12 ต.ค. 2022 เวลา 06:03 • ปรัชญา
เรื่องราวของความอิจฉา มันเหมือนเป็นเรื่องที่ไม่อยากเห็นใครทำดี ใครทำเกินหน้าเกิน หรือว่าได้ความนิยมชมชอบมากกว่าตน เบื้องหลังที่ทำให้เกิด มันก็จากเรื่องความโลภ ความทะเยอทะยาน อยากได้ ..ได้แล้วก็ไม่พอทะเยอทะยานต่อไปอีก ..มันจึงมีเรื่องของพรหมวิหารสี่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในข้อของคำว่า มุทิตา..เราเห็นคนอื่นเค้า ทำดีอยากได้ในสิ่งที่เค้าต้อง เค้าทำดี เค้าก็สมควรได้รับ ..เรื่องราวคำชม ยศสรรเสริญ เราก็ได้แต่แต่ คิดว่า เค้าสมหวังในสิ่งที่เค้าต้องการ ..ส่วนเราเราก็เฉยๆ
ยิ่งมีใครมาติมาชม เราต่อคนนั้นคนนี้ เราก็ต้องกลับมาดูตัวเอง ระมัดระวังจิตมันจะหลงไปกลับอารมณ์มายา ต่างๆ เราก็ต้องทำใจวางอุเบกขาให้เป็น.. แต่นั่นแหละ ..พอเราวางเฉย ..คำติคำชม ..โลกก็นินทา .. อีก ..
ฉะนั้น เมื่อเรายังวางใจ เราไม่ได้ เราก็ต้องระมัดระวังอารมณ์ของเรา ทำใจเฉย ไม่ไปยินดียินร้าย ใครเค้าจะสำเร็จอะไร มีทรัพย์สมบัติมากมาย ยศมากมาย คำสรรเสริญเยินยอมากมาย มันก็เป็นเรื่องของเค้า ส่วนเราก็มีเพียงชีวิตอาศัยอยู่ชั่วขณะหนึ่ง มีกินพอใช้ ตามอัตภาพ ดูแลจิตใจตัวเองได้ ระมัดระวังไม่ให้เป็นเหยื่อของอารมณ์ที่เกิดในกายตน จิตเรายินพอใจ ปลดเปลื้องเรื่องราวของอารมณ์ให้มันน้อยลง ..ไป จะได้ตั้งเป็นพรหมวิหารให้แก่จิตได้
โฆษณา