18 ต.ค. 2022 เวลา 01:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุปจุดเด่น 3 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตของเอเชียที่กำลังเติบโต
รู้หรือไม่ว่า ในปี ค.ศ. 2050 GDP ของ 3 ประเทศจากเอเชียอย่างจีน อินเดีย และอินโดนีเซีย อาจจะสูงขึ้นจนสามารถติด 5 อันดับแรกของประเทศที่มี GDP สูงที่สุดในโลกได้ ตามการคาดการณ์ของ Fidelity International เมื่อช่วงวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมา
1
ซึ่งการคาดการณ์นี้ เป็นหนึ่งในบทพิสูจน์ว่าทวีปเอเชีย ทั้งในส่วนของประเทศมหาอำนาจ และประเทศอื่น ๆ กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการเติบโตของประชากรชนชั้นกลาง และวัยแรงงาน การส่งออกสินค้า หรือแม้กระทั่งธุรกิจใหม่ ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เป็นต้น
ด้วยปัจจัยทางด้านธุรกิจที่มีการขยับขยาย และพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากจะช่วยขับเคลื่อนภาพรวมทางเศรษฐกิจให้กับทวีปเอเชียแล้ว หลายธุรกิจเหล่านี้ ยังกลายเป็นที่จับตามองของบรรดานักลงทุน ที่มองเห็นโอกาสทางความมั่นคงในระยะยาวด้วยเช่นกัน
1
วันนี้ KTAM จึงขอยกตัวอย่าง 3 ธุรกิจ ที่ตอบโจทย์โลกยุคใหม่ ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง และกำลังกลายเป็นหัวใจหลักต่อการเติบโตของทวีปเอเชียเร็ว ๆ นี้
1) ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์
จุดเด่น : เป็นธุรกิจที่มีความสำคัญ ต่อสินค้าต่าง ๆ บนโลก
เชื่อหรือไม่ว่า หลาย ๆ ประเทศในทวีปเอเชีย ล้วนมีส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ รวมไปถึงชิป ที่เปรียบเป็นเหมือนแหล่งพลังงานของโลกยุคปัจจุบัน ที่อาจมีค่ามากกว่าทองคำในโลกอนาคต
1
เพราะในด้านของการผลิตชิป เพื่อใช้กับเทคโนโลยีในปัจจุบัน จากข้อมูลโดย TrendForce เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2022 พบว่า ส่วนแบ่งตลาดการผลิตชิปนั้น มาจากทางไต้หวันเป็นอันดับที่ 1 ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่า 63% และตามมาด้วยเกาหลีใต้ และจีน ที่มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 18% และ 6% ตามลำดับ
1
จากสถิตินี้ จึงเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้กันในโลกทุกวันนี้ ล้วนใช้ชิปที่ผลิตจากไต้หวันเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง
3
นอกเหนือจากเรื่องของการผลิตชิปแล้ว อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในยุคปัจจุบัน ต่างก็ล้วนมีฐานการผลิตที่เริ่มต้นมาจากในเอเชียเช่นกัน
2
ตามการบอกเล่าของ Asia Perspective เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2022 ทวีปเอเชีย ถือเป็นแหล่งสำคัญของบรรดาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชื่อดัง ที่ส่วนใหญ่ ล้วนจัดตั้งฐานการผลิตอยู่ในละแวกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ เป็นต้น
2) ธุรกิจวิดีโอเกม
จุดเด่น : เป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และได้รับความนิยมจากคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าวัยเก๋าหลาย ๆ คนอาจจะมองว่าวิดีโอเกม เป็นเพียงแค่สื่อบันเทิงในรูปแบบหนึ่ง แต่แน่นอนว่าสำหรับผู้คนในยุคปัจจุบัน วิดีโอเกมถือเป็นหนึ่งในสื่อบันเทิง ที่เข้ามามีบทบาท และอิทธิพลในการใช้ชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นไปอีกมากในอนาคต
นั่นจึงทำให้ธุรกิจวิดีโอเกม เกิดการแข่งขัน และพัฒนาหลาย ๆ ส่วนขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี จนกลายมาเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ทำรายได้มหาศาลให้ทั่วทั้งทวีปเอเชีย ไปพร้อม ๆ กับการขับเคลื่อนสังคมดิจิทัลในปัจจุบัน
โดยจากการเก็บข้อมูลจาก Niko Partners และ Gamescom Asia ที่อัปเดตเอาไว้เมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2022 ได้มีการประเมินไว้ว่า ทั้งทวีปเอเชีย จะสามารถทำรายได้รวมโดยเฉลี่ยจากทั้งอุตสาหกรรมเกมมือถือ และเกมพีซี (คอมพิวเตอร์) ได้ถึง 82,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี ค.ศ. 2022 นี้ ซึ่งถือว่าเป็นทวีป ที่สามารถทำรายได้เป็นอันดับ 1 เลยทีเดียว
หนึ่งในสาเหตุหลักคือ การถือครองตลาดโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ และการสนับสนุนจากผู้คนภายในทวีปอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่ล้วนมีชื่อเสียงในด้านนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หรือจะเป็นตลาดที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างก้าวกระโดดอย่าง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย เป็นต้น
1
3) ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
จุดเด่น : เป็นธุรกิจที่มีการเติบโตที่ตอบสนองพฤติกรรม และความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
1
การชอปปิงออนไลน์ ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ผู้คนส่วนใหญ่มักทำกัน จนกลายเป็นหนึ่งในกิจวัตรปกติไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นช่วงวัยไหนก็ตาม นั่นจึงทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซ เกิดการเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ระหว่างเจ้าเล็กและเจ้าใหญ่อย่างต่อเนื่อง
1
สำหรับทวีปเอเชียเอง ธุรกิจนี้ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจสำคัญ ที่คอยขับเคลื่อนภาพรวมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมหาอำนาจอย่างจีน และอินเดีย ที่ถือเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจการซื้อขายสินค้าออนไลน์เป็นอย่างมาก
1
เพราะจากการรายงานของ CXC Global เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 ประเทศจีน ถือเป็นหนึ่งในผู้นำด้านอีคอมเมิร์ซ ที่ถือครองสัดส่วนกว่า 50% ของการทำธุรกรรมในตลาดอีคอมเมิร์ซจากทั่วทั้งโลก และสามารถสร้างรายได้มากถึง 1.33 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าสูงกว่ารายได้เฉลี่ยจากตลาดอีคอมเมิร์ซของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่น รวมกันเสียอีก
นอกเหนือจากนี้ ประเทศอินเดีย ยังถือเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในด้านอัตราของผู้บริโภค ที่มีฐานอยู่ราว 140 ล้านคน (เป็นรองแค่จีน และสหรัฐอเมริกา) ซึ่งแน่นอนว่ายังมีโอกาสขยายฐานลูกค้าได้อีกมาก สืบเนื่องจากปริมาณผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอินเดีย ที่มีฐานอยู่ราว 625-675 ล้านคนในปัจจุบัน
2
แน่นอนว่าธุรกิจทั้ง 3 อุตสาหกรรมนี้ ล้วนเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของธุรกิจที่พร้อมช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทวีปเอเชีย ให้มีโอกาสเติบโตมากขึ้นในอนาคต ซึ่งยังมีธุรกิจอีกมากจากทวีปเอเชีย ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
และด้วยโอกาสของการเติบโตในระยะยาวจากหลาย ๆ ธุรกิจ แน่นอนว่านักลงทุนส่วนใหญ่ที่มองเห็นโอกาส ก็มักที่จะเลือกลงทุนกับบรรดาธุรกิจสำคัญเหล่านี้ ในทวีปเอเชีย เพื่อการสร้างผลกำไรให้งอกเงยในระยะยาวเช่นกัน
ซึ่งสำหรับใครที่อยากเริ่มต้นลงทุนในระยะยาว ณ ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเกษียณ เพื่อการออม และโอกาสทำกำไร การลงทุนกับอุตสาหกรรมจากทวีปเอเชีย ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ ในการลงทุนระยะยาวเช่นกัน จากโอกาสในการเติบโตที่ค่อนข้างสูง และมีความสอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในตอนนี้
โดย KTAM เองก็มีกองทุนในรูปแบบ SSF เพื่อการออมในระยะยาว ที่ลงทุนไปกับบรรดาธุรกิจที่ได้ทำการยกตัวอย่างมาข้างต้น รวมถึงธุรกิจในทวีปเอเชีย ที่มีโอกาสเติบโตในอนาคตมาให้คุณได้เลือกลงทุนด้วยเช่นกัน ซึ่งนั่นก็คือ กองทุนเปิดเคแทม เอเชีย โกรท อิควิตี้ ฟันด์ (ชนิดเพื่อการออม) (KT-ASIAG-SSF)
2
เพราะกองทุน KT-ASIAG-SSF มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน JPMorgan Funds - Asia Growth Fund (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว ในชนิดหน่วยลงทุน Share Class I (USD) โดยเฉลี่ยในรอบบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV ทั้งนี้ กองทุนหลักจะลงทุนอย่างน้อย 67% ของ NAV ในตราสารทุนของบริษัทที่มีภูมิลำเนา หรือดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักในทวีปเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) รวมถึงตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี
ซึ่งกลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน กองทุนเปิดเคแทม เอเชีย โกรท อิควิตี้ ฟันด์ มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก ส่วน JPMorgan Funds - Asia Growth Fund (Class I) (กองทุนหลัก) มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
*ข้อมูลของกองทุนล่าสุดจาก KTAM เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2022
สำหรับท่านใดที่สนใจหรือต้องการหนังสือชี้ชวนของ KT-ASIAG-SSF สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://bitly.ws/vveZ
ลงทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย
ดาวน์โหลด :
สอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร. 02-686-6100 กด 9
คำเตือน :
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) / ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk) / ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk) / ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country Risk) เป็นต้น
กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรืออาจจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม
References :
โฆษณา