Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ใบไทย Baithai
•
ติดตาม
11 ต.ค. 2022 เวลา 01:43 • สุขภาพ
Kale หรือ ผักสายพันธุ์ คะน้า
มีหลากหลายสายพันธุ์ ที่คนไทยรับประทานมานานมาก ตอนนี้มีผู้นิยมคะน้ามากขึ้น แล้วแต่ว่าเราจะนำไปทานสด หรือปรุงอาหารตามใจชอบ
ใบไทยเริ่มเพาะผักสลัด คะน้า เคล โดยเฉพาะต้นยอดอ่อนที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีรสชาติทานสดได้ดี สามารถใช้ทำเป็นผักสลัดได้ และมีประโยชน์อย่างมากรวมถึงการช่วยเสริมสุขภาพที่ดีได้
การปลูกของใบไทยจะใช้วิธีปลุกแบบออแกนิค เพาะในโรงเรือน และใช้ดินที่มีคุณภาพสูงที่มาจากแหล่งการผลิตโดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องดิน ภายใต้การดูแลและวิทยาการของ เกษตรฯ คนไทยจะได้รับประทานพืชผักแบบสบายใจ
ถ้าทุกคนรู้ถึงสรรพคุณของผักชนิดนี้ ทุกคนจะอยากจะทานเพิ่มขึ้นแน่นอน
สรรพคุณ
1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้
2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในกับร่างกาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
3. ช่วยบำรุงผิวพรรณและป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ
4. มีวิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้นมากขึ้น : วิตามินซี
5. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา : วิตามินเอ
6. มีสารลูทีน (Lutein) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกได้ถึง 29% (ลูทีน) ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมและยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตาได้อีกด้วย
7. ช่วยบำรุงโลหิต ธาตุเหล็กและธาตุโฟเลตในผักคะน้ามีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
ป้องกันโลหิตจางได้ดี
8. ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำหน้าที่ช่วยขับออกซิเจนที่เลือดนำมาไว้ใช้
9. ผักคะน้ามีแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน :แคลเซียม
10. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
11. มีแมกนีเซียมสูง ซึ่งช่วยลดความถี่ของอาการไมเกรนลงได้
12. ช่วยชะลอปัญหาความจำเสื่อม ทำให้อัตราการเปลี่ยนของความจำช้าลง และช่วยชะลอการเสื่อมของอายุสมอง มีวิตามินอีสูง
13. มีคุณสมบัติช่วยป้องกันยับยั้งการเจริญของเนื้องอก ยับยั้งสารก่อมะเร็ง ต่อต้านอนุมูลอิสระและสารก่อมะเร็ง
14. ช่วยส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยขับพิษของสารก่อมะเร็ง
15. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม
16. ช่วยรักษาโรคหอบหืด เพราะช่วยลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบในหลอดลม และยังช่วยขยายหลอดลมของผู้ที่เป็นโรคหอบหืดอีกด้วย
17. ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ช่วยคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลมเมื่อถูกโจมตีด้วยละอองเกสรหรือฝุ่นที่ทำให้ร่างกายต่อต้าน
18. ช่วยป้องกันโรคท้องผูก มีเส้นใย ที่ดี
19. การรับประทานผักคะน้าเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดตะคริว
20. ช่วยรักษาสมดุลของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยลดอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนในสตรีช่วงมีประจำเดือน รวมถึงคนในวัยทองด้วย
21. เป็นผักที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลเป็นพิเศษ เพราะเคล/คะน้าและยอดอ่อน ถือว่าจัดอยู่ในกลุ่มผักที่มีน้ำตาลน้อยที่สุดเลยก็ว่าได้ : 3-5%
22. ช่วยเสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์ :กรดโฟลิก ผักคะน้ามีโฟลิกสูง จำเป็นอย่างมากสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด มีโฟลิกที่จำเป็นต่อร่างกาย
23. ช่วยลดอาการกินของจุบจิบ เพราะแคลเซียมจะช่วยปรับระดับของฮอร์โมนให้คงที่ ทำให้ความอยากกินของจุบจิบสลายตัวไปได้ :ธาตุแคลเซียม
ข้อมูลทางโภชนาการของ ผักจำพวก เคล
ต้นอ่อน หรือ Baby Chinese Kale
Baby Chinese Kale organic
เคล เป็น ราชินีผักเขียว ที่มีประโยชน์อย่างสูงต่อร่างกาย สามารถช่วยให้ร่างกายขจัดโรคบางชนิดได้หากรับประทานติดต่อกัน
ครานี้ มาดูชนิดของ คะน้าในชื่อใหม่และสายพันธุ์อื่นๆดูบ้างค่ะ ใบไทยได้รวบรวมมาให้เพื่อนๆได้รู้จักกันค่ะ
Lacinato kale
Dinasaur kale
Italian Kale
Tuscan Kale
flat back kale
black Tuscan palm
เหล่านี้คือ เคล ชนิดเดียวกันหน้าตา
แต่เรียกแตกต่างกันไป
Curry Kale เคลใบหยิก
Green Kale ใช้เรียก Curry Kale เช่นกัน
Scarlet Kale ลักษณะใบหยิกสีม่วง
Red Russian Kale ไทยเรียก รัสเซีย ม่วง
White Russian รัสเซีย ขาว
คะน้าฮ่องกง
คะน้าเห็ดหอม
คะน้าไชยา หรือต้นชูรส หรือคะน้าอินโดนีเซีย
คะน้าดอก หรือ คะน้ากวางตุ้ง
คะน้ากะหล่ำปลี
ส่วนแขนงไม่ใช่มาจากคะน้า
แขนงมาจากยอดอ่อนของกะหล่ำปลีค่ะ
หลายคนทานมาตั้งนานยังนึกว่าแขนงคือคะน้าอยู่เลย
เรื่องของคะน้ากับเคล ก็เป็นพืชกลุ่มเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกอะไร ทานอะไร และขอให้เลือกทานแบบอาหารปลอดภัยค่ะ
บ้านใบไทยรวบรวมข้อมูลจากกูเกิ้ลและจากใบไทยเองค่ะ
ข่าวรอบโลก
ไลฟ์สไตล์
พัฒนาตัวเอง
5 บันทึก
3
2
5
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย