10 ต.ค. 2022 เวลา 16:50 • ปรัชญา
Nibbanic Buddhism & Kammic Buddhism
เครดิตภาพ : http://www.ikissky.com/article/8
ในธัมมจักกัปปวัตนสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงภาพรวมอย่างกว้างๆว่าอะไรคือจุดยืนทางจริยธรรมของพุทธศาสนาซึ่งต่างจากจุดยืนของศาสนาและปรัชญาอินเดียในยุคนั้น คือ การตั้งคำถามว่า เราจะดับทุกข์ในชีวิตได้อย่างไร
เนื้อหาถัดจากนั้นเป็นที่มาของ หลักอริยสัจสี่ประการ ภายหลังบทเทศนากัณฑ์แรกในประวัติศาสตร์พุทธศาสนานี้ได้รับการบันทึกเป็นตัวหนังสือ บรรจุไว้ในพระไตรปิฎก
ในระยะแรกจากการสังคายนา มีเพียงสองปิฎกเท่านั้น ไม่ครบสาม พระอภิธรรมเกิดทีหลัง สิ่งที่ต่อเติมเข้ามาในทีหลัง อาจจะสอดคล้องเข้ากันได้ดีกับแนวคิดหลักที่พระพุทธองค์วางไว้ และ แบบที่เป็นคนละเรื่องกันเลยกับเจตนารมณ์ของพระพุทธเจ้า
อย่างหลังนี้สันนิฐานว่าอาจมาจากผู้บวชที่เคยถือลัทธิศาสนาอื่นมาก่อน ต่อให้บวชแล้วอิทธิพลของแนวคิดเดิมก็ยังมีอยู่ จึงใส่เติมเข้าไปในคัมภีร์ จะโดยจงใจเพราะเชื่อลัทธิเหล่านั้นหรือไม่ก็ตาม
แต่ทั้งหมดนั้นก็ส่งผลให้พระไตรปิฎกไม่ได้มีเพียงคำสอนของพระพุทธเจ้าล้วนๆ
จริยธรรมในคัมภีร์ศาสนา กับจริยธรรมในศาสนาตามที่ผู้นับถือศาสนานั้นปฏิบัติในสังคมของตน เป็นคนละเรื่องกัน
พุทธศาสนาเองก็แบ่งแนวคิดที่ว่านี้เป็นสองแบบ ซึ่งต่างกันมาก และต่างก็ดำเนินไปอย่างเป็นคู่ขนานกันและกันอย่างไม่มีมีวันบรรจบกันได้ หมายความว่าจะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นคบไฟนำทางชีวิต
แบบแรกเรียกว่า Nibbanic Buddhism ส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ แบบที่สองเรียกว่า Kammic Buuddhism ผู้นับถือส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้าน
1) Nibbanic Buddhism อาจจะเรียกว่ากันให้เข้าใจง่ายๆว่า พระพุทธศาสนาแบบที่เน้นการเข้าถึงนิพพาน ซึ่งถือว่าเป็นอุดมคติสูงสุดในชีวิตของชาวพุทธ คือการได้บรรลุนิพพาน เนื่องจากนิพพานอยู่"นอก" สังสารวัฏ ดังนั้นผู้ประสงค์จะเข้าถึงนิพพานต้องพยายาม "ขัดเกลาตนเอง" ทั้งจากบุญและบาป
การทำความดีตามทัศนะของพุทธศาสนาแบบนี้พิจารณาจากอาการข้างนอกอาจดูไม่ต่างจากที่สอนกันใน พุทธศาสนาแบบ Kammic Buddhism แต่หากพิจารณาที่ภายในจะเห็นว่าต่างกันชนิดเป็นคนละเรื่องเลย
สมมติว่าคุณยายคนหนึ่งใส่บาตรพระในตอนเข้าทุกวัน การใส่บาตรพระนี้เป็นบุญกิริยาวัตถุประการหนึ่ง แต่ถ้าคุณยายถือพุทธศาสนาแบบแรกนี้ ในขณะที่ใส่บาตร คุณยายจะเข้าใจว่าการใส่บาตรนั้นก็เพื่อขัดเกลาตนจากความตระหนี่ ความดีอื่นๆเช่นการไม่ถือโทษคนที่ทำร้ายก็มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันนี้ การไม่ถือโทษเขาก็เพื่อฝึกเอาชนะความโกรธของตน
1
สรุปคือการทำความดีตามทัศนะของพุทธศาสนาแบบมุ่งไปหานิพพานนี้ไม่หวังผลตอบแทนจะในรูปใดก็ตามแต่ แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้การทำความดีนั้นขัดเกลากิเลสตนให้เบาบางลงตลอดจนไม่มีในที่สุด นิพพานนั้นก็คือสภาพจิตใจที่ปราศจากกิเลส
1
2) Kammic Buddhism ซึ่งอาจแปลว่าพุทธศาสนาแบบเนั้นการทำกรรมดีเพื่อเสวยสุขในสังสารวัฏ ไม่ถือว่านิพพานเป็นอุคมคติสูงสุดของชีวิต แต่เห็นว่าในสังสารวัฏมีสิ่งดีๆอยู่มากมายเช่นสวรรค์ การทำกรรมดีจะช่วยให้เราเช้าถึงสิ่งต่างๆเหล่านี้ เมื่อเห็นเช่นนั้น ผู้ที่เชื่อพุทธศาสนาแบบนี้ก็จะไม่สนใจทำความดีเพื่อขัดเกลากิเลส
1
แต่จะทำบุญเพื่อให้ผลของบุญนั้นนำส่งให้ไปเกิดในสวรรค์
1
คนสองคนทำความดีอย่างเดียวกันเช่นใส่บาตรพระ แต่ก็อาจมีวัตถุประสงค์ภายในใจที่แตกต่างกันได้ สุดแต่ว่าใครจะเชื่อถือในพุทธศาสนาแบบแรกหรือแบบที่สอง
1
อาจมีคุณยายอีกคนหนึ่งอยู่ข้างบ้านคุณยายคนที่กล่าวถึงข้างต้น คุณยายคนที่สองนี้ก็ใส่บาตรทุกเช้าเหมือนกันแต่เวลาใส่บาตรกี่ตั้งความปรารถนาว่าด้วยผลบุญนี้ขอให้ดิฉันได้ไปเกิดเป็นนางฟ้าในสวรรค์หลังจากตายไปแล้ว
1
สิ่งที่กล่าวถึงนี้อันที่จริงก็เป็นลักษณะประการหนึ่งของสังคมพุทธไทย และเชื่อว่าชาวพุทธลาว ลังกา เขมร เป็นต้นก็คงไม่ต่างจากนี้ โดยรวมนั้นกล่าวชัดเจนว่าการทำความดีตามหลักพุทธศาสนาเน้นที่การขัดเกลาตนให้สะอาด การสอนจริยธรรมในพุทธศาสนาแบบเน้นหนักไปที่การเชิญชวนชาวบ้านให้ทำบุญ อย่างที่วัดต่างๆในสังคมไทยทำนั้นไม่ตรงกับเจตนารมณ์ดั้งเดิมของพุทธศาสนา
2
ข้อวิจารณ์นี้จะเห็นด้วยหรือไม่นั้น หากเราจะนึกย้อนกลับไปทบทวนว่า ก่อนที่จะเสด็จออกบวชนั้นพระพุทธเจ้าทรงเป็นโอรสกษัตริย์ มีชีวิตอันเต็มไปด้วยความสุขสบายนานา อาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าในสมัยที่เป็นเจ้าชายประสบอยู่นั้นก็คือสิ่งที่ทางวัดทั่วไปชวนทำบุญ สร้างสิ่งต่างๆเห็นว่าว่าเป็นสิ่งดี จึงเชิญชวนให้ผู้ที่มายังวัดหมั่นทำบุญ เพื่อที่จะได้เกิดมารวย สวย หล่อ สุขภาพดี ในชาติต่อๆไป
1
จะเห็นว่าพุทธศาสนาแบบ Nibbanic Buddhism ชี้ว่า พระพุทธองค์เสด็จหนีจากสิ่งหนึ่งที่อาจรวมเรียกว่า "โลกียสุข" แต่สิ่งที่ทรงหนีมานี้พุทธศาสนาแบบ Kammic Buddhism กลับสอนว่าเป็นสิ่งดี
2
ที่กล่าวมานี้ไม่ได้หมายความว่า Kammic Buddhism สอนผิด ในพระไตรปิฎกนั้นมีพระสูตรจำนวนมากที่สนับสนุนคำสอนแบบ Kammic Buddhism ดังนั้นจะกล่าวหาว่าวัดสอนแบบนี้สิ่งที่ไม่มีในพระไตรปิฎกไม่ได้
3
จะอย่างไรก็ตาม ถ้าเรายอมรับอย่างที่ว่ากัน เนื้อหาของพระไตรปิฎกไม่จำเป็นจะต้องเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนเอาไว้จริงๆ เราก็อาจติความว่า แม้สิ่งที่ทางวัดใหญ่ๆในเมือง หรือ วัดต่างจังหวัดที่มีการระดมทุนบอกบุญนั้นสอนจะมีในพระไตรปิฎก
1
แต่นั่นก็อาจเป็นส่วนที่เพิ่มเติมที่หลังโดยคณาจารย์รุ่นหลัง จะโดยเชื่ออย่างสุจริตใจว่านี่ตรงตามพระพุทธประสงค์หรือเพราะรู้พุทธศาสนาไม่พอก็ตามแต่
1
วิธีง่ายๆตรงไปตรงมาสำหรับตรวจสอบว่าระหว่าง Nibbanic Buddhism และ Kammic Buddhism
1
อย่างไหนจะตรงต่อเจตนารมณ์ของพระพุทธองค์ในการออกบรรพชาที่สุดก็คือลองถามคำถามเหล่านี้ดูเช่น
1
-จริงมั้ยที่มีข้อความในพระไตรปิฎกกล่าวว่าทำบุญให้ทานแล้วจะเกิดมารวย
1
-ตอบได้เลยว่าจริง มีพระสูตรจำนวนมากเขียนไว้อย่างนั้น และเขียนด้วยว่าพระพุทธองค์เป็นผู้ตรัส
ข้อความที่ว่านั้นเอาไว้ด้วยพระองค์เอง
1
-ถามต่อว่า เราจะรวยไปทำไม ความรวยเป็นสิ่งดีตามทัศนะของพระพุทธองค์จริงหรือ หาก จริง!
1
ทำไมจึงทรงหนีออกมาจากราชวังเพื่อแสวงหโมกขธรรมเช่นนั้น เป็นเรื่องตลกไหมที่ท้ายที่สุดแล้วหากเราเชื่อว่าควรทำบุญในชาตินี้ให้มากๆเพื่อเกิดชาติหน้าแล้วจะรวย หรือไม่กี่รวยในชาตินี้แหละ
1
หากเป็นเช่นนั้น ก็แปลว่า ความพยายามของพระพุทธเจ้าทั้งหมดที่ทรงอุทิศให้แก่การแสวงหาโมกขธรรมกลับจบลงที่การแสวงหาวิธีที่จะเกิดมารวย สวยหล่อ สุขภาพดี มีบริวารมาก เป็นต้น เราจะยอมรับข้อสรุปนี้ได้หรือ...
2
จะเห็นว่า หากลองตั้งคำถามอย่างที่ผมลองตั้งดูตามที่เห็นข้างตัน พุทธศาสนาแบบเน้นการทำบุญดูจะอธิบายให้เข้ากับวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของพระพุทธองค์ได้ยาก และเนื่องจากแนวคิดเรื่องภพภูมิเกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมืออธิบายการทำงานของกฎแห่งกรรมแบบที่ถือว่าดีชั่วดูที่ผลซึ่งเป็นรากฐานของพุทธศาสนาแบบเน้นทำบุญ แนวคิดเรื่องภพภูมิก็ยากที่จะอธิบายว่าเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของพุทธศาสนาด้วย
1
แต่เราอย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าเดิมที พระองค์มีเหตุผลส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับคนอื่น ที่ทรงประสงค์จะหาทางดับทุกข์ ไม่ได้ประสงค์จะเสด็จออกบวชเพื่อแสวงหาความรู้เกี่ยวกับภพชาติแต่อย่างใดเลย หากตั้งคำถามว่า อะไรคือเป้าหมายหลักในการออกผนวชแสวงหาโมกขธรรมหรือที่เรียกว่าความหลุดพ้นของพระพุทธเจ้า
1
ถ้าการออกบวชของพระองค์ได้รับการชักนำจากความคิดที่มุ่งไปหาประโยชน์ของมหาชน จะต้องไม่มีฉากที่พรหมมาทูลอาราธนาให้ทรงทบทวนความคิด แม้จะตีความว่า พรหมหมายถึง อีกด้านหนึ่งของความคิดพระองค์ ก็ไม่ช่วยอะไรเลย
1
เพราะแสดงว่า ท้ายสุดแล้วพระองค์ไม่ได้ทรงคิดจะช่วยคนอื่นตั้งแต่แรกอยู่แล้ว จึงเป็นไปได้สูงว่าพระองค์ทรงออกบวชด้วยเหตุผลส่วนตัว
1
แต่ภายหลังมีเหตุการณ์ณ์ที่ทำให้ต้องสอนคนอื่น จนกลายมาเป็นศาสดา ผู้ยิ่งใหญ่ของมหาชน ลูกศิษย์ผู้เลื่อมใสจึงเรียบเรียงตำนานประวัติของพระองค์ให้ดูเป็นมหาบุรุษผู้มีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของมหาชน และความเป็นปึกแผ่นของการสร้างองค์กรศาสนาในการเผยแผ่
1
เมื่อตอนออกบวชพระองค์ใช้เวลานการ “ลองผิดลองถูก” อยู่พอสมควรระยะหนึ่ง ด้วยการทดลองปฏิบัติ “ทางจิต” ซึ่งสิ่งที่พบจากข้อมูลในคัมภีร์พระไตรปิฎกบอกชัดว่า กระบวนการค้นหาหรือการฝึกปฏิบัติทางจิตของพระองค์ ไม่มีทิศทางที่แน่นอน แม้การตรัสรู้ก็อาจบอกได้ว่า เกิดขึ้นอย่างไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้า
1
การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ก็เช่นกันที่ไม่มีเลยว่าการค้นพบนั้นวางแผนมาล่วงหน้าอย่างเป็นขั้นตอน หากแต่ทั้งหมดเป้นการค้นพบอย่าฉับพลันยากแก่การอธิบาย กระบวนการค้นหาโมกขธรรมของเจ้าชายสิทธัตถะและการตรัสรู้จนกลายเป็นพระพุทธเจ้าก็อย่างนั้น
1
การที่กฎแห่งกรรมจะให้ผลสมบูรณ์แบบนั้นต้องการความจริงอิกอย่างหนึ่งรองรับ ความจริงที่ว่านี้ก็คือ คนเราเมื่อตายไปแล้วจะต้องเกิดใหม่ในภพชาติใหม่ หากไม่มีความจริงอันนี้รองรับ กฎแห่งกรรมกี่จะทำงานสมบูรณ์ไม่ได้ เพราะ หากไม่มีชาติหน้าก็หมายความว่าคนทำดีแล้วไม่ได้ดี และคนทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว
1
และเราจะเห็นต่อไปว่าหากเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีเหตุผลที่พุทธศาสนาจะไปชักชวนให้ใครมาทำความดี เพราะไม่มีหลักประกันว่าทำดีแล้วจะได้ดี แต่เพราะมีชาติหน้ารออยู่ เราจึงหวังได้ว่าที่เราทำดีชาตินี้จะต้องได้รับผลดีตอบสนองแน่นอนไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง ส่วนคนทำชั่วก็ต้องได้รับผลของกรรมชั่วตอบสนองอย่างแน่นอนไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่งเช่นกัน
1
สรุปคือถ้ามีชาติภพใหม่หลังตาย เราก็อธิบายเรื่องความยุติธรรมตามกฎแห่งกรรมได้ ถ้าไม่มีชาติภพใหม่ กฎแห่งกรรมก็ไม่มีความหมาย ซึ่งถ้าหากพิจารณาคำสอนเรื่องกรรม จะเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะตัดคำสอนเรื่องภพภูมิและการเวียนว่ายตายเกิดออกไปจากพุทธศาสนา
1
แนวคิดเรื่องกฎแห่งกรรมและภพภูมิเกี่ยวข้องอย่างแยกไม่ออกจากความเข้าใจว่าอะไรคือเนื้อหาของกฎแห่งกรรม โดยตั้งข้อสังเกตว่า การตีความกฎแห่งกรรมเกี่ยวข้องกับทัศนะทางจริยศาสตร์ที่สำคัญสองแบบ แบบแรกขอเรียกว่าแนวคิดแบบ "ดีชั่วดูจากผลที่จะได้รับ" ซึ่งปรากฏการณ์ตามกฎแห่งกรรมที่พระพุทธศาสนาสอนว่า “ยาทิส วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ กลฺยาณการี กลุยาณ ปาปการี จ ปาปกํ”
1
แปลเป็นคำไทยว่า บุคคลหว่านพืชชนิดใด ย่อมได้รับผลชนิดนั้น ผู้ทำความตี๋ย่อมได้รับผลดี ส่วนผู้ทำความชั่วย่อมได้รับผลชั่ว ข้อความที่แสดงกฎแห่งกรรมช้างต้นนี้สะท้อนแนวคิดแบบ "ดีชั่วดูที่ผล"
1
เพราะเราเชื่อว่า การกระทำนี้จะยังให้มี ผลตอบสนองกลับมาที่ตัวเอง ในทัศนะของนักปรัชญาตะวันตก ที่ชื่ออิมมานูเอล ค้านท์ เรียกว่า hypothetical judgment ลักษณะสำคัญของมันก็คือ มันทำให้ การกระทำของเรา ที่ปฏิบัติต่อสิ่งอื่นๆจะมีลักษณะเหมือนกันก็คือ จะมีสิ่งที่ได้รับการปฏิบัติจากเราในฐานะที่สิ่งนั้นเป็น วิธีการ หรือ เครื่องมือ (Means) ของเรา
1
เช่นตอนที่เราใส่บาตร หรือถวายสังฆทาน เราไม่ได้สงสารพระ แต่เพราะเรารู้ว่า ใส่บาตรแล้วมันจะมีบางสิ่งบางอย่างย้อนกลับมาหาตัวเราเอง
เพราะพระมีคุณสมบัติเหมือนกันก็คือ ถ้าถวายภัตตาหารกับท่าน มันจะมีผลบุญบางอย่างย้อนกลับมาหาเรา ดังนั้นถึงได้มีพุทธพจน์ ที่บอกว่า พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ
แล้วพระพุทธเจ้าก็ตรัสด้วยว่า วิเจยฺยทานํ สุคตปฺปสตฺถํ คือ เวลาจะทำบุญให้ฉลาดเลือก
ก่อนจะให้ทานให้ศึกษาให้ดี
ดังนั้น การให้ทาน ก็เหมือนกับการหว่านเมล็ดพืช ถ้าหว่านลงบนพื้นซีเมนต์ มันไม่งอก แต่ถ้าหว่านลงดิน มันจะงอก และดินนั้นก็มีคุณภาพที่ต่างกัน มีหลากหลายชนิด เมล็ดพืชชนิดเดียวกัน ถ้าหว่านลงบนดินเค็มๆ ก็งอกนิดหน่อย ดินดี ก็มีคุณภาพมากขึ้น แต่ถ้าได้ดินดีมากๆ ผลผลิตก็จะได้สูงมากตามนั้น
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้หว่านลงในดินที่มีคุณภาพดี แล้วพระสงฆ์ในพุทธศาสนาก็เป็นดินคุณภาพดี ดังนั้นกรณีนี้การตัดสิน (judgment) ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ในพระไตรปิฎกในทัศนะของค้านท์นั้น เป็น hypothetical judgment แล้วการตัดสินใจแบบนี้ก็จะเรียกร้องจากผู้อื่น หรือสิ่งอื่น ในแง่ที่เป็นสะพาน ที่เราได้ได้ข้ามไปหาสิ่งที่เราประสงค์
1
ส่วนแนวคิด แบบที่สองขอเรียกว่าแบบ"ดีชั่วสิ้นสุดในตัวเอง" การกระทำที่ดีมีความหมายสิ้นสุดในตัวเอง หมายความว่าการกระทำที่ดีก็คือการกระทำที่ดี
1
ดีไม่จำเป็นต้องได้รับการรองรับด้วยผลตอบแทนที่ดี
เพราะถือว่า ได้ทำความดีแล้ว ความดีนั้นได้จบสิ้นสมบูรณ์ในตัวแล้ว
“ดีก็คือดี” (being) สอดคล้องกับหลักธรรมเรื่องการให้ผลของกรรม ตามทัศนะของพุทธศาสนา คือต้องตรวจสอบได้ทันที
โดยลำดับกรรมและผลของกรรม คือ เมื่อทำดี ผลของกรรมดีนั้นคือ “ได้ทำดี” ตรงกันข้าม เมื่อทำชั่ว ก็เกิดผลของกรรมชั่วคือ “ได้ทำชั่ว”
ความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมแบบนี้ไม่ต้องการความเชื่อเรื่องภพภูมิ และการเกิดใหม่สำหรับเป็นเครื่องมืออธิบายการทำงานที่เที่ยงธรรมของกฎแห่งกรรม
ผลของกรรมดี ในทัศนะนี้ คือการได้เป็นคนดี ส่วนผลของการทำชั่วคือ ได้เป็นคนชั่ว
แต่หากเป็นอย่างนั้นเราก็จะขาดแรงจูงใจที่จะทำความดี เพราะถ้าได้เป็นคนดีแล้วไม่มีอะไรตอบแทนเลยในแง่ของสิ่งที่จะได้ (having) เช่น ทรัพย์ สุขภาพ สติปัญญา มันก็ไม่มีเหตุผลว่าเราจะทำดีไปเพื่ออะไร
อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องกรรมในแบบที่สิ้นสุดในตัวเอง
สำหรับค้านท์ เรียกว่า Imperatives judgment เป็นการตัดสินใจแบบไม่หวังผล ก็คือ การตัดสินใจ ซึ่งเรียกร้องจากสิ่งหรือบุคคลอื่นในแง่ที่เป้าหมาย (End) จบในตัวเอง
สอดคล้องกับ พระสูตรสำคัญในพุทธศาสนา คือ กาลามสูตร ให้เราชาวพุทธใช้เป็นคู่มือดำเนินชีวิตในการเลือกและตัดสินใจกับปรากฎการณ์ต่างๆที่ต้องเผชิญ
ซึ่งในพระสูตรนั้น ไม่ทรงยืนยันว่าสิ่งเหล่านั้น มีหรือไม่
เพราะยืนยันอย่างไรก็ไม่มีใครตรวจสอบได้
พระองค์ทรงตรัสว่า ความดีที่ถูกต้อง และอธิบายได้ เมื่อตัดสินใจกระทำลงไป ต่อให้ไม่มีชาติหน้าก็ยังเกิดประโยชน์ เพราะได้ลดทุกข์ในชีวิตลงได้ และหากว่ามีชาติหน้าก็ยิ่งดีไปใหญ่
1
สรุปคือ (1) จงมั่นใจที่จะเป็นคนดี (2) หากชาติหน้ามีจริง คนดีก็ต้องไปเกิดดี (3) หากชาติหน้าไม่มี คนดีก็มีชีวิตที่ดีแล้วในชาตินี้ (4) ดังนั้น ทำดีไม่มีเสียเปล่า เพราะความดีนั้นย่อมส่งให้เราไปสู่สุขติอย่างแน่นอน
วิรุฬหก
โฆษณา