13 ต.ค. 2022 เวลา 09:34 • ความคิดเห็น
1) มุมมองในทางวิทยาศาสตร์เชิงพระพุทธศาสนา
ผมมองว่า “กฎแห่งแรงดึงดูด” เมื่อมองตามหลักวิทยาศาสตร์เชิงพระพุทธศาสนาจะสามารถตีความได้ว่า
ทุกอย่างเริ่มจาก “มโนกรรม” หรือ
1
“thoughts become things.”
1
นั่นคือ เมื่อคุณ “คิด” เรื่องใดๆ และคุณมี “แรงบันดาลใจ” ที่จะทำสิ่งนั้น ในที่สุด “แรงบันดาลใจ” ก็จะทำให้เกิด “ใจบันดาลแรง” ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อมา คือ “วจีกรรม” คือการ “กล่าวถึง” สิ่งที่คุณคิดอยู่ในใจออกมา ซึ่งอาจเป็น “การสอบถาม” ในสิ่งที่คุณสนใจ และจะนำไปสู่ “กายกรรม” เป็นขั้นตอนของการ “ลงมือทำ” ในที่สุด
ตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับผมคือ:
ผมเป็นคนชอบรถยนต์มาตั้งแต่เด็กๆ วันหนึ่งผมเปิด magazine รถอ่านดู พบว่ามีงานแสดงรถยนต์ที่กรุงโตเกียว ที่มีชื่องานว่า Tokyo Motor Show และผมอยากไปงานนี้มาก เพราะเป็นงานแสดงรถยนต์ระดับโลกที่อยู่ใกล้ๆบ้านเราที่สุดงานหนึ่ง นอกเหนือจากงานที่จัดในทวีปยุโรป
และอเมริกาเหนือ
ผมจึงบอกกับตัวเองว่า ถ้าจะไปจริงๆก็ควรเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วย เพราะชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ครับ มโนกรรม ได้เกิดขึ้นแล้ว และ วจีกรรม ก็คือ ผมเริ่มสอบถามเพื่อนๆที่เรียนขั้นอุดมศึกษาด้วยกันถึงโรงเรียนภาษาญี่ปุ่นที่ได้มาตรฐาน และไม่น่าเชื่อว่า ญาติของเพื่อนสนิทของผมคนหนึ่งกำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่และเขาได้แนะนำโรงเรียนที่มีมาตรฐานและค่าเล่าเรียนไม่แพงเลยให้กับผม!
ขั้นตอนต่อมาคือ กายกรรม ที่ผมต้องขอให้เพื่อนอีกคนหนึ่งช่วยพาผมนั่งรถเมล์ไปสมัครเรียนที่โรงเรียนแห่งนั้น เพราะผมไม่รู้เส้นทางเลย
แม้แต่น้อย
วันเวลาผ่านไป ผมเรียนภาษาญี่ปุ่นจนสำเร็จตามหลักสูตรและทำการสอบวัดระดับจนผมสอบผ่านได้ใบประกาศนียบัตรมาแล้วสามใบ ถึงแม้วินาทีนี้ผมเองยังไม่เคยไปชมงานแสดงรถยนต์ที่โตเกียวเลยก็ตาม
1
2) มุมมองในทางวิทยาศาสตร์แบบโลกตะวันตก
”Whether you think you can, or you think you can't--you're right.”
Henry Ford,
2.1) “กาย”
ในทางวิทยาศาสตร์ การทำงานของระบบประสาทใน “สมอง” อันสืบเนื่องมาจาก “ความคิดและจิตใจ” สามารถส่งผลโดยตรงต่อ “พฤติกรรม” และ “พฤติกรรมและอุปนิสัย” ย่อมส่งผลถึง “คุณภาพชีวิต” ของแต่ละบุคคลได้
ผมได้ชมคลิปๆหนึ่งจากทางช่อง 3 ซึ่งเป็นข้อมูลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ขาวตะวันตก โดยมีการยืนยันว่า “กระแสความคิด” ของเรามีผลต่อการสร้าง “เครือข่ายระบบประสาทในสมอง” โดยหากเราคิดไปในทางหนึ่งทางใด “บ่อยๆ” โครงสร้างของกระแสประสาทจะเป็นไปในทิศทางนั้น ทำให้เราคิดในแนวทางนั้นได้ “ดีขึ้น, ง่ายขึ้น, เร็วขึ้น, จนความคิดในแนวทางนั้นเกิดขึ้นแทบจะอัตโนมัติ”
ดังนั้นไม่ว่าคุณจะ “คิดอะไร” ก็จงเลือกให้ดีๆ!
2.2) “fixed mindset” VS “growth mindset”
Carol Dweck แห่ง Stanford ผมยกให้ท่านเป็น “อาจารย์แม่” ในสาขานี้ครับ
“ทัศนคติ” ที่มีต่อตนเองนั้นมีผลต่อกทีดำเนินชีวิตของแต่ละคนเช่นกัน
คนที่พูดกับตัวเองว่า “ฉันทำได้” (growth mindset) ไม่ว่าจะเป็นการลดนำ้หนัก, หางานใหม่, หรือพยายามเก็บเงิน คนเหล่านี้จะ “พยายาม” และให้ความสำคัญกับความพยายาม ดังเช่น เรื่องเล่าที่ผมเคยได้ยินมาว่า เวลาชาวญี่ปุ่นไปขอพรในศาลเจ้าพวกเขาจะลงท้ายว่า
“ลูกช้างจะพยายาม!” (ganbarimasu!)
ส่วนคนที่คิดว่า “ความสามารถ” เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ (fixed mindset) ก็จะ “ปฏิเสธความพยายาม” ที่จะพัฒนาตนเอง โดยไม่ได้มองอุปสรรคว่าเป็นความ “ท้าทาย” และยืนอยู่ในกรอบความคิดเดิมๆนั้นตลอดไป
2.3) “RAS”
ถ้าคุณคิดจะซื้อรถใหม่สักคัน คุณตัดสินใจเลือกยี่ห้อและรุ่นไว้แล้ว ไปขับทดสอบมาแล้ว คุณแค่ยังตัดสินใจเลือกสีรถไม่ได้
เวลาที่คุณขับรถออกไปตามท้องถนน ในใจคุณยังจดจ่ออยู่กับรถใหม่รุ่นนั้นที่คุณกำลังจะซื้อ แล้วคุณเริ่มเห็นรถรุ่นนั้นจริงตามถนนหนทาง บางคันจอดอยู่ บางคันขับสวนทางกับคุณ บางคันขับตามคุณ บางคันคุณขับตามอยู่
ที่เป็นเช่นนั้นเพราะสมองมีระบบอยู่ระบบหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวคัดกรอง (filter) ข้อมูลที่ผ่านเข้ามาเพื่อให้สอดคล้องกับสิ่งที่คุณสนใจ จะเรียกว่าเป็น การจับคู่ (match maker) ก็น่าจะได้ครับ และระบบนั้นมีชื่อว่า
RAS: Reticular Activating System
ดังนั้นถ้าคุณมุ่งมั่นไปทางใด คุณก็จะได้สิ่งที่อยู่ในใจคุณเรื่อยๆ และมีคนเคยกล่าวว่า
”what you focus on expands.”
เมื่อลองพิจารณาข้อเท็จจริงในทางประวัติศาสตร์ดูอาจพบว่า
# “ใครจะไปคิดว่า วันหนึ่งเราจะได้รู้จักกับแสงสว่างที่ไม่ได้มาจาก ดวงอาทิตย์ และแสงจากตะเกียงและเทียนไข ถ้าไม่มีคนที่คิดค้น หลอดไฟและกระแสไฟฟ้า?”
# “ใครจะไปคิดว่า เมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา มนุษย์สามารถประดิษฐ์อากาศยานที่ต่อมาสามารถนำเราเดินทางข้ามทวีปได้ในเวลาไม่กี่สิบชั่วโมง ทั้งที่เราเคยต้องแล่นเรือแรมเดือนเพื่อข้าม
ทวีป!”
# “ใครจะไปคิดว่า มนุษย์จะได้สัมผัส สภาวะไร้นำ้หนัก และมีชีวิตอยู่ในอวกาศและได้สัมผัสพื้นผิวดวงจันทร์ด้วยการฝากรอยเท้าเอาไว้!”
# “ใครจะไปคิดว่า เราจะมีระบบสื่อสารที่สามารถติดต่อกับผู้คนอีกซีกโลกได้แบบ real time และ เห็นหน้าเห็นตา!”
# “ใครจะไปคิดว่า รถ/เรือ/เครื่องบิน จะขับเคลื่อนได้ด้วยตัวมันเอง!”
ผมจึงมองว่า
ความสามารถที่แท้จริงอันทรงพลังของมนุษย์คือ การ “เลือก” ที่จะ “เชื่อ” ว่า “ตนเองคือผู้นิยามความจริง”
โดยไม่ยอมรอให้อะไรมาหยิบยื่น “ความจริง” ให้
เพราะถ้าคุณ “ยอมมอบอำนาจ” ให้ใครมาบอกคุณว่า “อะไรเป็นไปได้-อะไรเป็นไปไม่ได้”
คุณก็ “แพ้” แล้ว “จริงๆ”
3) “Jim Carrey”
คาดว่าในปี 1997 Jim Carrey ได้ปรากฏตัวในรายการของคุณป้า Oprah และแน่นอนว่าเขาได้แชร์ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ Law of Attraction ที่น่าสนใจครับ
คือช่วงที่เขายังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เขาเขียนเช็คให้ตัวเองเป็นเงิน สิบล้านเหรียญ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ของจริงที่ขึ้นเงินได้ในตอนนั้น แต่เขาก็มุ่งมั่นทำงานของเขาต่อไป จนไม่กี่ปีหลังจากนั้น เขาได้เป็นนักแสดงนำคนหนึ่งในหนังเรื่อง dumb and dumber และเขาได้รับค่าจ้างจากงานแสดงนี้เป็นเงิน 10 ล้านเหรียญครับ
โฆษณา