23 ต.ค. 2022 เวลา 12:15 • ประวัติศาสตร์
"เวลา" และ "ความตาย"
หรือจะเป็นเพียงมายาที่มนุษย์สร้างขึ้นมา?
1
ในปัจจุบัน เป็นยุคที่วิทยาศาสตร์และวิทยาการต่างๆ มีความก้าวหน้ามาก
หากแต่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บางครั้งก็อาจจะขัดต่อหลักปรัชญา
ตลอดช่วงเวลาของศตวรรษที่ 20 ได้มีความพยายามที่จะศึกษานิยามของ "เวลา" โดยอิงกับหลักฟิสิกส์ โดยบางคนก็กล่าวว่าเวลาคือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เนื่องจากมนุษย์มักจะวัดค่าสิ่งต่างๆ
2
ในบทความนี้ อันดับแรก ผมจะเขียนถึงเรื่องของ “ชีวภาพนิยม (Biocentrism)" ตามความเข้าใจของผม ซึ่งทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีของ "โรเบิร์ต แลนซา (Robert Lanza)" นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน
โรเบิร์ต แลนซา (Robert Lanza)
แลนซาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ชำนาญในวิทยาศาสตร์หลายแขนง และได้คิดค้นทฤษฎีหรือแนวคิดชีวภาพนิยม โดยตามทฤษฎีนี้ แลนซาเห็นว่าชีววิทยา คือศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในแขนงของวิทยาศาสตร์
ชีวภาพนิยม มีแนวคิดที่ปฏิเสธว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลางของสิ่งต่างๆ และเห็นว่าทุกสิ่งในโลกมีความเสมอภาคกัน
4
รายละเอียดหรือนิยามที่ชัดเจนของชีวภาพนิยมที่ได้รับการถ่ายทอดอย่างจริงๆ จังๆ นั้น ได้เกิดขึ้นในปีค.ศ.2011 (พ.ศ.2554) เมื่อแลนซาได้ตีพิมพ์หนังสือที่มีชื่อว่า "Biocentrism" โดยในหนังสือเล่มนี้ แลนซาได้กล่าวว่า เวลาและความตายคือมายาที่สมองมนุษย์สร้างขึ้น
2
หากให้อธิบายเพิ่มเติม ก็อาจยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าเราถูกปลูกฝังมาโดยตลอดว่าเมื่อเราเสียชีวิตไปแล้ว เราจะเห็นแสงที่ปลายอุโมงค์ สมองก็จะจดจำอย่างนั้น และมองเห็นแสงจริงๆ ซึ่งหากมองจากหลักจิตวิญญาณ ก็แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ยังไม่สามารถวัดค่าชีวิตได้เมื่อตระหนักว่าเอกภพนี้ไม่มีที่สิ้นสุด
แนวคิดเบื้องหลังนี้ ก็คือการที่เอกภพกำเนิดมาจากชีวิตของมนุษย์ ประมาณว่าชีวิตและเอกภพนั้นมีความเชื่อมโยงกัน และจุดกำเนิดเอกภพก็ดูเหมือนจะเป็นปรากฎการณ์ทางชีววิทยามากกว่าจะอธิบายได้ตามหลักฟิสิกส์
ชีวภาพนิยม คือทฤษฎีที่พยายามจะอธิบายเรื่องของ "จิต" โดยอิงตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเรื่องราวของจิตนั้น มนุษย์ก็ใช่ว่าจะเข้าใจทั้งหมดในทุกแง่มุม และเป็นสิ่งที่วัดไม่ได้
1
อย่างที่ผมบอกไว้ข้างต้น มนุษย์มักจะหาค่าที่จะใช้วัดสิ่งต่างๆ เสมอ แต่ปัญหาก็คือ
"หากจิตเป็นสิ่งที่วัดไม่ได้ล่ะ"
1
หากอ้างอิงตามหลักความเชื่อของแต่ละที่ แต่ละที่ก็มีความเชื่อเรื่องจิตต่างกันออกไป เราไม่สามารถมองเห็นจิตหรือ "วิญญาณ" ที่ออกจากร่างกาย แต่ถ้าหากจิตนั้นคือสิ่งที่อยู่ในใจของเราล่ะ?
2
นั่นล่ะคือชีวภาพนิยม
ส่วนถ้าพิจารณาทางด้านฟิสิกส์ ฟิสิกส์ก็ถือเป็นศาสตร์แขนงใหม่และก็ได้พยายามที่จะหาหน่วยวัดค่าชีวิตเช่นกัน
แต่หากย้อนกลับไปในสมัยโบราณ นักปรัชญาสมัยโบราณก็ได้มีทฤษฎีหรือแนวคิดที่เกี่ยวกับชีวิต ความตาย และเวลาอยู่ก่อนแล้ว
1
รายแรกก็คือ "อริสโตเติล (Aristotle)" ผู้ที่หลายคนยกให้เป็นบิดาแห่งปรัชญา
อริสโตเติล (Aristotle)
อริสโตเติลได้คิดค้นทฤษฎี "ชะตานิยม (Fatalism)" และอาจจะเรียกได้ว่าเป็นทฤษฎีแรกๆ ที่พยายามจะอธิบายเรื่องราวของเวลาและชีวิต โดยอริสโตเติลมีแนวคิดว่าสิ่งต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว
1
ชะตานิยม คือแนวคิดที่พยายามจะบอกว่าชะตาของมนุษย์ล้วนเป็นสิ่งที่กำหนดเอาไว้แล้ว เปรียบเทียบเป็นหนังสือที่ถูกเขียนเอาไว้ก่อนที่เราจะเกิด พอเราเกิดมา การกระทำและสิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือสิ่งที่ถูกเขียนเอาไว้แล้ว
2
แนวคิดนี้ของอริสโตเติลก็อาจจะมีความสอดคล้องกับชีวภาพนิยมในแง่ที่ว่า เอกภพได้ถูกสร้างและดำรงจากชีวิตมนุษย์ หากพิจารณาว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว ส่วนเอกภพนั้นเกิดและเติบโตจากการกระทำที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของมนุษย์
3
รายต่อไปคือ "เพลโต (Plato)"
เพลโต (Plato)
เพลโตได้ใช้เวลาหลายปีในการพยายามทำความเข้าใจชีวิต และในขณะเดียวกัน ก็พิจารณาเรื่องเวลาและความตายด้วย
ทฤษฎีที่โด่งดังของเพลโตก็คือ "เพลโตนิยม (Platonism)" ซึ่งจะมองถึงชีวิตในแง่นามธรรม ซึ่งไม่อิงกับเวลา ยกตัวอย่างเช่น สิ่งของนั้นไม่มีความคิดหรือความรู้สึก ดังนั้นสิ่งของจะไม่สามารถกระทำการใดที่จะส่งผลกระทบต่ออนาคตได้ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
1
หากเวลานั้นอิงกับกฎแห่งฟิสิกส์และไม่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ ถ้าเช่นนั้นก็อาจจะเรียกว่าเวลานั้นเป็นนามธรรมก็ว่าได้
1
อริสโตเติลนั้นได้กล่าวว่าเวลานั้นไม่อาจจะมีจุดเริ่มต้น ไม่อย่างนั้นก็เท่ากับว่าเวลาก็จะมีจุดสิ้นสุด แต่หากมองในมุมของเพลโต เวลาควรจะเป็นสิ่งที่ไม่มีกำหนดแน่นอนตายตัว ไม่มีจุดสิ้นสุด หากแต่แนวคิดนี้ก็อาจจะแย้งกับทฤษฎีชีวภาพนิยม
1
หากลองคิดว่าโครงสร้างของเวลานั้นเป็นเส้นตรง หากว่าเวลามีจุดเริ่มต้น แสดงว่าก็ต้องมีสิ่งที่มาก่อนเวลา แต่หากเวลาคือสิ่งที่เป็นนิยามของชีวิต นั่นเท่ากับว่าทฤษฎีชีวภาพนิยมนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากนั่นจะหมายถึงเอกภพคือสิ่งที่สร้างชีวิต ไม่ใช่ชีวิตที่สร้างเอกภพ
จากแนวคิดนี้ เท่ากับว่าเวลาคือสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีแต่เดินไปข้างหน้า
นี่ก็เป็นแนวคิดของนักปรัชญาโบราณ หากแต่ก็ต้องขึ้นกับแต่ละคนว่าจะมองว่า "เวลา" "ชีวิต" และ "ความตาย" คืออะไร ก็คงต้องขึ้นอยู่กับแนวคิดและมุมมองของแต่ละคน
1
โฆษณา