11 ต.ค. 2022 เวลา 07:55
🌠 Sky October: สำหรับใครที่พลาดดูฝนดาวตกทอริดส์ใต้เหมือนแอดไป ไม่ต้องห่วงฝนดาวตกในเดือนนี้ยังมีอีก!!!
ฝนดาวตกที่ว่านั้นคือ #ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวนายพราน จะขึึ้นช่วง 2 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน ของทุกปี ในปีนี้คาดว่ามีอัตราการตกสูงสุดในคืน 21 - 22 ตุลาคม 2565 สามารถสังเกตเห็นตั้งแต่เวลาประมาณ 23.00 น. ของวันที่ 21 ตุลาคม จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 22 ตุลาคม 2565 มีศูนย์กลางการกระจายอยู่ทางทิศตะวันออก บริเวณแขนของกลุ่มดาวนายพราน คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง เเละเวลาประมาณตี 4 ของวันที่ 22 จะเห็นดวงจันทร์ เป็นเสี้ยวทางทิศตะวันออกสวยๆ
เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ
ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ เกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดผ่านเส้นทางการโคจรของดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ที่หลงเหลือเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากทิ้งไว้ในวงโคจรขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปี 2529 แรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กเข้ามาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการลุกไหม้ เห็นเป็นแสงวาบคล้ายลูกไฟพุ่งกระจายตัวออกมาบริเวณกลุ่มดาวนายพราน มีสีเหลืองและเขียว สวยงามพาดผ่านท้องฟ้า
-วิธีดูฝนดาวตก-
การสังเกตฝนดาวตกที่ดีที่สุด คือ นอนชมด้วยตาเปล่า มีเสื่อสักผืนนึงกับหนอมเเละผ้าห่มเป็นอะไรที่ง่วงมาก (ฮา) และเลือกสถานที่ที่ห่างจากแสงในเมืองให้มากที่สุด โดยมองหากลุ่มดาวนายพราน ตั้งแต่ช่วงเวลา 23.00 น. เป็นต้นไป ทางทิศตะวันออก แม้คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยเพียง 20 ดวงต่อชั่วโมง แต่เนื่องจากเป็นฝนดาวตกที่เกิดบริเวณกลุ่มดาวนายพราน กลุ่มดาวที่มีความสว่างโดดเด่นบนฟ้า
หากสามารถบันทึกภาพการกระจายตัวของฝนดาวตกได้ ก็จะทำให้ได้ภาพฝนดาวตกที่สวยงามเคียงข้างกลุ่มดาวนายพราน อีกทั้งยังเป็นฝนดาวตกในช่วงปลายฝนต้นหนาว ท้องฟ้ามักจะมีทัศนวิสัยดี จึงเหมาะแก่การเฝ้ารอชมและถ่ายภาพฝนดาวตกได้ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้าอีกด้วย
-เทคนิคการถ่ายภาพฝนดาวตก-
สำหรับผู้สนใจถ่ายภาพฝนดาวตก สามารถถ่ายภาพได้ตั้งแต่ 23.00 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุด คือ ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป เนื่องจากเป็นเวลาที่ชีกโลกที่เราอยู่จะรับดาวตกที่พุ่งเข้ามาแบบตรงๆ ดาวตกจะวิ่งตามทิศทางการหมุนของโลก ทำให้เราเห็นดาวตกวิ่งช้าและมีโอกาสถ่ายภาพฝนดาวตกหางยาวได้ง่าย
#ฝนดาวตก #ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ #ฝนดาวตกกลุ่มดาวนายพราน #ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เดือนตุลา
ข้อมูล: สาถาบันวิจัยดาราศาสตร์เเห่งชาติ NARIT
ภาพ: Brian Spencer
เรียบเรียง: Spaceas.xp
โฆษณา