14 ต.ค. 2022 เวลา 09:22 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กบดำแห่งโรงงานไฟฟ้าเชอร์โนบิว ธรรมชาติเลือกมัน หรือ มันเลือกปรับตัว?
เช้าตรู่วันที่ 26 เมษายน 2529 เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลจำนวน 4 เครื่องเกิดระเบิดขึ้น ปริมาณของรังสีที่แพร่กระจายออกมา มีอานุภาพมากกว่ารังสีจากระเบิดปรมาณูที่ถล่มใส่เมืองนางาซากิและฮิโรชิมะถึงอย่างน้อย 100 เท่า
ฝนกรดจากกัมมันตรังสีแพร่กระจายไปไกลถึงไอร์แลนด์ โดยยูเครน เบลารุส และ รัสเซีย เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากหายนะภัยเชอร์โนบิลมากที่สุด มีพื้นที่ปนเปื้อนรังสีมากถึงร้อยละ 63 ป่าโดยรอบพื้นที่หายนะภัย มีชื่อใหม่ว่า “ป่าแดง” เนื่องจากรังสีนิวเคลียร์ทำให้ใบเป็นสีน้ำตาลแดง และ แทบไม่มีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่
บริเวณที่ถูกปนเปื้อนนั้นถูกจัดให้เป็นพื้นที่ต้องห้าม จากการที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่ ธรรมชาติและสัตว์ที่ไม่ได้หนีออกไปและอาศัยต่ออยู่ในพื้นที่ก็ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัว หรือเรียกได้อีกอย่างว่า ธรรมชาติเลือกให้มันปรับตัว
ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่าน นักวิจัยได้พยายามค้นหาว่ากัมมันตรังสีมีผลกระทบต่อสัตว์ต่างๆที่เข้ามาอาศัยในพื้นที่ปนเปื้อนนี้อย่างไร และสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ได้พื้นที่นี้ต้องปรับตัวมันเองอย่างไรถึงเอาชีวิตรอดได้
บริเวณรอบๆเขตโรงงานนั้นมีหนองน้ำที่ได้รับการสำรวจอยู่ 12 บ่อ โดยทีมวิจัยได้ค้นพบกบเพศชายจำนวนกว่า 200 ตัว ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากกบทั่วไปที่อาศัยอยู่นอกพื้นที่เชอร์โนบิว 44% ของกบที่ทีมวิจัยพบนั้นมีสีผิวที่เข้มกว่ากบธรรมดา โดยทีมวิจัยตั้งสมมติฐานว่าสีผิวเข้มนั้นอาจจะทำให้กบรอดจากสารกัมมันตรังสี
ผลวิจัยที่พบ เมลานินที่เป็นตัวกำหนดสีผิวเป็นที่รู้จักกันในการป้องกันรังสีเพราะสามารถหลีกเลี่ยงการผลิตอนุมูลอิสระที่เกิดจากผลกระทบของอนุภาคกัมมันตภาพรังสีบนเซลล์ การแผ่รังสีสามารถทำลายโครงสร้างที่จำเป็นต่อชีวิตเช่นเมมเบรนของเซลล์หรือแม้แต่ดีเอ็นเอ
เซลล์ในกบที่สีผิวอ่อนจะเหมือนถูกทิ้งระเบิดด้วยรังสีที่สร้างความเสียหายในระดับที่สูงกว่า ซึ่งฆ่าพวกมันได้ในอัตราที่สูงกว่าเซลล์ที่มืดกว่าของพวกมัน ผลการศึกษาสรุปว่า หลังการระเบิด กบดำมีโอกาสรอดสูงกว่า นั่นทำให้กบที่เกิดใหม่รุ่นต่อๆมาจึงมีสีผิวที่เข้มเป็นส่วนใหญ่และสามารถปรับตัวอยู่รอดในพื้นที่เชอร์โนบิวได้
ฝากกด Like ติดตาม เป็นกำลังใจให้เพจด้วยนะครับ
ใครชอบอ่านบทความสามารถตามอ่านบทความดีๆได้ที่:
อ้างอิง
1.Jennifer Nalewicki, October 12, 2022, Chernobyl radiation set off black frog surge while green frogs ‘croaked.’ Evolution explains why; livescience
2.Celine Mergan, April 12, 2016, 15 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับเชอร์โนบิล, greenpeace
โฆษณา