และในวันเดียวกันนั้นเอง โวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ ผู้นำยูเครน ก็ประกาศออกสื่อชัดเจนเช่นกันว่า ได้ส่งใบสมัครเป็นสมาชิก NATO ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และต้องการให้ทางองค์กรพิจารณาใบสมัครของยูเครนในระบบ Fast Track ที่จะทำให้ยูเครนสามารถเข้าสู่องค์กร NATO ได้ภายใน 2-3 เดือน ที่เร็วกว่ากระบวนการพิจารณาใบสมัครแบบปกติ ซึ่งต้องรอนานเป็นปีๆ หรือ อาจนานจนไม่มีกำหนด
1
และจากการโจมตีอย่างหนักของรัสเซียในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ก็ทำให้เชื่อได้ว่า ยูเครนน่าจะผ่านกระบวนการพิจารณาใบสมัคร NATO แบบเร่งด่วน ได้เป็นกรณีพิเศษ และแม้แต่ชาติสมาชิก NATO ด้วยกันที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต อาทิ โปแลนด์ โรมาเนีย สโลวาเกีย เชค เอสโทเนีย ลิทัวเนีย ต่างออกมาสนับสนุนการพิจารณาใบสมัครของยูเครนแบบ Fast Track กันถ้วนหน้า
2
แต่คนที่เป็นหัวเรือใหญ่ของเรื่องนี้จริงๆ คือ เย็นส์ สต็อลเตินบาร์ก เลขาธิการของ NATO กลับแบ่งรับ แบงสู้ที่จะตอบรับใบสมัครของยูเครน และหนักกว่านั้นอีก คือ เจค ซัลลาแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของสหรัฐ ออกมาพูดเลยว่า ยูเครนควรเลื่อนการยื่นใบสมัครเข้า NATO ออกไปก่อนดีกว่า
1
เพราะเหตุใดที่ชาติมหาอำนาจเสาหลักของ NATO ยังไม่กล้ารับพิจารณาใบสมัครของยูเครนในตอนนี้? ทั้งๆที่ผู้นำยูเครนตัดสินใจพาประเทศเข้ากลุ่ม NATO แน่นอนแล้ว และพยายามเรียกร้องว่า ยูเครนไม่สามารถยุติสงครามนี้ได้ด้วยตัวเอง หากไม่มีกองกำลัง NATO เข้ามาช่วย (แทรกแซง)
2
สำนักข่าวยุโรป ได้วิเคราะห์ถึง 5 เหตุผลที่สร้างความลังเลให้กับชาติมหาอำนาจใน NATO ที่จะพิจารณาใบสมัครของยูเครนในตอนนี้ หรืออย่างน้อยก็ไม่รวดเร็วทันใจอย่างที่เซเลนสกี้คาดหวังแน่ๆ
1. ชาติตะวันตกยังไม่อยากเข้าร่วมสงครามแบบเต็มตัว
ในขณะที่ทั่วโลกภาวนาว่า อย่าให้ถึงขนาดเกิดเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3 เลย ถ้าอะไรที่จบกันได้ ควรจบเสีย แต่หากยูเครนได้รับการรับรองเป็นสมาชิก NATO ภายในระยะเวลาอันใกล้ ภาพแห่งมหาสงครามโลกจะชัดเจนขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป
เนื่องจากทันทีที่ยูเครนเข้าสู่ครอบครัว NATO เมื่อใด มาตรา 5 แห่งสนธิสัญญา NATO จะมีผลบังคับใช้ทันที ที่ว่าหากมีการโจมตีชาติหนึ่ง ชาติใดในสมาชิก NATO เท่ากับการโจมตีชาติพันธมิตรทั้งหมด ซึ่งเท่ากับว่าทุกชาติใน NATO ต้องเกณฑ์ทรัพยากร และกำลังพลกระโจนเข้าสู่สงครามรัสเซีย-ยูเครน อย่างเต็มตัว
และด้วยหลักการนี้ ฮังการีอาจยกขึ้นมาใช้คัดค้านการเป็นสมาชิก NATO ของยูเครนก็เป็นไปได้ เว้นเสียแต่ว่าทางยูเครนจะมีอะไรมาเจรจาแลกเปลี่ยนให้สมน้ำสมเนื้อพอที่ฮังการีจะยอมปล่อยผ่านได้
และด้วยเหตุผลหลายประการที่นักวิเคราะห์ได้หยิบยกมา น่าจะเป็นสาเหตุที่ทาง NATO ลังเลที่จะพิจารณาใบสมัครของยูเครนในตอนนี้ และอาจต้องปล่อยให้เซเลนสกี้ต้องฝ่าดงระเบิดต่อไปอีกสักระยะ กว่าจะพายูเครนเข้าสู่ NATO ได้
เพราะการเป็นสมาชิก NATO ไม่ใช่แค่พันธมิตรด้านการทหาร แต่มีมิติทางการเมืองที่มากกว่านั้น ที่ผู้นำยูเครนจะแค่ขออย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องมีอะไรมาแลกเปลี่ยนด้วย