16 ต.ค. 2022 เวลา 08:17 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
“เสือแทสเมเนี่ยน” วิทยาศาสตร์กับความท้าทายในการนำสัตว์สูญพันธุ์กลับมามีชีวิต
เสือแทสมาเนี่ยน หรือ หมาป่าแทสมาเนี่ยน มีชื่ออังกฤษทางการว่า “ไทลาซีน” ซึ่งได้รากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า “มีหัวเหมือนสุนัขและมีกระเป๋าหน้าท้อง” ลักษณะของมันนั้นมีลายทางที่หลังคล้ายเสือ แต่ส่วนหัวนั้นคล้ายหมาป่าหรือสุนัข มีฟันแหลมคม และสามารถยืนด้วยสองขาหลังได้เหมือนจิงโจ้ มีกระเป๋าหน้าท้องสำหรับให้ลูกของมันซ่อนตัว มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศออสเตรเลีย รัฐแทสเมเนีย และนิวกินี
ไทลาซีนตัวสุดท้ายอยู่ที่สวนสัตว์โฮบาร์ต มีชื่อว่า “เบนจามิน” ได้ตายลงเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1936 เนื่องจากถูกละเลย ขาดการดูแลรักษา และถูกประกาศสถานะสูญพันธุ์โดย IUCN ในปี ค.ศ. 1982
ปัจจุบันนั้นทีมนักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลียและอเมริกาได้ร่วมกันวิจัยเพื่อเก็บเซลล์และ DNA จากตัวอย่างเสือแทสเมเนี่ยนที่ถูกสตาฟไว้ในพิพิธภัณฑ์ หลังจากนั้นจะใช้เทคโนโลยีตัดต่อพันธุกรรมเพื่อนำมันกลับมามีชีวิตอีกครั้งโดยการโคลนนิ่ง
ถึงแม้ทีมวิจัยจะเชื่อว่าภายในระยะเวลา 10 ปีหลังจากนี้พวกเขาน่าจะประสบความสำเร็จในโครงการนี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญในเทคโนโลยีนี้กล่าวว่า มันเป็นความท้าทายอย่างที่สุดเนื่องจากเทคโนโลยีนี้ยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาต่อไปอีก อีกทั้งยังมีคำถามเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของ DNA ที่เก็บได้จากตัวอย่าง และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มนุษย์พยายามจะนำสัตว์สูญพันธุ์กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยก่อนหน้านี้ทีมนักวิทยาศาสตร์จากอเมริกาก็เริ่มโครงการที่จะนำแมมมอธวูลลี่กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
เกร็ดความรู้เล็กน้อยขอไทลาซีน นักวิทยาศาสตร์พบซากฟอสซิลกระดูกของมันที่รัฐควีนส์แลนด์ทางเหนือ จากการตรวจสอบพอว่ามันอายุย้อนกลับไปถึง 30 ล้านปีก่อน จากนั้นก็ค้นพบร่างมัมมี่ของมันในถ้ำทางใต้ของออสเตรเลีย โดยร่างนี้มีอายุราว 4,650 ปี โดยไทลาซีนคาดว่าเริ่มหายไปจากออสเตรเลียราว 5,000 ปีก่อน
เนื่องจากระดับน้ำทะเลเริ่มสูงขึ้นราว 10,000 ปีก่อน ทำให้แผ่นดินแทสเมเนียเริ่มถูกตัดขาดออกจากออสเตรเลีย จนในที่สุดก็กลายสถานะเป็นเกาะ ไทลาซีนซึ่งอาศัยในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเทสเมเนียจึงไม่ค่อยถูกพบทางฝั่งของออสเตรเลีย โดยเป็นหมาดิงโกที่ถูกพบมากในพื้นที่นี้แทน
ฝากกด Like ติดตาม เป็นกำลังใจให้เพจด้วยนะครับ
ใครชอบอ่านบทความสามารถตามอ่านบทความดีๆได้ที่:
อ้างอิง:
1.BBC News
2.Wikipedia
โฆษณา