13 ต.ค. 2022 เวลา 08:15 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทุนนิยม
ทุนนิยม
หลายคนอาจคุ้นคำนี้มาโดยตลอด กับคำว่า "ทุนนิยม"
หลายก็ยังคิดว่า ทุนนิยมเป็นสิ่งที่ดี หลายคนยังคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี
ในวันนี้ Peach_Talking อยากมาน้ำเสนอถึงความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ เรื่องระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ในเรื่องความหมาย ลักษณะของทุนนิยม บทบาทต่อเศรษฐกิจ ข้อดี ข้อเสีย
ทุนนิยม
คือ ระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินเเละทรัพยากรต่างๆ รวมถึงปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการผลิตสินค้า ผลิตอะไร ผลิตเพื่อใคร ผลิตเท่าไร ได้อยากตามใจชอบ โดยพึงพาระบบกลไกตลาดเป็นตัวบอกราคาสินค้า
โดยมี อดัม สมิธ บิดาเเห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นผู้กำเนิดความระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
อดัม สมิธ บิดาเเห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นผู้กำเนิดความระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ลักษณะของทุนนิยม
  • เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทุกอย่าง
  • รัฐบาลหรือหน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทน้อยในระบบเศรษฐกิจ ทำเพียงเเค่รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ให้ความยุติธรรม เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นของนักธุรกิจ
  • มีการแข่งขันที่สูง
  • เอกชนเป็นผู้ดำเนินการทางเศรษฐกิจทั้งหมด ไม่ว่าธุรกิจขนาดใหญ่หรือเล็ก ก็ตาม
บทบาทระบบทุนนิยมต่อเศรษฐกิจ
เมื่อเอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินเเละทรัพยากรต่างๆ รวมถึงปัจจัยการผลิต ยังมีเสรีภาพหรืออิสระในการผลิตสินค้า บวกผู้คนต้องทำกำไรจากการค้าขาย จึงเกิดแรงจูงใจในการหากำไรจากการค้า บริษัท โรงงาน กิจการทางการค้า จึงเกิดขึ้น ก่อให้เกิดการจ้างงาน ผู้คนจึงมีงานทำ
อย่าง บริษัท Panasonic ที่มาตั้งโรงงานในไทยในหลายจุด ก่อให้เกิดการจ้างงาน เหมือนกับหลายบริษัท
เมื่อเอกชนมีบทบาทมากในระบบเศรษฐกิจ ส่งเสริมงานด้านการผลิตเเละงานบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค ก่อให้เกิดการสร้างงานเเละเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไปในตัว ยังเป็นฐานสำคัญในการเสียภาษีให้แก่รัฐ
ข้อดี
  • 1.
    เมื่อมีการแข่งขันที่สูง จึงเกิดการแข่งขันในด้านการผลิต ด้านคุณภาพสินค้า ด้านราคาสินค้า เพื่อมีสินค้าที่ราคาไม่แพง สินค้ามีคุณภาพ เกิดสินค้าใหม่ สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่น
  • 2.
    มีแรงจูงใจในการทำงาน หลังได้ผลตอบแทนที่ดี ทำให้เกิดการพัฒนาสินค้า
  • 3.
    ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าเเละบริการ ที่หลากหลาย อย่างมีอิสระ
ข้อเสีย
  • 1.
    เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เกิดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวย
  • 2.
    การแข่งขันที่สูง ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่สิ้นแปลืองเเละไร้ประสิทธิภาพ
  • 3.
    เกิดลิทธิวัตถุนิยม บริโภคนิยทมากขึ้น
  • 4.
    อาจเกิดการกดค่าเเรงงาน เพื่อให้สินค้ามีราคาถูก ถือเป็นการเอารัดเอาเปรียบ
แหล่งอ้างอิง
โฆษณา