Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บ้านหนองทองจันทร์ฟาร์ม
•
ติดตาม
20 ต.ค. 2022 เวลา 05:31 • อาหาร
📌8 ข้อต้องรู้! นำ 'กัญชา' มาทำอาหาร ใช้ผิดอันตรายถึงชีวิต☠️
🌱การนำกัญชา มาประกอบอาหาร และ เครื่องดื่ม เตือนห้ามใช้ 'ช่อดอกกัญชา' หลังออกฤทธิ์รุนแรง มีผลต่อจิตประสาท อันตรายถึงชีวิต
หลังจากที่กัญชาถูกปลดออกจากรายชื่อสิ่งเสพติดของประเทศไทยไปแล้ว และมีคนนำมาอุปโภคบริโภคกันมากขึ้น โดยเฉพาะในการนำมาประกอบอาหาร จนทำให้เริ่มมีข่าวของผู้ที่รับประทานอาหารที่ใส่กัญชาลงไปแล้วเกิดอาการป่วย ตั้งแต่ไม่มากไปจนถึงกับรุนแรง ตามแต่ระดับการแพ้ของแต่ละคน
✍️เลยขอสรุปข้อแนะนำจากทาง ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) ที่เกี่ยวข้องกับการนำกัญชามาประกอบอาหารและเครื่องดื่ม ดังต่อไปนี้
✨1. ไม่ควรใช้ "ช่อดอกกัญชา" เพราะมีสาร THC ทีเอชซี ที่ฤทธิ์มึนเมาสูง รวมทั้งไม่ควรใส่ส่วนอื่นของกัญชา เช่น กิ่ง ก้าน ลำต้น ราก ลงไปด้วย (ให้ใช้แต่ใบเท่านั้น)
✨2. อาหารประเภท ต้ม ผัด แกง ทอด ให้ใช้ใบกัญชาสด ใส่ได้ไม่เกิน 1-2 ใบ/เมนู เพราะถ้าใช้มากเกินไป จะมีผลข้างเคียงหรือนำไปสู่การเสพติดได้
✨3. ร้านค้าที่ประกอบอาหาร หรือทำผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา ต้องเขียนบอกผู้บริโภคให้ชัดว่า อาหารนั้นมีกัญชาเป็นส่วนประกอบ เพราะมีหลายคนที่แพ้ และไม่ใช่ว่าทุกคนจะชอบรสชาติของกัญชา
✨4. ห้ามไปโฆษณาประชาสัมพันธ์ ว่าอาหารที่ใส่กัญชานั้น มีสรรพคุณรักษาหรือป้องกันโรคได้ ถ้าไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์ที่รักษาโรคด้วยกัญชา
✨5. เด็ก เยาวชน คนที่อายุต่ำกว่า 25 ปี สตรีมีครรภ์และให้นมลูก ไม่ควรกินอาหารที่มีส่วนผสมกัญชา เพราะเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายต่อสุขภาพ
✨6. คนที่แพ้สาร THC หรือแม้แต่สาร CBD ซีบีดี หรือสารอื่นๆ ในกัญชา จะต้องไม่บริโภคกัญชา เพราะอาจจะเสี่ยงอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้
✨7. คนที่บริโภคกัญชาไปแล้ว ไม่ควรขับขี่รถ หรือทำงานกับเครื่องจักรกล เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเช่นกัน
✨8. หากจำเป็นต้องกินหรือใช้กัญชา ควรจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
👨⚕️ข้อแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้กัญชา
👉หลีกเลี่ยงการใช้กัญชาในรูปแบบ “สูบ” เพราะควันจากกัญชาเป็นอันตรายกับปอดและระบบทางเดินหายใจ
👉หลีกเลี่ยงการใช้ "ช่อดอก" กัญชา เพราะมีสาร delta-9
👉THC ความเข้มข้นสูง ทำให้เกิดพิษต่อสมอง จิตประสาท ระบบการเคลื่อนไหว และทำให้เกิดการ “ดื้อต่อสาร” หรืออาการเสพติดได้
👉คนที่มีโรคประจำตัวทางกายและใจ ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้กัญชา เพราะอาจกระตุ้นทำให้โรคมีอาการมากขึ้น หรือไปทำอันตรกิริยากับยารักษาโรคที่ใช้อยู่ จนกระทบกับการรักษาได้
👉หากต้องการครอบครอง เช่น ปลูก ขาย หรือไว้ใช้ในครัวเรือน ควรจดแจ้งให้ถูกต้อง และเก็บต้นกัญชาให้พ้นสายตาคน โดยเฉพาะเด็ก-เยาวชน
👉ให้ครู ผู้ปกครอง ทำความเข้าใจกับเด็กและเยาวชน ถึงผลกระทบจาก “กัญชา” ด้วยเหตุด้วยผล ไม่ใช้อารมณ์ เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้อยากลองใช้
👉งานวิจัยพบว่า กัญชามีผลกระทบกับสมอง ทำให้เด็ก-เยาวชน มีความสามารถทางสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ลดลง โดยมักเกิดจากการใช้ในรูปแบบสูบ หรือใส่ผสมอาหารเป็นปริมาณมากเกิน
👉กัญชา มีผลกระทบระยะสั้น เช่น มึนเมา ใจเต้นแรง ความดันต่ำหรือสูงเกินไป อารมณ์แปรปรวน คลื่นไส้ อาเจียนฯ
👉กัญชา มีผลกระทบระยะยาว เช่น หากใช้เกิน 2-3 ปีขึ้นไป เพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคจิตเภท สมาธิสั้น ความคิด ความจำแย่ลงฯ
👉สารทีเอชซี THC (Tetrahydrocannabinol) เป็นสารเสพติด มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท หากไม่ควบคุม จะทำให้อยากใช้มากขึ้น
💡องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่าใน ใบสด ของกัญชา จะพบสาร cannabidiolic acid (CBDA) และ Tetrahydrocannabinolic acid (THCA) ซึ่งไม่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ไม่เมา)แต่เมื่อถูกแสงและความร้อน
ทั้งจากการปรุงและเก็บรักษา จะเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลง (decarboxylation) โดยสาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร THC (ที่ทำให้เมา)
มีการศึกษาพบว่าหากใช้ความร้อน 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือ 98 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง หรือ 160 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที หรือ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1-2 วินาที สาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นเป็นสาร THC อย่างสมบูรณ์
การสูบกัญชาจะทำให้สาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร THC ประมาณ 95% ใบกัญชาแห้งที่ถูกเก็บไว้ สาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร THC อย่างช้าๆ
🙏ขอบคุณที่มาข้อมูล : ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) ,
thansettakij.com
เกร็ดความรู้
ความรู้รอบตัว
บันทึก
2
3
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย