21 ต.ค. 2022 เวลา 10:30 • ธุรกิจ
เคยสงสัยกันไหมครับว่าธุรกิจบริหารสินทรัพย์ (AMC) หรือบริหารหนีี้เสีย เช่นบริษัท BAM,JMT,CHAYO,TH และ KCC เป็นต้น บริษัทพวกนี้ซื้อทรัพย์หรือหนี้ที่เป็น NPL จากธนาคารมาที่ต้นทุนเท่าไร คิดเป็นกี่ % ถ้าอยากรู้ตามผมมา
จากการที่ผมฟัง youtube ที่ช่องถามอีกกับอิก โดย คุณรวิสรา สุวรรณอำไพ ผู้อำนวยการ บลป. เอฟเอสเอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ปกติธนาคารจะมี NPL หรือหนี้เสียที่สูญเสมอ เนื่องจากจะมีบางรายผ่อนไม่ไหวปล่อยให้ยึดสั่งฟ้อง ซึ่ง NPL ของธนาคารเขาจะคำนวนและสำรองหนี้สูญอยู่แล้ว ธนาคารดูแล้วและจะคัดว่าหนี้ NPL พวกไหนธนาคารจะเก็บไว้ หรือจะปล่อยไปให้พวก บริษัทบริหารหนี้เสีย โดยดูจากผลระโยชน์ธนาคารเป็นหลัก
ถ้า NPL ไม่ดี ไม่สวยหาผลประโยชน์ยากก็จะปล่อยให้ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ไป โดยจะเรียกธุรกิจบริหารสินทรัพย์มาประมูล NPL ตามที่ธนาคารกำหนด โดย NPL ที่ธนาคารขายให้ธุรกิจบริหารสินทรัพย์มีหลักๆอยู่ 2 ประเภท คือ
1. หนี้เสียที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (NPA) หมายถึงธุรกิจบริหารสินทรัพย์จะไปประมูลซื้อหลักทรัพย์เช่นบ้าน ที่ดิน อสังหาที่ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเรียบร้อยแล้ว โดยที่ธุรกิจบริหารสินทรัพย์จะซื้อที่ราคา 45-50% ของหลักทรัพย์ที่ประเมิน เช่นถ้าที่ดินตรงนี้ประเมิน 1 ล้านธุรกิจบริหารสินทรัพย์จะไปซื้อที่ 4.5-5 แสน
อันนี้ผมเสริมในมุมมองธุรกิจนะครับเขาก็ไปขายต่อ 100% ของราคาประเมิน เช่นขาย 1 ล้าน แล้วถ้าขายยากก็ลดราคา 30% ขาย 7 แสน ก็ยังมีกำไร 2 -2.5 แสนบาท
2.หนี้เสียที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่นหนี้บัตรเครดิตที่ตามไม่ได้แล้ว จะไปยึดทรัพย์ก็ไม่มีทรัพย์ให้ยึดอีก ก็จะขาย 5-10% ของมูลหนี้ เช่น ลูกหนี้มีหนี้บัตรเครดิตกับธนาคาร 1 ล้าน เขาจะขายให้ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ 5หมื่นถึง 1 แสนบาท เพราะหนี้พวกนี้อาจจะตามลูกหนี้ไม่เจอหรือลูกหนี้เขี้ยว ทางธุรกิจบริหารสินทรัพย์ก็ต้องไปตามเอาเองอยู่ที่การบริหารของแต่ละบริษัท ใครตามเก่งก็ได้กำไรเยอะหน่อย
สมมติหนี้ 1 ล้าน ซื้อมาแค่ 5 หมื่น ถ้าตามหนี้ได้ 5 แสนก็ได้กำไร 4.5 แสนเน้นๆ
ถ้าสนใจรายละเอียดเพิ่มลองดูในลิ้งค์ในเม้นนะครับ
โฆษณา