16 ต.ค. 2022 เวลา 03:19 • การตลาด
CEA สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้คัดเลือกคีย์เวิร์ดที่น่าสนใจ แบ่งเป็น 4 หมวด ได้แก่ ประชากร สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม มาอธิบายสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2023 นี้
1
ด้านประชากร
ผู้คนส่วนใหญ่สนใจด้านสุขภาวะ การบริหารการทำงานและการใช้ชีวิตของตัวเองเพิ่มขึ้นจากปี 2022 บางคนตระหนักได้ว่า ไม่อยากทำงานจนตาย เลยเกิดแนวคิดอยากพักผ่อน ดูแลตัวเอง ใช้ชีวิตสบายๆ ซึ่งจะส่งผลให้บางธุรกิจสามารถเติบโตได้ตามเทรนด์ที่จะเกิดขึ้น
1. Genome Economy พิชิตความเจ็บป่วยด้วยเศรษฐกิจจีโนม
1
นักวิจัยได้พัฒนา MedTech ปรับจากการตั้งรับเป็นป้องกัน เช่น คาร์ทีเซลล์ (Car-T cell) การนำเซลล์มาบำบัดข้างนอกจนหาย แล้วค่อยนำเซลล์นั้นกลับเข้าร่างกาย เป็นต้น สังเกตจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา การตรวจหาเชื้อไวรัส
COVID-19 ทำได้เองง่ายๆ ที่บ้าน ความคุ้นชินเหล่านี้จะปูทางสู่การพัฒนาด้านการแพทย์ในอนาคต หวังว่าจะมีอายุยืนยาวและสุขภาพที่ดี
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : การให้บริการด้านจีโนม เราสามารถติดตามข้อมูลต่างๆ ผ่านการทำ Bio Bank ให้บริการด้านข้อมูลสุขภาพ พัฒนานวัตกรรมการแพทย์ D2C การระบุเงื่อนไขเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่โปร่งใสและชัดเจนมากขึ้น พัฒนาด้านพันธุ์ศาสตร์ DNA รักษาแบบเฉพาะบุคคลมากขึ้น
1
2. The Great Rejuvenation คืนชีวิตใหม่ให้การทำงาน
1
เกิดเอฟเฟกต์จากการลาออกครั้งใหญ่ ผู้คนตระหนักรู้ว่าการทำงานไม่ใช่ทุกสิ่ง เกิดรูปแบบการทำงานใหม่ๆ พนักงานหันมาเน้นการสร้างสมดุลในการทำงาน ก้าวสู่สมดุลที่แท้จริง (Great Rejuvenation) เช่น ทำงานที่บ้าน (Work Form Home) ทำงานชั่วคราวไม่เป็นหลักแหล่ง (Gig Worker) หรือทำงานแบบเข้าออฟฟิศสลับไปเที่ยว (Hybrid Worker)
กว่าจะไปถึงจุดนี้ องค์กรต้องเข้าใจพนักงาน มีเป้าหมายที่ชัดเจน มุ่งรักษาและสรรหาทีม ให้ความยืดหยุ่นกับการทำงาน ถ้านายจ้าง เข้าใจ และพนักงานเองเลือกองค์กรที่เข้ากับตัวเอง สังคมการทำงานจะเดินทางไปสู่ Great Rejuvenation ที่แท้จริง
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : การจัดการบริหารบุคคลองค์กร สถานที่ทำงาน Co-working Space ธุรกิจส่วนตัว
3. The New Romantics ไม่ได้รักกันเล่น ๆ
คนอยู่ติดบ้าน ขาดการปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ประกอบกับการโลดแล่นอยู่บนโลกโซเชียล ทำให้ผู้คนเกิดอาการตกหลุมรักคนบนสื่อ หรือที่เรียกว่าความสัมพันธ์กึ่งมีส่วนร่วมทางสังคม (Parasocial) เกิดภาวะเด็กเกิดรักครั้งแรกช้าลง และผู้ใหญ่เองก็มีความต้องการทางเพศลดลง ทำให้สินค้าและบริการต้องสื่อสารเกี่ยวกับความรักหรือเรื่องเกี่ยวกับเพศ เพื่อดึงดูดความต้องการในใจลึกๆ ของผู้บริโภคออกมา
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมหรือการออกแบบที่สื่อถึงความรัก ความสัมพันธ์มากขึ้น จะเห็นแคมเปญใหม่ ๆ คอนเสิร์ต มีเทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ เช่น การออกเดทที่จริงจังกว่าเดิม อาทิ เคมีต้องตรงกัน ความคิดเห็นเกี่ยวกับการการเมืองตรงกัน เป็นต้น
4. Digital Balance รักษาสมดุลให้กับชีวิตยุคใหม่
รักษาสมดุลให้กับชีวิตยุคใหม่ ลดกฎระเบียบต่างๆ เพื่อลดความเครียดให้กับตัวเอง ไม่ต้องบังคับตัวเองให้เคร่งเครียดขนาดนั้น ให้ละเมียดละไมกับการใช้ชีวิตก็ได้ เช่น การงีบตอนบ่าย อย่าบีบคั้นตัวเองเกินไป
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : ธุรกิจที่เน้นการสร้างความเบา ผ่อนคลาย การออกแบบต้องไม่รุกลูกค้า (Calm Commerce) และเว้นระยะปรับบรรยากาศให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลายก่อนถึงโซนขายสินค้า (Decompression Zone) มากขึ้น เน้นให้ความสะดวกสบายด้านการนอน การหาเหตุผลว่าทำไมเราถึงนอนไม่พอหรือนอนไม่หลับ และสร้างนวัตกรรมด้านการนอนเพิ่มขึ้น เช่น สายการบินเพิ่มพื้นที่การนอนให้ดีและมากขึ้น รวมถึงขนส่งสาธรณะที่จะแจ้งเตือน เมื่อเรานอนหลับเลยป้าย
5. Decoding Emotion ถอดรหัสอารมณ์
ผู้คนเริ่มเข้าใจตัวเอง เช่น ความเป็น LGBTQ+ ควรจะฟังเพลงแบบไหน เคารพความต้องการของตัวเองเพิ่มขึ้น จะมี AI วิเคราะห์ Data หาอารมณ์ ความต้องการของคน เพื่อความแม่นยำรวมถึงคนก็เชื่อถือดิจิทัลขึ้นมากเรื่อยๆ
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : การออกแบบจะส่งเสริมอารมณ์และความรู้สึกเพิ่มมากขึ้น เข้าใจตลาดอารมณ์ (Mood Market) ของผู้บริโภคมากขึ้น มีจิตวิญญาณดิจิทัลเพิ่มมาโดยการใช้ข้อมูลวิเคราะห์ความชอบของผู้บริโภค
ด้านเทคโนโลยี
การพัฒนาเทคโนโลยีจะเกิดแนวคิดที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันบนพื้นที่สื่อ
1. The Tech Paradox อนาคตที่ปราศจากคุกกี้ อาชญากรเว็บมืด และก้าวต่อไปของฟินเทค
ทำให้เบราว์เซอร์ปราศจากคุกกี้ อาชญากรเว็บมืด และพัฒนาเทคโนโลยีการเงินเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้รู้สึกปลอดภัย แต่ในด้านของภาคธุรกิจที่พึ่งดิจิทัลจะเป็นงานยาก เนื่องจากข้อมูลถูกจำกัดมากขึ้นจะส่งผลกับการทำการตลาดของ
แบรนด์ต่างๆ เช่น การหากลุ่มเป้าหมาย การหาความต้องการลูกค้า รวมถึงช่องทางโปรโมทสินค้าและบริการไปเสนอลูกค้า
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : การตลาดจะกลับไปเป็นแบบเก่ามากขึ้น เช่น ส่งอีเมล หรือ SMS จะมีการสร้างกฎระเบียบเข้ามาควบคุมดูแลความปลอดภัยของเทคโนโลยีการเงินมากขึ้น เนื่องจากการเชื่อมต่อกับหลายแอปพลิเคชัน
จึงเสี่ยงกับการถูกโจรกรรมข้อมูล
2. Metaconomy เมตาโคโนมี
มีการลงทุนในธุรกิจเมตาเวิร์สเพื่อให้เห็นภาพเกิดแนวทางที่ชัดเจน มีธุรกิจที่ให้บริการพื้นที่และร่างอวทาร์ในรูปแบบเสมือนจริง (D2A) การได้ครอบครองเป็นกลุ่มแรกๆ เสมือนเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี เป็นเหตุผลให้สินค้าพรีเมียมเติบโตได้ดีเช่นเดียวกับ NFT
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : พึ่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ครีเอเตอร์ มีการโปรโมทสินค้าด้วย VR มากขึ้น ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ร้านอาหาร โรงแรม สายการบิน อสังหาริมทรัพย์มีการเปิดให้จองพื้นที่ในนี้มากขึ้นในธุรกิจเมตาเวิร์ส
3. Crypto Community ชุมชนชาวคริปโตเพื่อนบ้านของเศรษฐกิจดิจิทัล
เกิดชุมชนที่เล่าทิศทางการเติบโตของคริปโต ยากที่จะยอมรับ การลงทุนในเหรียญจะไม่เสถียร เพราะกำลังเผชิญกับค่านิยมที่ไม่แน่นอนเป็นครั้งแรก คริปโตจะเปลี่ยนแปลงโลกเหมือนกับช่วงที่คนเริ่มเปลี่ยนมาใช้ธนบัตรแรกๆ ดังนั้นจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนเพื่อขจัดความไม่แน่นอนออกไป
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : จะเกิดเหรียญคริปโตที่สร้างภายใต้กฎระเบียบขึ้นใหม่ๆ และโมเดล Lean-to-Earn การเรียนรู้การลงทุน ไม่ใช่แค่ซื้อมาขายไป แต่มองเป็นบทบาทของคอมมูนิตี้มากขึ้น ให้อยู่รอดได้ในการแข่งขันในอนาคต
4. Investotainment การลงทุนบนความบันเทิง
การลงทุนด้านความบันเทิง เช่น การทำให้อุตสาหกรรมมาในรูปแบบเกมให้ผู้คนเข้าถึงการบริการได้มากขึ้น รวมถึงการลงทุนในฐานแฟนด้อม วงการเกมเองก็เติบโตเช่นกัน รวมถึงการขับเคลื่อน NFT ไปด้วยในตัว
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : การลงทุนในสมาร์ททีวี CAAS (Creative as a Subscription) งานออกแบบโฆษณาให้คนดูรู้สึกว่าไม่ถูกยัดเยียดจะเกิดโฆษณาที่ออกแบบมาโดยเฉพาะแพลตฟอร์ม พัฒนาแอปพลิเคชันมีระบบคอล จ่ายเงิน คอนเสิร์ต ฯลฯ ที่จบในที่เดียว ตลาด Billboard และการพัฒนาระบบที่เอื้อกับการเป็นสมาชิกระดับพิเศษจะเติบโต รวมไปถึงความนิยมของ VTuber เพิ่มขึ้น
5. Creatornomic เศรษฐกิจครีเอเตอร์
เศรษฐกิจครีเอเตอร์จะเพิ่มจาก Social Commerce เป็น Creator Commerce เกิด Super Application คือแพลตฟอร์มเดียวสามารถทำได้ครบจบทุกอย่าง ที่เป็นตั้งแต่หน้าร้าน โปรโมm รวมถึงบริการระบบการเงิน ทำให้ครีเอเตอร์สมัครสมาชิกจะได้ประโยชน์ มีการวิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย หาพาร์ทเนอร์ให้
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : เกิดโมเดล Subscription ระบบสมัครสมาชิกกับแต่ละแพลตฟอร์มเพื่อเอื้อประโยชน์กับครีเอเตอร์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ขับเคลื่อน NFT
ด้านสังคมวัฒนธรรม
ทุกสังคมในต่างพื้นที่จะอยู่ภายใต้เงื่อนไข อุปสรรค และโอกาสที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การพัฒนามีความยากในการพัฒนาง่ายไม่เหมือนกัน
1.Global Neighborhood ถึงโลกจะกว้าง แต่เราก็อยู่ข้างๆ กัน
ความผันผวนทำให้เกิดการจัดระเบียบโลกใหม่ เกิดแนวคิดการแยกตัวออกจากประเทศมหาอำนาจ พึ่งพาประเทศตัวเองมากขึ้นและเริ่มย้ายฐานการผลิตมาประเทศใกล้เคียงแทน
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : ระบบข้าราชการปรับใช้ดิจิทัลมากขึ้น K-wave Effect เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศมหาอำนาจ ไม่ว่าจะส่งซอฟต์เพาเวอร์อะไรมา เช่น อาหาร เทคโนโลยี เพลง หนัง ยา หรือนวัตกรรม ก็ได้รับความสนใจ
2. Urban Reanimation จากใจกลางสู่ชานเมือง
ผู้คนในเมืองที่เดินทางออกไปยังชานเมืองเริ่มคิดถึงชีวิตในเมือง 40% เลือกที่จะกลับมาอยู่ในเมืองเหมือนเดิมเพราะคิดถึงความสะดวกสบาย คนชานเมืองก็ต้องการพื้นที่ใหม่ ทำให้เกิดการพัฒนาเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับพื้นที่ชานเมือง การเปลี่ยนแปลงถนนเพราะให้ค่ากับคนเดินถนน สร้างแลนด์มาร์คให้ประเทศหรือชุมชนของตัวเอง
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : เน้นการออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่ม นึกถึงความต้องการของคนในพื้นที่นั้นๆ มากขึ้น
3. Brand Citizenship เพราะเรื่องของแบรนด์คือเรื่องของเรา
ลูกค้าต้องการมีส่วนได้ส่วนเสียกับแบรนด์ ต้องการได้ผลประโยชน์ ได้มีส่วนตัดสินใจ เพราะคาดหวังกับแบรนด์
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : บางธุรกิจเปิดพื้นที่ให้ลูกค้าเข้ามาทำกิจกรรมกับแบรนด์ เช่น ส่งของไปให้ขายเลยหรือให้ลูกค้าเข้ามาบอกข้อมูล เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาต่อ
4. Co-Design อนาคตออกแบบได้ด้วยการออกแบบร่วม
เปิดกว้างการออกแบบร่วมกับคนนอกองค์กรที่มีข้อมูลและความถนัดหลากหลาย ไม่จำกัดการออกแบบไว้ที่ In House อีกต่อไป หัวใจสำคัญคือการเปิดกว้างเปิดพื้นที่ให้คนเข้ามาแชร์ความคิดเห็น วิธีนี้ดีกว่าการออกแบบสินค้า และประหยัดเงินด้วย เพราะตรงตามความต้องการของสินค้า
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : การออกแบบที่ตรงความต้องการ นอกจากสวย มีฟังก์ชั่น และต้องรักสิ่งแวดล้อมด้วย
5. Community 3.0 รวมกันเราอยู่
สังคมแบบพึ่งพาตัวเอง สามารถบริหารเงินให้อยู่ในชุมชน การรับฟังคนในแวดล้อมและส่งเสริมการจ้างงานได้
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : เน้นการสร้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับชุมชนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
ด้านสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์แบบ “Zero Some Game” ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม “มนุษย์ชนะ แต่จะไร้ทรัพยากร” หากจะช่วยสิ่งแวดล้อมนั้น ธุรกิจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทั้งหมด เกิดแนวทางการป้องกันและดูแลรักษาทรัพยากรกรชาติมากขึ้น
1. Ecocide (Eco + Homicide) อาชญากรรมต่อธรรมชาติ
มีการออกกฎหมายคุ้มครองธรรมชาติมากขึ้นเพื่อสร้างบทลงโทษต่อผู้ที่กระทำความเสียหายต่อธรรมชาติ เช่น การระบุข้อมูลโภชนาการหรือปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ถ้าไม่เผยแพร่แบรนด์จะถูกลงโทษ
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : ภาคธุรกิจต้องเผยแพร่รอยเท้านิเวศ (Ecological Footprint) ให้ผู้บริโภครับรู้ว่าสินค้าหรือบริการนั้นๆ จะไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม มีเกษตรกรรมแบบฟื้นฟู แนวโน้มการหาวัตถุดิบจากต้นทางเองในแต่ละธุรกิจจะเพิ่มมากขึ้น
2. Multi-Species Thinking มองโลกจากหลายสายพันธุ์
เห็นความสำคัญของแรงงานพืชรวมถึงผลิตพืชพันธุ์ให้เพียงพอกับภาคธุรกิจ เริ่มมีแนวคิดการล้อมกรอบการออกแบบสินค้าและบริการให้เป็นมิตรกับธรรมชาติ ด้วยคอนเซ็ปต์ Tree-Free ไม่ใช้พืชโดยเสียเปล่าและนอกจากใช้แล้วต้องปลูกคืนทดแทนด้วย
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : มีจัดเวิร์คช็อปให้ความรู้เรื่องการปลูกต้นไม้ เกิดบริการสำหรับการปลูกพืชในพื้นที่จำกัด มีบรรจุภัณฑ์ทำมือ เกิดแคมเปญ Tree-Free ในวงการแฟชั่น มีวัตถุดิบแพลนต์เบสและจุลินทรีย์ เช่น เห็ด รา สาหร่าย มาพัฒนาเป็นสินค้าอื่น ๆ ผลักดันสินค้าชีวภาพมากขึ้น
3. Conscious Network เครือข่ายผู้บริโภคตระหนักรู้ทางจริยธรรม
ผู้บริโภคตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยกลุ่มผู้บริโภคที่ยึดหลักจริยธรรมจับมือร่วมกันเพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้น เช่น EU Ecodesign Law กฎหมายสำหรับผู้ผลิตที่ต้องให้ข้อมูลทุกมิติของผลิตภัณฑ์ว่าจะส่งผลต่อโลกหรือต่อเราอย่างไรบ้าง
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : ต้องตระหนักเรื่องการผลิตสินค้าบริการที่ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และสร้างความน่าเชื่อถือจากการแนะนำแบบเพื่อนสู่เพื่อน เพื่อสร้างเครือข่ายด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น
4. First Mile เลือกกินให้ (โลก) อยู่รอด สตาร์ทจากจุดแรกของปัญหา
การเข้าใจต้นตอของปัญหา เพื่อลดปัญหาในเชิงสิ่งแวดล้อม รวมถึงเทรนด์การซ่อมสินค้าที่ทำได้เองง่ายๆ หลายธุรกิจเริ่มปรับให้การซ่อมแซมสินค้าสามารถทำได้เองไม่ต้องลำบากศูนย์ใหญ่ เพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบาย ซึ่งเกิดจากการตระหนักว่าเพราะมันส่งซ่อมยากเลยแก้ปัญหาด้วยการทำให้ลูกค้าสามารถซ่อมเองได้เลย
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : จะมีการร่วมมือกันเพื่อลดมลพิษ เกิดเทรนด์ Self Repair ในสินค้าหลายอุตสาหกรรม
5. Holistic Eating เลือกกินให้ (โลก) อยู่รอด
การกินเพื่อให้โลกอยู่รอด การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการทานอาหารแพลนต์เบสอย่างยืดหยุ่น แนวคิดอาหารที่ทำให้อยู่รอดบนโลกใบนี้โดยไม่แบ่งแยกประเภทอีกต่อไป
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง : วงการแพลนต์เบสเติบโตมากขึ้น เกิดนวัตกรรมจากพืช เช่น วัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อสร้างโปรตีนใหม่ ๆ จะเริ่มเห็นอาหารทะเลจากพืช การเสิร์ฟแพลนต์เบส ใน Fine Dining ด้วยคอนเซ็ปต์ Animal Free
#Trend #CEA #Marketing #BrandAgeOnline
โฆษณา