Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Reporters
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
14 ต.ค. 2022 เวลา 13:16 • การเมือง
POLITICS: 'ปิติพงศ์' รำลึก 49 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาเรียกร้องผู้มีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เขียนโดยประชาชนเพื่อประชาชน
วันนี้ (14 ต.ค. 65) ดร.ปิติพงศ์ เต็มเจริญ หัวหน้าพรรคเป็นธรรม โพสต์ข้อความรำลึก 49 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาวันมหาวิปโยค เรียกร้องให้ผู้มีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เขียนโดยประชาชนเพื่อประชาชน มีใจความว่า
"49 ปี 14 ตุลาคม วันมหาวิปโยค ที่เผด็จการเข่นฆ่านักศึกษา ประชาชน ที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย
เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2516 เมื่อนักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้ร่วมกับประชาชนจำนวนนับแสนคนชุมนุมโดยสันติ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้รัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจร, จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ปล่อยนักโทษการเมือง 13 คนที่ถูกจับกุมฐานเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่ถูกแจ้งข้อหากบฏ และมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
ต่อมาเมื่อมีการเดินขบวนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาถึงถนนราชดำเนิน รัฐบาลได้ใช้กำลังทหารปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วง ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก
ต่อมา จอมพล ถนอม, จอมพล ประภาส และ พ.อ. ณรงค์ ต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ และโปรดเกล้าฯ ให้ สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่งของไทย
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นเหตุการณ์ที่มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จากการต่อสู้กับเผด็จการเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ จึงมีการเรียกบุคคลผู้สูญเสียว่า ‘วีรชน’ และเรียกเหตุการณ์ดังกล่าวว่า ‘วันมหาวิปโยค’
ผ่านมา 49 ปีประชาชนก็ยังคงเรียกร้องในสิ่งที่วีรชนผู้กล้าในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ได้เรียกร้อง นั่นคือรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ผมขอร่วมเป็นกระบอกเสียง ในการเรียกร้องไปยังผู้มีอำนาจให้เริ่มกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยผ่านการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)
ให้รัฐธรรมนูญมาจากประชาชน เขียนโดยประชาชน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริงครับ"
ดร.ปิติพงศ์ เต็มเจริญ
หัวหน้าพรรคเป็นธรรม
1 บันทึก
3
4
1
3
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย