Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
My Paragraph
•
ติดตาม
17 ต.ค. 2022 เวลา 23:30 • หนังสือ
ภาษี (เงินได้บุคคลธรรมดา) ต้องรู้
ตอนที่ 4 เงินได้ 8 ประเภท ( Part 2.2 )
สำหรับ Part นี้ เราจะมาต่อกันที่เงินได้ประเภท 5 - 8 กันนะครับ ซึ่งเงินได้ประเภทเหล่านี้นั้น เราสามารถแจ้งความประสงค์ว่าจะให้กรมสรรพากรหักตามเกณฑ์ (แบบเหมา) หรือจะหักตามค่าใช้จ่ายจริง (จริง ๆ เงินได้ประเภทที่ 3 ก็สามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้นะครับ แต่ได้แค่เฉพาะค่าสิทธิ์เท่านั้น)
ซึ่งการหักตามค่าใช้จ่ายจริงนั้น เราจำเป็นต้องเก็บหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะเป็นใบเสร็จ เอกสารสำคัญต่าง ๆ รวมถึงการจดรายรับ - รายจ่าย เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ ไปยืนยันกับทางกรมสรรพากรครับ
หลายคนอาจจะคิดว่าการเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงนั้นยุ่งยาก ก็เลยเลือกที่จะหักตามเกณฑ์ไปเลยดีกว่า สะดวกกว่าเยอะ อันนี้ก็แล้วแต่แต่ละคนสะดวกเลยครับ บางคนอาจคิดว่าหักตามเกณฑ์ให้มันจบ ๆ ไป บางคนก็อาจคิดว่าต้นทุนของตัวเองนั้นสูงกว่าเกณฑ์ของสรรพากรกำหนด เลือกที่จะหักตามจริงจะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจส่วนบุคคลนะครับ
ต่อไปผมขออนุญาตยกตัวอย่างนะครับ
กรณีที่ 1 นาย A มีรายได้จากการปล่อยเช่าคอนโด (ประเภทที่ 5) เดือนละ 10,000 บาท รวม 1 ปี 120,000 บาท A จะสามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา (30%) หรือว่าจะหักค่าใช้จ่ายตามจริงในกรณีที่ A มีต้นทุนมากกว่า 30% ก็ได้ครับ เช่นบางปีอาจมีการ Renovate ตกแต่งห้องเพิ่มเติม ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกว่านั่นเองครับ
ซึ่งสินทรัพย์แต่ละประเภทก็จะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากันนะครับ โดยดูได้ตามรายละเอียดด้านล่างได้เลย
- บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง แพ ยานพาหนะ 30%
- ที่ดินใช้ในการเกษตร 20%
- ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการเกษตร 15%
- ทรัพย์สินอื่น ๆ 10%
กรณีที่ 2 นาย B มีรายได้จากการเป็นนักบัญชี หรือวิชาชีพอิสระอื่น ๆ (ประเภทที่ 6) ปีละ 1,000,000 บาท B สามารถเลือกหักแบบเหมา 30% เมื่อหักแล้วก็จะเหลือเงินได้สุทธิอยู่ที่ 700,000 บาท (กรณีไม่มีค่าลดหย่อน) แล้วนำไปคูณอัตราภาษีต่อไป หรือหักตามค่าใช้จ่ายจริงกรณีต้นทุนนั้นมากกว่า 30% ก็ได้
แต่ถ้า B นั้นประกอบโรคศิลปะ (เวชกรรม,เภสัชกรรม,ทันตกรรม,การพยาบาล,การผดุงครรภ์,เทคนิคการแพทย์ และกายภาพบำบัด) จะสามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ถึง 60% ครับ
กรณีที่ 3 นาย C เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง มีรายได้ปีละ 1,000,000 บาท (ประเภทที่ 7) ซึ่งเงินได้ประเภทนี้สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ถึง 60% นั่นคือเมื่อหักแล้วก็จะนำเงินได้สุทธิ 400,000 บาทไปคูณกับอัตราภาษีและยังสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้ในกรณีต้นทุนมากกว่า 60% อีกนะครับ
กรณีที่ 4 นาย D ทำธุรกิจซื้อมาขายไป โดยมีรายได้ 1,000,000 บาท/ปี (ประเภทที่ 8) ซึ่งจะสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ในอัตรา 60% นั่นคือสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 600,000 บาทและสามารถหักตามจริงได้ในกรณีต้นทุนสูงกว่า 600,000 บาท อีกด้วยครับ
*ซึ่งธุรกิจที่สามารถหักเหมาได้ 60% นั้น ต้องอยู่ในกลุ่มที่กฎหมายกำหนดไว้ 43 ประเภทเท่านั้น สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ google เลยครับ*
เรียบเรียงบทความจาก
หนังสือ : Money Literacy
คนไทยฉลาดการเงิน
ผู้เขียน : ศักดา สรรพปัญญาวงศ์
จักรพงษ์ เมษพันธุ์
ถนอม เกตุเอม
จัดพิมพ์และจำหน่ายโดย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด
บทนำกฏหมายสาธารณสุข : รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์
เว็บไซต์ :
www.itax.in.th
www.rd.go.th
ติดตามบทความดีๆ จากหนังสือดีๆ ได้ที่
Facebook :
https://www.facebook.com/profile.php?id=100083199540239
Blockdit :
https://www.blockdit.com/pages/62d36e1ff3c43550da6697be
การเงิน
พัฒนาตัวเอง
ภาษี
2 บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ภาษี (เงินได้บุคคลธรรมดา) ต้องรู้
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย