22 ต.ค. 2022 เวลา 07:23 • การตลาด
#เกินครึ่ง ของผู้บริโภค (53%) เปลี่ยนแบรนด์ที่เคยซื้อประจำในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา
มาต่อกันที่ข้อมูลผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จาก report “Southeast Asia’s digital consumers: A new stage of evolution” ที่จัดทำโดย Meta และ Bain & Company
ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากการทำ online survey กับ digital comsumer จำนวน 15,767 คน ในหลากหลายช่วงอายุและรายได้ จาก 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วย Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore, Vietnam และ ประเทศไทย
โดยเฉลี่ย ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 53% เปลี่ยนแบรนด์ที่ตัวเองซื้อประจำในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยแบ่งตามหมวดหมู่สินค้าได้ดังต่อไปนี้
สินค้าที่มีความจำเป็น (essentials)
- 56% ของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าหมวด Baby Care เปลี่ยนแบรนด์ที่ใช้อยู่ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
- 54% Personal Care
- 47% Groceries (fresh)
- 46% Groceries (packaged)
- 45% Non alcoholic beverage
สินค้าที่มีความจำเป็นน้อยลงมา หรือ non-essentials
- 60% ของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าหมวด Clothing เปลี่ยนแบรนด์ที่ใช้อยู่ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
- 59% Consumer electronics
- 58% Beauty
- 57% Home office
- 55% Toys
- 53% Household appliances
- 51% Other household furnishing
- 48% Alcoholic beverages
เหตุผล top 3 ที่ผู้บริโภคเปลี่ยนแบรนด์ของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1. แบรนด์อื่นคุ้มค่ากว่า (Better Value)
2. แบรนด์อื่นมีสินค้าที่ดีกว่า (Better Product)
3. เบื่อแบรนด์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ผู้บริโภคในไทยมีความเห็นตรงกับผู้บริโภคส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลย
มีเพียงผู้บริโภคใน Indonesia และ Philippines เท่านั้นที่มีความเห็นต่างกันนิดหน่อย โดยที่ผู้บริโภคใน Indonesia เปลี่ยนแบรนด์ที่ใช้อยู่ด้วยเหตุผลอันดับหนึ่งคือ แบรนด์อื่นมีสินค้าที่ดีกว่า และรองลงมาคือ แบรนด์อื่นคุ้มค่ากว่า ส่วนเหตุผลอันดับสามคือ เบื่อแบรนด์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่นเดียวกัน
ส่วนผู้บริโภคใน Philippines เหตุผลอันดับหนึ่งกับสองเหมือนกับผู้บริโภคใน Indonesia เลย แต่อันดับสามจะต่างจากทุกประเทศ ซึ่งคือ แบรนด์อื่นมีสินค้าที่พร้อมขายและส่งมากกว่า
40% ของผู้บริโภค เปลี่ยน platform ที่เคยซื้อเป็นประจำในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
นอกจากเปลี่ยนใจจากแบรนด์แล้ว ผู้บริโภคยังเปลี่ยนใจจาก platform ที่ซื้อของเป็นประจำด้วยเช่นกัน
ซึ่ง platform เหล่านี้ มีทั้ง e-marketplce, เว็บไซต์ e-commerce ของแบรนด์และ retailer รวมถึงช่องทาง social commerce ต่างๆ ด้วย
เหตุผล top 3 ที่ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนใจไปซื้อ platform อื่น คือ
1. ราคาดีกว่า
2. สินค้าดีกว่า
3. ส่งฟรี
ส่วนผู้บริโภคในประเทศไทย เหตุผลสองอันดับแรกเหมือนกับผู้บริโภคส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่อันดับสามคือ มีระยะเวลาที่จัดส่งเร็วกว่า น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่เราเห็น platform เมืองไทยชูเรื่องจัดส่งภายใน 3-4 ชั่วโมงมาเป็นจุดขายมากมายทีเดียว
โดยเฉลี่ยแล้ว ในปี 2022 นี้ผู้บริโภคคนไทย ซื้อของจาก platform ต่างๆ มากถึง 16.4 platform เลยทีเดียว เทียบกับแค่ 8.6 platform ในปี 2021
ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซื้อของจาก 15.3 platform ในปี 2022 เทียบกับ 7.9 platform ในปี 2021
================
เมื่ออ่านข้อมูลครบแล้ว น่าจะเห็นได้เลยว่า การมี Unique Selling Point (USP) นั้นมีความสำคัญจริงๆ เพราะลูกค้ามีตัวเลือกเพิ่มมากขึ้น สามารถเปลี่ยนแบรนด์ได้ตลอดเวลา ดังนั้นการมี USP ที่ดีนี่แหละ จะเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้บริโภคติดแบรนด์เราและไม่เปลี่ยนใจไปหาคู่แข่ง
ตอนนี้ทาง DMN จัดคลาสเพื่อสอนเรื่องนี้เต็มๆ มี workshop ที่จะช่วยให้ผู้เรียนนำไปปรับใช้จริงในการวางแผนการตลาดในปีหน้าอีกด้วย
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3EoMIbm
โฆษณา