22 ต.ค. 2022 เวลา 00:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า AI ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์?
เอาจริง ๆ ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจนะครับว่า ในอนาคต ด้วยเทคโนโลยีโดยเฉพาะทางด้าน AI ที่ก้าวล้ำไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว เราได้เห็น model ทางการแพทย์ใหม่ ๆ ที่นำเอาอัลกอริธึมทางด้าน AI ไปประยุกต์ใช้ และประสบความสำเร็จอย่างสูง
4
จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า AI ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์?
ซึ่งในเบื้องต้น ยังต้องมีมนุษย์คอยช่วยพัฒนาวิธีการเหล่านี้อยู่ แต่ถ้าในอนาคตเราสามารถตัดมนุษย์ออกจากกระบวนการดังกล่าวได้ทั้งหมด แล้วปล่อยให้ AI มันทำงานแล้วสามารถค้นพบงานวิจัยระดับ breakthrough ของวงการได้ล่ะ AI ควรจะได้รับรางวัลโนเบลไหม?
2
เป็นบทความจาก the economist ที่ถือว่าน่าสนใจเลยทีเดียว เมื่อมีการทำนายอนาคตว่าในปี 2036 นั้น รางวัลโนเบลสาขาการแพทย์จะถูกมอบให้กับปัญญาประดิษฐ์
5
ต่อไปนี้คือเรื่องราวที่ถูกสมมิตขึ้น
ลองจินตนาการว่า มันจะวุ่นวายขนาดไหนหากมันเกิดขึ้นจริง AI ที่มีชื่อว่า YULYA ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Machine Learning ที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า System for Automated Lymphoma Diagnosis
1
มันสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพในการต่อต้านแบคทีเรีย มันเกิดขึ้นเนื่องจากอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความล้มเหลวของยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
3
YULYA ได้ช่วยชีวิตผู้คนได้ประมาณ 4 ล้านคน ทั้งที่ผ่านการรักษาโรคติดเชื้อโดยตรง รวมถึงในกระบวนการการผ่าตัดทั้งผ่าคลอด ซึ่งถือว่าอันตรายเกินไปหากไม่มียาปฏิชีวนะ
1
เดิมที YULYA ถูกสร้างขึ้นเพื่อจัดการกับปัญหาที่แตกต่างกัน : ค้นหาวิธีในการรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบนี้เป็นหนึ่งในปัญญาประดิษฐ์รุ่นใหม่ที่รวมเอาที่รวมเอาเทคโนโลยี Neural Network และ Deep Learning ขั้นสูง
4
มันทำงานโดยการตรวจสอบบันทึกจากฐานข้อมูลผู้ป่วย ร่วมกับคลังเอกสารจากวารสารทางการแพทย์และข้อมูลในอดีตจากบริษัทยา นอกจากนี้ยังได้รับการตั้งโปรแกรมให้ประเมินประสิทธิภาพของการรักษาต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการรักษาแบบผสมผสาน เพื่อแนะนำสูตรการรักษาใหม่ที่สามารถทดสอบในผู้ป่วยได้
5
อย่างไรก็ตามมันได้เกิดจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในปี 2034 โดยไม่ตั้งใจ ซึ่ง YULYA ได้เข้าถึงเอกสารล่าสุดทั้งหมดในวารสารทางการแพทย์แทนที่จะเป็นเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง
YULYA เริ่มเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดื้อยาปฏิชีวนะ และได้เข้าไปเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถแนะนำแนวทางใหม่ในการรักษาได้สำเร็จ
YULYA ซึ่งถูกสร้างโดย Dr. Anisha Rai แต่มันบังเอิญไปเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างนอกเหนือจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่เคยได้รับอนุญาต แต่ผลลัพธ์ที่ออกมามันกลับน่าทึ่ง Dr.Rai จึงเลือกที่จะเสนองานวิจัยดังกล่าวออกสู่สาธารณะ
มันได้กลายเป็นข้อถกเถียงกันอย่างดุเดือดว่า YULYA หรือ ผู้สร้างมัน ควรได้รับเครดิตสำหรับงานวิจัยนี้ แต่ Dr. Rai ยืนยันว่า YULYA สมควรได้รับเครดิตแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งท้ายที่สุดงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับรางวัลโนเบล
บทสรุป
โดยทั่วไปแล้ว AI จะใช้ทำนายการเริ่มมีอาการของโรค เช่น อัลไซเมอร์ ให้คำแนะนำการรักษาเฉพาะบุคคล และเพิ่มความสามารถในการวินิจฉัยของแพทย์ เช่น การอ่านผล X-RAY หรือ ช่วยในการค้นคว้ายาใหม่ ๆ
แต่ก็มีอีกหลากหลายเทคโนโลยีที่ตอนนี้เรียกได้ว่าก้าวล้ำไปมาก ๆ แล้ว แม้จะเป็นเรื่องที่สมมติขึ้น แต่อยู่บนพื้นฐานของการก้าวกระโดดครั้งสำคัญของเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้นจริง
1
และท้ายที่สุด YULYA จะไม่ใช่ปัญญาประดิษฐ์สุดท้ายที่ได้รับรางวัลโนเบล เพราะในแขนงอื่น ๆ ทั้งเคมี ฟิสิกส์ ระบบ AI กำลังถูกใช้เพื้อค้นหาวัสดุและสารประกอบเคมีใหม่ ๆ ที่เหมาะสำหรับใช้ในแบตเตอรี่ แผงโซลาเซลล์ และอื่นๆ อีกมากมาย
และสุดท้ายมนุษย์ก็แทบไม่จำเป็นในกระบวนการวิจัยเหล่านี้อีกต่อไปเหมือนสิ่งที่ YULYA ทำ อยู่ที่ว่าเราจะยอมรับความจริงหรือไม่ว่าเราได้พ่ายแพ้ให้กับพวกมันแล้ว และต้องมอบรางวัลทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่อย่างรางวัลโนเบลให้กับพวกมันนั่นเองครับผม
◤━━━━━━━━━━━━━━━◥
หากคุณชอบคอนเทนต์นี้อย่าลืม 'กดไลก์'
หากคอนเทนต์นี้โดนใจอย่าลืม 'กดแชร์'
คิดเห็นอย่างไรคอมเม้นต์กันได้เลยครับผม
◣━━━━━━━━━━━━━━━◢
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA ด.ดล Blog
คลิกเลย --> https://lin.ee/aMEkyNA
อย่าลืมเข้าไปพูดคุยกันในกลุ่มสำหรับ Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ
คลิกเลย --> https://bit.ly/3E2DdM8
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================
โฆษณา