 19 ปี แต่ในปี 2015 ก็ได้ถูกปล่อยตัวออกมาเป็นการจำคุกเพียง 6 ปีเท่านั้น
และอีกหนึ่งคนสำคัญที่คอยดูแลกิจการแผ่นดินใหญ่ คือ Tsai Ingwen ตอนนั้นคือดูแลเรื่องของ One China ระหว่างจีนไต้หวันโดยเฉพาะ และหลังจากนั้นก็ได้ขึ้นมามีบทบาทตอนได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของไต้หวัน
หลังจาก Chen Shuibian ก็มาเป็น Ma Yingjeou เป็นคนไต้หวันเกิดที่ฮ่องกง ที่เหยามาเต่ย และได้รับการศึกษาที่ไต้หวัน เป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมช่วงหนึ่ง และก้าวขึ้นมามีอำนาจเรื่อง One china นอกเหนือจากนี้จีนยังมีท่าทีที่แข็งกร้าวเรื่องของข้อตกลงจีนเดียวขึ้นมา ตีความเพื่อให้เกิดความคุมเครือ
โดยการที่ทำให้ตัวข้อตกลงเรื่อง One China คลุมเครือ จะได้ไม่ต้องมีปัญหากันทีหลัง นี้เป็นวิธีคิดของ Ma Yingjeou
Ma Yingjeou
ในช่วงเวลาดังกล่าวไม่ได้ตึงเครียดเท่า ณ ช่วงเวลานี้ และที่สำคัญคือการประชุมนานาชาติที่สิงคโปร์ Ma Yingjeou และสี จิ้น ผิง ได้ถ่ายรูปร่วมกันได้ทั้งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
และนอกเหนือจากนี้ในช่วงการเริ่มอำนาจของ Ma Yingjeou ก็มีกลไกที่เพิ่มขึ้น คือ กลไกเรื่องเศรษฐกิจ การท่อเที่ยว วัฒนธรรม และ ประธานของพรรคก๊กมินตั๋ง เริ่มต้นสร้างกลไกใหม่ คือ การเอาพรรคก๊กมินตั๋งมานั่งคุยกับพรรคคอมมิวนิสต์ของจีน และก็มีการคุยกันมาอยู่เรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันก็ยังมีการพูดคุยกันอยู่
หลังจาก Ma Yingjeou ลงจากอำนาจในปี 2016 ก็มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นอีกครั้ง และการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ได้ Tsai Ingwen ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของไต้หวัน ได้ก้าวเข้ามาสู่อำนาจ
ไต้หวันหลังการก้าวสู่อำนาจของ Tsai Ingwen
วันที่เลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาในปี 2016 ได้ทรัมป์มาเป็นประธานาธิบดี และ Tsai Ingwen ถือว่าเป็นประธานาธิบดีคนแรกเลยก็ว่าได้ ที่ได้ทำการโทรหาทรัมป์ เพื่อแสดงความยินดีและอีกนัยหนึ่งก็เพื่อบอกว่า ไต้หวันเป็นรัฐ
ไต้หวันในช่วงเวลาที่ได้ Tsai Ingwen เป็นประธานาธิบดี เป็นขั้วทางการเมืองที่เห็นต่างและมีจุดยืนที่แตกต่างจากที่ไต้หวันในช่วงเวลาของขั้วอำนาจพรรคก๊กหมินตั๋ง หรือ ขั้วอำนาจของ DDP ที่เคยเป็นมา และ Tsai Ingwen ก็เชื่อว่าไต้หวันเป็นประเทศและเป็นประชาธิปไตย
แต่การโทรในครั้งนั้นเป็นการโทรที่สาธารณะชนรับรู้ ทำให้โฆษกของจีนออกมาพูดถึงการติดต่อของทรัมป์ และ Tsai Ingwen ว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม
Tsai Ingwen
ทำไมไต้หวัน ถึงเข้าใกล้สหรัฐอเมริกามากขึ้น
ส่วนแรกคือ แนวความคิดของพรรคก๊กมินตั๋ง กับ Tsai Ingwen ที่แตกต่างกัน
ส่วนสองคือ ท่าทีของจีนที่มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะเกิดมาจากผู้อื่นที่คิดว่าจีน คือ ภัยคุกคามที่อาจจะต้องกำจัดก็เป็นไปได้เหมือนกัน แต่ทั้งที่ทั้งนั้น ทั้งสหรัฐอเมริกา จีน และ ไต้หวัน ต่างเป็นความสัมพันธ์ที่พูดยาก ถ้าหากมองบนกระดานหมากรุก สหรัฐอเมริกา คือ ผู้เล่น และผู้เล่นอีกฝ่าย คือ จีน ไม่ใช่ไต้หวัน
เพราะฉะนั้นเราจะลืมว่าจีนคิดอะไรไม่ได้ เพียงแต่ว่าไต้หวันใกล้กับจีน เพราะฉะนันคนที่จะหยิบหมากขาวหรือดำขึ้นมา เขาก็อาจจะมีแนวคิดที่จะเล่นแบบนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา สหรัฐอเมริกาจะมีการโฟกัสโลกแต่ละช่วงที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะว่าพญาเขาก็ยังอยากรักษาความเป็นพญาไปเรื่อยๆ นั้นอาจจะเป็นวิธีการคิดของทางสหรัฐอเมริกาก็ได้
ทำไมการเยือนไต้หวันของ Nancy pelosi ที่สะเทือนโลก
เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ
อาจจะเป็นวลีที่สามารถใช้มองภาพของสหรัฐอเมริกาได้อย่างง่ายๆ
เป็นการเปรียบเหมือนกับการเปิดประตูทีละบาน ถ้าส่งระดับผู้นำไปจะเสี่ยงมากกว่าส่งการที่ส่ง Nancy ไป การกระทำในครั้งนี้ของทางสหรัฐอเมริกา เพื่อลองดูท่าทีของจีน แต่ไบเดน ก็บอกว่าทางสหรัฐอเมริกาเองก็เคารพหลักการ One China เหมือนกัน แม้จีนพูดว่าอย่าเล่นกับไฟ แต่ก็ยังจะลงไปเล่น เพื่อต้องการที่จะทำให้เกิดความไม่สงบ หรือมองว่าจีนไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ทางไต้หวัน หรือเพื่อทำให้จีนดูไม่ดีในสายตาชาวโลกก็เป็นไปได้
ถ้าหากอ่านสามก๊ก สี จิ้น ผิง อาจจะเปรียบเป็นสุมาอี ที่อยู่ในโจโฉ ที่นั่งนิ่ง แต่กินรวบหมดเลยก็เป็นไปได้ ทั้งสองประเทศเองต่างก็เป็นมหาอำนาจด้วยกันทั้งคู่ และอาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป
วิธีการของจีน ฐานเอเชียจะต่างจากตะวันตกที่จะไม่ค่อยโฉงฉากออกไป จะทำอะไรอย่างเงียบๆ เปรียบให้เห็นภาพอย่างกรณีของม็อบที่ฮ่องกง จากที่กลายเป็นข่าวใหญ่โต ทั่วโลกออกมาประนาม แต่ตอนนี้กลับไม่มีม็อบหลงเหลืออยู่เลย แต่ต่างจากตะวันตก อย่างสหรัฐอเมริกา เวลาจะทำอะไรมักจะบอกให้โลกได้รับรู้ คิดที่จะทำอะไรก็ทำเลย ผลกระทบที่ได้รับอาจจะต่างกันออกไป
แต่ไม่ว่ายังไง สุดท้ายแล้วการเยืนของ Nancy ก็จุดประกายอะไรได้หลายอย่างในท่าทีของจีน แต่สุดท้ายแล้วอย่าลืมว่าคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในเกมส์นี้คือไต้หวัน
Nancy pelosi
ความสัมพันธ์ สหรัฐอเมริกากับจีน นับจากนี้จะเป็นอย่างไร
ต้องบอกว่าสถานการณ์ในตอนนี้อาจจะเกิดการตึงเครียดมากขึ้น เพราะเราไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าจีนจะทำอะไรหลังจากเหตุการณ์ซ้อมรบ และภายในไต้หวันเองก็อาจจะมีท่าทีที่แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้แตกต่างกันออกไป หลังจากนี้ต้องดูว่าคนไต้หวันเองจะเป็นยังไง ครั้งต่อไปยังจะเลือกพรรค DDP เหมือนเดิม หรือจะดูนโยบายของก๊กมินตั๋งว่าจะเป็นอย่างไร ประชาชนต้องการอย่างไร
แต่คงไม่ลงเอยเหมือนยูเครน แต่ถ้าจีนมีแนวคิดเรื่อง One China ในแบบของเขา เขาจะไม่ทำอะไรกับพื้นที่ของเขาอย่างแน่นอน
ถ้ามองในแง่การเยือนของสหรัฐอเมริกา เป็นการวางหมากที่ได้หน้าว่าเปิดประตูอีกขั้นหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันจีนเองก็รู้ว่าถ้ามีอะไรรุนแรงมากเกินไป ก็จะไม่ส่งผลดีต่อกันในระยะยาว
แต่ระดับชาติมหาอำนาจทั้งสองชาติ อาจจะมีวิธีคิดที่กำลังเฉือนคมกันอยู่ตลอดเวลาฉากหน้าฉากหลัง อาจจะมีวิธีคิดที่แตกต่างกันออกไปก็ได้
One China
ความหมายของ One China
จีน ตีความว่า ประเทศจีนใหญ่ เป็นตัวแทนมีความชอบธรรมในสหประชาชาติ จีนเดียว มีความหมายว่า พื้นที่อื่นๆ คือ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เป็นของจีน
ไต้หวัน ตีความว่า ไต้หวันไม่ใช่ จีนเดียวคือ ไต้หวัน (Republic of China (ROC)) มาตั้งแต่ปี 1911 เป็นจีนใหม่ที่เกิดหลังจากราชวงค์ต้าชิง และเป็นจีนที่ชาวโลกรู้จัก เพียงแต่ย้ายศูนย์กลางจากกรุงปักกิ่ง มาอยู่ที่ไต้หวัน
ทั้งหมดนี้เป็นการตีความ One China ไม่เหมือนกัน และไม่สามารถที่จะคุยให้ความหมายของ One China นั้นเหมือนกันได้ เพราะว่า ทั้งจีนและไต้หวันไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางการฑูตต่อกัน
โฆษณา