Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
sydNEY: The Storiographer
•
ติดตาม
15 ต.ค. 2022 เวลา 13:47 • ความคิดเห็น
ถ้าอนาคต มียาที่จะสามารถรักษาความทุกข์ที่เกิดขึ้นภายในใจของคนเราได้ โดยใช้เวลาในการหายเพียงไม่นานนัก คุณคิดว่าคนที่พบเจอแต่เรื่องทุกข์ จะกลัวความทุกข์ที่เกิดจากทางใจอีกไหม?
1) ผมเคยดูสารคดีจากต่างประเทศเรื่องหนึ่ง มีใจความตอนหนึ่งว่า
“ความเครียดในจิตใจ มีผลต่อการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ และอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้”
ครับ แน่นอนครับ การที่ชีวิตของเราแทบจะทุกคนต้อง
> พบเจอสิ่งที่ไม่อยากพบเจอ
> ไม่พบเจอในสิ่งที่อยากจะพบเจอ
ทั้งสองกรณีอาจนำมาซึ่งความทุกข์ใจและอาจส่งผลไปถึงสุขภาพกายได้ ไม่มากก็น้อย
2) คำว่า “disease” คือ โรค
ถ้าเราพิจารณาคำว่า disease ดังนี้
dis = ไม่ (เช่น disconnect = สัญญาณขาด)
ease = easy (ผ่อนคลาย, ไร้กังวล)
ด้วยเหตุผลนี้ ถ้าเรา
“take it easy” โดยแก้ปัญหาด้วยสติและปัญญา เราก็ไม่จำเป็นต้องกินยาไปเสียทุกโรคครับ
3) “ธรรมโอสถ” คือ หลักการที่นำคำสอนในพระพุทธศาสนามาใช้ “รักษาใจ” และเมื่อใจได้รับการรักษาด้วย “รสพระธรรม” ซึ่งเป็นแหล่งปัญญาอันล้ำเลิศ ช่วยให้ผู้คนทั่วไป มี “ดวงตาเห็นธรรม” และ “รู้แจ้งแทงตลอด” หรือพูดด้วยภาษาง่ายๆว่า “อ่านเกมส์ออก” จิตใจก็จะเปลี่ยนจากการเป็นฝ่ายตั้งรับความทุกข์ มาเป็นฝ่ายรุกด้วยการพึ่งพาสติปัญญาของตัวเองในการรับมือและแก้เกมส์เหตุแห่งทุกข์นั้น
2
จากการค้นข้อมูลของผมเรื่อง “ธรรมโอสถ” ผมได้ข้อมูลกลับมาดังนี้
ครับ
เรียนรู้เพิ่มเติม
gedgoodlife.com
″ธรรมโอสถ” เข้าใจโลก ปล่อยวางโรค
ในช่วงเวลา10ปีที่ผ่านมา วงการแพทย์ได้ตื่นตัวกับการใช้ธรรมปฏิบัติรักษาผู้ป่วยมากขึ้น และเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ธรรมโอสถ นี้สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้จริง
“โรคต่าง ๆ ที่เกิดจากใจเรา”
โรคราคะ:
โรคที่ทำให้จิตใจ โน้มเอียงไปในความกำหนัด รักใคร่ ไม่ว่าจะมองเห็นผ่านทางตา หรือได้ยินผ่านทางหู เมื่อเห็นเป็นของน่ารักใคร่ น่าพอใจ ก็จะทำให้เกิดความปีติยินดีไปทั้งนั้น ยาที่ควรใช้เพื่อรักษาโรคราคะ คือ อสุภะกรรมฐาน ให้มองเห็นสิ่งสวยงามต่าง ๆ เป็นเพียงของปฏิกูล เน่าเสีย หรือเป็นเหตุก่อให้เกิดทุกข์
โรคโลภะ:
เมื่อมีความอยากได้ไม่รู้จักพอ จึงต้องสอนให้รักษาด้วย การให้ทาน เสียสละของรักเพื่อสละความโลภ เช่น เงินทอง ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ แก่บุคคลผู้ยากไร้ หรือตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และบุญกุศลจากการให้ทานต่าง ๆ นี้ ย่อมส่งผลให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง จากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นหาย ได้อีกด้วย
โรคโทสะ:
คิดแต่จะทำลาย หมายแต่โทษแต่ผู้อื่น โดยมิได้นึกถึงความเลวที่เรามีบ้าง จึงถือเป็นโรคที่ร้ายแรงมาก เพราะเป็นการทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ให้แก้ด้วยหลัก พรหมวิหาร 4 “เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา” หรือลองวางอารมณ์ตั้งแต่ตื่นนอนว่า วันนี้เราจะไม่โกรธใคร ถึงแม้เขาจะทำให้เราต้องโกรธก็ตามที พยายามทำให้ได้ทุกวัน หรือตามเวลาที่เรากำหนดไว้ แล้วอารมณ์โกรธก็จะค่อย ๆ น้อยลงไป เปลี่ยนเป็นความเมตตาแทน
4
โรคโมหะ:
ความคิดผิด เห็นผิด เป็นเหตุให้กระทำผิด พูดผิดจากความจริง เห็นผิดเป็นถูก เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ต้องรักษาด้วย การหมั่นเจริญสติ หรือ หมั่นรู้ลมหายใจ เข้า-ออก ให้จิตมีกำลัง – มีสติทรงตัว และให้หมั่นใคร่ครวญ ยับยั้งชั่งใจ มองถึงเหตุ และผลด้วยปัญญา
# ผมได้พบงานทางวิชาการที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับ “ธรรมโอสถ” ที่อยากจะแนะนำไว้ดังนี้ครับ
http://oldweb.mcu.ac.th/userfiles/file/thesis/Doctor-of-Philosophy/Buddhist-Studies/58Buddhist-Studies/206.pdf
3) “ฮอร์โมนสำคัญของร่างกายที่ต้องทำความรู้จักและรับมือให้เป็น”
ครับ ในมุมมองทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ เราสามารถเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่าง “ระดับและประเภทของสารเคมีในร่างกายที่มีความสอดคล้องกับสภาพอารมณ์และจิตใจ” ได้ ดังนี้ครับ
https://www.phyathai.com/article_detail/2561/th/%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%99,-%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87,diabetes,complication,drink,alcohol
“กลุ่มฮอร์โมนแห่งความสุข”
1. เอ็นโดรฟิน (Endorphin)
เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากใต้สมองที่รู้จักกันในชื่อ ‘สารสุข’ เปรียบเสมือนมอร์ฟีนธรรมชาติที่ร่างกายหลั่งขึ้นมาก็ต่อเมื่อมนุษย์มีความสุข ความพึงพอใจ ผ่อนคลาย และหลั่งเพื่อกระตุ้นความรู้สึกในแง่บวกเมื่ออยู่ในภาวะเครียดฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะลดลง
วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมน
-ทำสิ่งที่ตัวเองชอบ หรือให้ความสนใจ
-ออกกำลังกาย ประมาณ 20 นาทีขึ้นไป เพื่อกระตุ้นการหลั่งของเอ็นโดรฟิน
-ทำสมาธิ เดินจงกรม ทำให้จิตใจสงบ
-การมีเพศสัมพันธ์ที่ถึงจุดสุดยอด
2. โดพามีน (Dopamine)
เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความพึงพอใจ รักใคร่ และยินดี เป็นสารที่หลั่งออกจากสมองกับเซลล์ประสาทในร่างกาย โดพามีนจะเกี่ยวเนื่องกับระบบประสาทหลายๆ ส่วน เช่น การทำงานของระบบประสาทสมอง การเคลื่อนไหว ความจำ และการเรียนรู้
ถ้าโดพามีนในร่างกายของเราต่ำเกินไปจะทำให้มีความรู้สึกหดหู่และซึมเศร้าได้ ซึ่งนับว่าเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ยาที่รักษาโรคทางจิตเวชในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาเอาโดพามีนมาใช้ในการรักษา นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโดพามีนต่ำเกินไปทำให้เป็นโรคพาร์กินสันได้ เพราะฮอร์โมนที่ลดลงทำให้ระบบการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน ทำให้มีการสั่น และก้าวขาไม่ออก
วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมน
-ออกกำลังกาย
-รับประทานอาหารที่มีกรดอะมิโนและโปรตีนอย่างเพียงพอ เพราะโดพามีนสังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนที่ชื่อ Tyrosin ซึ่งจะได้จากอาหารประเภทโปรตีนที่เรารับประทานอยู่ทุกวัน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ฯลฯ
3. เซโรโทนิน (Serotonin)
เป็นสารต้านความเครียดที่หลั่งจากสมองและหลั่งจากทางเดินอาหารที่มีผลกับการทำงานของกล้ามเนื้อ อารมณ์ และพฤติกรรม และการนอนหลับ ถ้าระดับฮอร์โมนต่ำเกินไปจะทำให้เราหงุดหงิด นอนไม่ค่อยหลับ ไม่มีสมาธิ มีภาวะปวดศีรษะ เป็นไมเกรน หรืออาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้
วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมน
-ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมน
-กินอาหารที่มีโปรตีน เพราะเซโรโทนินสร้างมาจากทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนเอซิตตัวหนึ่งที่สามารถสังเคราะห์
ฮอร์โมนได้
“กลุ่มฮอร์โมนความเครียด”น
1. คอร์ติซอล (Cortisol)
เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไตและถือเป็นสเตียรอยด์ชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด เมื่อมีภาวะเครียด มีเหตุการณ์คับขัน มีเรื่องวิตกกังวล หรือมีความป่วยไข้ของร่างกาย ฮอร์โมนตัวนี้จะถูกกระตุ้นให้หลั่งมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมต่อการฟื้นฟูร่างกาย
คอร์ติซอลจะกระตุ้นการตอบสนองของเซลล์ในร่างกายต่อภาวะการอักเสบ ความเจ็บปวด ภาวะติดเชื้อ และกระตุ้นให้ตับสร้างน้ำตาลมากขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องการพลังงานมากกว่าปกติในภาวะเครียด ทำให้กินเยอะขึ้น หิวบ่อยขึ้น และน้ำหนักขึ้นได้เร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพื่อรักษาระดับความดันให้ทำงานได้อย่างปกติด้วย
1
วิธีการลดระดับฮอร์โมน
คือ พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากคอร์ติซอลจะหลั่งสูงในช่วงเช้า และจะลดลงในช่วงบ่าย ถ้าเรานอนเป็นเวลาระดับการทำงานของคอร์ติซอลจะเพิ่มและลดตามปกติ แต่สำหรับคนที่นอนไม่พอหรือนอนไม่เป็นเวลาจะมีการหลั่งของฮอร์โมนที่ผิดปกติและผิดช่วงเวลาทำให้ร่างกายไม่สดชื่น และนอนไม่หลับ
2. อะดรีนาลีน (Adrenaline)
อะดรีนาลีน(Adrenaline) หรือ อิพิเนฟริน (Epinephrine) เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมหมวกไต เป็นสารแห่งความโกรธ และเกี่ยวเนื่องกับการป้องกันตัว ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนนี้เพื่อให้มีภาวะเตรียมพร้อมให้ร่างกายเข้าสู่การตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินและการใช้พลังงาน ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดหัวใจทำงานอย่างเต็มที่ หัวใจบีบตัวมากขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้น และทำในสิ่งที่เมื่อก่อนไม่สามารถทำได้ เช่น
เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้จะรีบวิ่งเข้าไปยกของหนักในบ้านออกมาได้ โดยปกติแล้วอะดรีนาลินจะหลั่งช่วงที่เราตื่นเต้นหรือมีภาวะฉุกเฉินแล้วจะลดลงมาอยู่ในระดับปกติ แต่ถ้าหลั่งมากผิดปกติอาจเกิดจากเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ซึ่งทำให้มีอาการหัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง ควบคุมได้ยาก
4) การจัดการกับความทุกข์ในแนวทางของพระพุทธศาสนาที่ผมเคยได้ยินได้ฟังมา
เรียนรู้เพิ่มเติม
blockdit.com
[sydNEY: The Storiographer] 1) ธรรมชาติของความทุกข์
1) ธรรมชาติของความทุกข์
ไลฟ์สไตล์
ข่าวรอบโลก
พัฒนาตัวเอง
6 บันทึก
17
2
9
6
17
2
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย