ซึ่งมีข้อดีคือ อัตราการเกิดปฏิกิริยาที่สูงกว่าการใช้ก๊าซสังเคราะห์ วัตถุประสงค์ก็เพื่อใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Utilization: CCU) โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้นั้นสามารถดักจับได้จากในอากาศที่เรียกว่า Direct Air Capture (DAC) และสามารถดักจับคาร์บอน (Carbon Capture)ได้โดยตรงจากก๊าซมลพิษที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าชีวมวล (BECCUS) หรือฟอสซิล เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้โลกบรรลุเป้าหมาย Net Zero
อย่างไรก็ดี กระบวนการผลิตแต่ละประเภทต่างก็มีข้อดีข้อเสียและความท้าทายที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะกระบวนการผลิต Blue Methanol และ Green Methanol จะมีอุปสรรคและความท้าทายอย่างมาก ตัวอย่างเช่น กระบวนการผลิต Blue Methanol จำเป็นต้องมีการผลิต Blue Hydrogen จาก Gray Hydrogen ด้วยปฏิกิริยารีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำ (Steam Reforming) และจะต้องติดตั้งหน่วยดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สำหรับกระบวนการผลิต Green Methanol จำเป็นต้องมีการผลิต Green Hydrogen โดยอาศัยกระบวนการ Water Electrolysis ที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้า ดังนั้น การผลิต Blue Methanol และ Green Methanol จึงจำเป็นต้องได้รับการผลักดันให้กระบวนการมีความเป็นไปได้และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งสามารถจำแนกปัญหาและอุปสรรคออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ได้แก่