Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
G-Able
•
ติดตาม
20 ต.ค. 2022 เวลา 13:00 • ธุรกิจ
Burnout Syndrome หรือภาวะหมดไฟในการทำงานสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และล่าสุดภาวะนี้ก็ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรคใหม่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเป็นผลจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงานที่ควรได้รับการดูแลก่อนจะคุกคามการใช้ชีวิต วันนี้แอดมินจึงขอวิธีการสังเกตอาการแต่เนิ่น ๆ รวมถึงการจัดการอย่างถูกวิธีมาฝากกันครับ
การสังเกตสัญญาณเตือนว่าเริ่มเข้าสู่ภาวะหมดไฟในการทำงาน แบ่งออกเป็น 3 ด้าน
▪️ ด้านอารมณ์ หดหู่ ซึมเศร้า หงุดหงิดโมโหง่าย อารมณ์แปรปรวน ไม่พอใจในงานที่ทำ
▪️ ด้านความคิด มองคนอื่นในแง่ลบแง่ร้าย โทษคนอื่นเสมอ ระแวง หนีปัญหาไม่จัดการปัญหา สงสัยและไม่เชื่อในศักยภาพของตนเอง
▪️ ด้านพฤติกรรม ผัดวันประกันพรุ่ง ขาดความกระตือรือร้น หุนหันพลันแล่น บริหารจัดการเวลาไม่ได้ ไม่อยากตื่นไปทำงาน มาสายจนผิดสังเกตติดต่อกัน ไม่มีสมาธิในการทำงาน ไม่มีความสุขในการทำงาน
เพราะความเครียดในที่ทำงานอาจหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่เราสามารถป้องกันความเหนื่อยหน่ายได้ โดยขั้นตอนต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณมีวิธีจัดการและป้องกันภาวะหมดไฟได้ถูกต้อง
✅ ออกกำลังกาย เป็นกิจกรรมที่ไม่เพียงแต่ดีต่อสุขภาพร่างกายเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เรามีกำลังใจเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง อาจเลือกการออกกำลังกายสั้น ๆ หรือการเดินระยะสั้นก็เป็นวิธีที่สะดวก สร้างนิสัยประจำวันได้
✅ รับประทานอาหารให้สมดุล การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่เต็มไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นยาแก้ซึมเศร้าตามธรรมชาติ เช่น น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ วอลนัทและปลา อาจช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น
✅ ฝึกนิสัยการนอนที่ดี ร่างกายของเราต้องการเวลาพักผ่อน โดยข้อมูลจาด National Sleep Foundation แนะให้เลี่ยงคาเฟอีนก่อนเข้านอน สร้างบรรยากาศในห้องนอนให้ผ่อนคลาย และงดใช้สมาร์ทโฟนก่อนนอนสามารถช่วยส่งเสริมสุขอนามัยในการนอนที่ดี
✅ ขอความช่วยเหลือในบางครั้งไม่ใช่เรื่องผิด ในช่วงเวลาที่ตึงเครียดสิ่งสำคัญคือต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ไม่ว่าจากเพื่อนสนิทและสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้สามารถผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้
Source
bit.ly/3Sj78qi
bit.ly/3BKlzN3
burnout
marketing
onlinemarketing
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย