22 ต.ค. 2022 เวลา 17:43 • การศึกษา
ผมเองไม่ได้เลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ เพราะผมชอบรถยนต์ผมจึงเลือกเรียนสายเทคโนโลยีและผมเองไม่เคยผิดหวังกับการตัดสินใจเลือกเรียนในสิ่งที่ผมชอบ
และถึงแม้ทุกวันนี้ผมจะไม่ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาในการสร้างรายได้ในปัจจุบันแต่การที่ผมเลือกเรียนในสาขาวิชาที่ผมสนใจมันเป็น fulfilment ที่นำความสุขมาให้ผมโดยไม่ต้องใช้เงินแลกมาเลยแม้แต่บาทเดียว!
แต่หากมองย้อนไปที่ปรัชญาที่ “เศรษฐศาสตร์” สอนผม มันทำให้ผมมองว่าสาขาวิชานี้เป็นศาสตร์ที่ใช้ “ทำนาย” ความเป็นไปของความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจและจิตวิทยาของมนุษย์ในสังคมที่น่าสนใจเอามากๆ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องศึกษาลงลึกไปถึง “mathematical models” ที่ใช้คณิตศาสตร์ชั้นสูงมาอธิบายแต่อย่างใด
ในทางตรงกันข้าม หลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานสามารถนำมาใช้อธิบายและทำนายปรากฎการณ์ทางสังคมได้อย่างน่าตื่นเต้นเลยทีเดียว!
ปรัชญาทางเศรษฐศาสตร์ที่ผมชื่นชอบ ได้แก่
1) “กฎแห่งอุปสงค์-อุปทาน”
1.1) อุปสงค์คือ “ ความหิว” อุปทานคือ “สินค้าและบริการ” ที่ใช้บำบัด “ ความหิว”
1.2) “ตลาด” คือ สถานที่ที่ demands กับ supplies มาเจอกัน
1.3) ถ้า demands มากกว่า supplies ก็เป็นไปได้ที่ “ราคา” จะเพิ่มสูงขึ้น เช่น
> ตอนที่ไต้หวันเกิดแผ่นดินไหว ราคา RAMs ในบ้านเราเพิ่มสูงขึ้น เพราะโรงงานผลิต RAMs ที่ไต้หวันได้รับความเสียหาย
> ตอนปี 2011 นำ้ท่วมใหญ่ที่บ้านเรา โรงงานผลิต hard disk drives ที่อยุธยาได้รับความเสียหาย ราคา HDDs ก็ขยับเพิ่มขึ้น
> กลุ่ม OPEC ผลิตนำ้มันน้อยลง แต่ช่วงฤดูหนาวในยุโรปมาแล้ว ความต้องการพลังงานมากขึ้น จึงส่งผลต่อราคาน้ำมัน และต้นทุนการครองชีพทั่วโลก
1.4) ถ้า supplies มากกว่า demands
> ช่วง Covid-19 pandemic จำนวนโรงแรมยังเท่าเดิม แต่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาไทยก่อนสถานการณ์ Covid ประมาณปีละ 40 ล้านคน คิดเป็นรายได้ราว 2 ล้านล้านบาท เริ่มลดลง
พอนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงอย่ารวดเร็วและรุนแรง ทำให้เกิด oversupply ในตลาดโรงแรม มีผลให้เกิดการเลิกจ้างและปิดกิจการของโรงแรมทั้งชั่วคราวและถาวร
1.5) เมื่อแนวโน้มการใช้พลังสะอาดและเป็นมิตรต่อโลกมีมากขึ้น ก็ส่งผลให้เกิด “ความต้องการ” หรือ demands ของผลิตภัณฑ์ Solar rooftops มากขึ้น เนื่องด้วยแรงหนุนของ “ต้นทุนพลังงาน” ซึ่งก็คือค่าไฟฟ้าที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น
บทความหนึ่งจาก Krungthai Compass
มี highlights ใจความตอนหนึ่งว่า
“....ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2556 ราคาแผงโซล่าในไทยลดลงกว่า 66% ประกอบกับราคารับซื้อไฟของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นเป็น 2.2 บาท/หน่วย ทำให้ระยะเวลาคืนทุนจากการติดตั้งโซล่ารูฟท็อปเร็วขึ้นจาก 17-30.3 ปี ในปี 2556 เหลือ 6.1-13.9 ปี ในปี 2564 และอาจเหลือเพียง 5.3-12 ปี ภายในระยะเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า
เนื่องจากราคาแผงโซลาร์ยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ประเมินว่ามีครัวเรือนไทยถึง 2.3 ล้านครัวเรือนที่สามารถติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปและคุ้มทุนได้ค่อนข้างเร็ว หากครัวเรือนกลุ่มนี้เพียง 20% หันมาติดแผงโซลาร์ก็จะทำให้มูลค่าตลาดสูงถึง 1.37 แสนล้านบาท....”
นั่นคือ ถ้าหาก “สงครามในยุโรปตะวันออก” ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ ขยายระยะเวลาออกไปอีก จะทำให้ต้นทุนพลังงานสูงขึ้นไปเรื่อยๆ และอาจทำให้ราคาพลังงานไฟฟ้าในบ้านเรายังคงสูงต่อเนื่องจนทำให้ “solar cells” เป็นทางเลือกทั้งในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้!
ทำให้ในขณะนี้สินค้าในกลุ่ม Solar rooftops เป็นที่ต้องการ และด้วยเหตุผลนี้ส่งผลให้ “หน่วยลงทุน” ในภาคพลังงานมีราคาที่สูงขึ้น
1.6) ผลจาก Covid-19 Pandemic ทำให้ผู้คนอยู่บ้าน และทำงานแบบ work from home มากขึ้น จึงทำให้ ธุรกิจในกลุ่ม “สัตว์เลี้ยง” และ ธุรกิจในกลุ่ม “ตกแต่งและซ่อมบำรุงบ้าน” เติบโตขึ้น ส่วนในภาคอสังหาริมทรัพย์เอง ผู้คนก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในเมืองอีกต่อไป การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ก็อาจกระจายตัวไปย่านชานเมืองและต่างจังหวัดมากขึ้น
ในมุมมองของ supply chains เอง เมื่อธุรกิจสัตว์เลี้ยงเติบโต จึงส่งผลให้ ธุรกิจอาหารสัตว์เติบโตไปด้วย!
1.7) เมื่อเหลียวมองไปที่ประเทศญี่ปุ่น จะเห็นการลดลงของจำนวนทารกแรกเกิด และการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุที่มีอายุ 65ปีขึ้นไปซึ่งมีจำนวนมากกว่า 25% ของจำนวนประชากรทั้งหมดไปแล้ว
ซึ่งมีผลให้การกระจายตัวของประชากรตามวัยเป็นรูปพีระมิดกลับหัว (inverted pyramid)
ด้วยเหตุนี้เราสามารถมองเห็นแนวโน้มของปัญหาระดับชาติได้คือ เมื่อมีคนหนุ่มสาววัยทำงานน้อยลง รัฐก็จัดเก็บภาษีได้น้อยลง แต่มีค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
2) “price VS cost”
3) “Economy of Scale”
ทำไม Isuzu ถึงไม่ผลิตรถเก๋ง?
4) ทั้งหมดทั้งมวลที่ผมยกตัวอย่างมา คือความสนุกและความน่าสนใจของปรัชญาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ ที่แม้ผู้ที่มีพื้นฐานมาจากสายเทคโนโลยีอย่างผมยังหลงใหลใน “เสน่ห์” ของศาสตร์ด้านนี้!
แต่ผมก็ยอมรับว่า ผมไม่ได้ลงลึกลงไปถึงคณิตศาสตร์ซับช้อนทางเศรษฐศาสตร์ หากแต่ผมใช้เวลาในการฟังจาก idols ในวงการเศรษฐศาสตร์ที่ผมพอจะรู้จัก เป็นต้นว่า
4.1) อาจารย์ สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
4.2) อาจารย์ วีระ ธีรภัทร
4.3) อาจารย์ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
4.4) Alan Greenspan อดีตผู้ว่าฯ FED
ผมเองเคยได้ยินเรื่องเล่าที่ผมจำรายละเอียดทั้งหมดไม่ได้แน่ชัด แต่ประมาณได้ว่า มีบุคคลท่านหนึ่งที่ท่านมีความสามารถที่จะคาดการณ์ความเป็นไปทางเศรษฐกิจทั้ง macro และ micro ได้อย่างแม่นยำ จนว่ากันว่า หากวงการอุตสาหกรรมก่อสร้างของเมืองลุงแซมเปลี่ยน “คุณภาพของตะปู” ที่ใช้สร้างบ้านจากราคาถูกไปใช้ราคาแพงขึ้นหรือในทางตรงข้าม แล้วจะเกิดผลกระทบอะไรได้บ้างในระบบเศรษฐกิจโดยรวมของทั้งประเทศ!
บุคคลท่านนี้ก็คือท่าน AG นี่แหละครับ!
5) และด้วยความสนใจในทางเศรษฐศาสตร์ที่ผมก็ได้แต่เพียงฟังบ้างอ่านบ้างมาจากหลายๆแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ มันจึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผมลงทุนค้นคว้าข้อมูลจนเขียนเป็นข้อเขียนทางด้านเศรษฐกิจขึ้นมาในที่สุด!
โฆษณา