24 ต.ค. 2022 เวลา 03:14 • ข่าวรอบโลก
จีน ผงาด! ระบบต่อต้านอากาศโผล่ซาอุฯ แทนของสหรัฐ ส่วนไทยก็มีประจำการ
15
ซาอุดิอาระเบีย คือ ลูกค้าอาวุธราคาแพงรายใหญ่ที่สุดในโลก และสั่งระบบระบบป้องกันภัยทางอากาศ Patiot และ THADD ของสหรัฐ มาใช้
แต่กลับไม่สามารถใช้ยิงสกัดโดรนกามิกาเซ่ ที่ผลิตจากอิหร่าน ปล่อยมาโดยกองทัพฮูตี เยเมน หรือฉายา "นักรบรองเท้าแตะ"
10
ส่งผลให้โรงกลั่นน้ำมันซาอุฯ เคยถูกโจมตีพังไปถึง 50% ของประเทศ ซ้ำร้ายนครดูไบ สหรัฐอาหรับอิมิเรต (UAE) ที่ใช้ระบบต่อต้านอากาศยานจากสหรัฐ ก็โดนโจมตีเสียหายด้วยขีปนาวุธ ที่ผลิตจากอิหร่าน ยิงมาโดยกองทัพฮูตี เยเมน เช่นกัน
นอกจากนี้การรบของทหารราบในแนวชายแดน กองซาอุฯ ก็โดนกองทัพฮูตี เยเมน รุกคืบยึดดินแดนเข้ามาเรื่อยๆ ต้านทานไม่อยู่ทั้งที่อาวุธสหรัฐแพงกว่ามาก
12
ทำให้ซาอุฯ และ UAE จึงเห็นว่าต้องใช้วิธีทางการทูตฟื้นสัมพันธ์กับอิหร่าน และเดินสายไปเจรจาปากีสถาน โดยมีจีน - รัสเซีย เป็นกาวใจ
ต่อมาทำข้อตกลงหยุดยิงกับกองทัพฮูตี เยเมน ทั้งซาอุฯ และ UAE ใช้พระคุณนำพระเดช มอบเงินอีก 3,000 ล้านดอลลาร์ (114,000 ล้สนบาท) ผ่านสหประชาชาติ (UN) เพื่อช่วยเหลือด้านมนุษย์ธรรม และความอดอยากหิวโหยชาวเยเมน
10
กองทัพซาอุฯ และ UAE ก็ไม่เคยส่งเครื่องบินรบไปทิ้งระเบิดใส่เมืองหลวงเยเมนอีกเลย และเยเมนก็ไม่ยิงขีปนาวุธ และปล่อยโดรนกามิกาเซ่ มาถล่มทั้ง 2 ชาติ อีกเช่นกัน ต่างฝ่ายต่างอยู่อย่างสงบมาหลายเดือนแล้ว
ซาอุฯ พบข้อเท็จจริงว่าอาวุธราคาแพงจากสหรัฐ ที่ซื้อมา พร้อมทหารอเมริกันประจำการ 3,000 นาย ไม่คุ้มค่าสมราคาคุย
แถมช่วงหลังประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐ ประกาศเป็นปฏิปักษ์กับมกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน นายกรัฐซาอุฯ ฝ่ายกฎหมายจะนำพระองค์ไปขึ้นศาลที่สหรัฐ ทำให้ความสัมพันธ์ 2 ชาติสะบั้นลง
8
ล่าสุดพบระบบป้องกันภัยทางอากาศ Silent Hunter ของจีนปรากฏตัวในซาอุดิอาระเบีย เพื่อป้องกัน อากาศยานลาดตระเวนและโดรนคามิกาเซ่ ของกองทัพฮูตี เยเมน
หลายเดือนก่อนช่วงเจรจาหยุดยิง ระบบต่อต้านอากาศยาน Silen Hunter ของจีน ได้สอยร่วงโดรนกองทัพฮูตี เยเมน
8
แสดงประจักษ์ถึงระบบเรดาห์ และจรวดสกัดของกันภัยทางอากาศ Silent Hunter มีประสิทธิภาพเหนือกว่าระบบอาวุธของสหรัฐ และแน่นอนว่าราคายังต่ำกว่ามากมาย
ทำให้ช่วงหลังมาระบบป้องกันภัยทางอากาศ มีความสำคัญต่อการปกป้องประเทศมากขึ้นกว่าอาวุธที่ใช้ยิงโจมตีชาติอื่น หรือเครื่องบินจู่โจมราคาแพง
7
ในส่วนของไทยนั้น กองทัพเรือ ได้นำระบบต่อต้านอากาศยานป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลางรุ่น FK-3 (HQ-22เวอร์ชั่นส่งออก) จากจีน ประจำการแล้วเช่นกัน
จัดเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดที่มีประจำการในกองทัพไทยขณะนี้
15
ระบบป้องกันภัยทางอากาศนี้ผลิตโดย China Aerospace Science & Industry Corporation Limited(CASIC) รัฐวิสาหกิจจีน ผู้ออกแบบและผลิตระบบจรวดและอาวุธปล่อยนำวิถีชั้นนำของโลก
ระบบ FK-3 นี้สามารถทำงานได้สภาพอากาศในระดับพื้นที่ , การป้องกันสถานที่สำคัญในสนามรบภายใต้สภาพแวดล้อมการก่อกวนทางสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่ซับซ้อน
5
สามารถโจมตีเป้าหมายทางอากาศได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่เครื่องบินรบจู่โจม ไปถึงอากาศยานโดรน , ขีปนาวุธร่อนนำวิถี , ขีปนาวุธทางยุทธวิธี , ขีปนาวุธโจมตีจากเครื่องบิน เครื่องบินปีกหมุน , เฮลิคอปเตอร์ ฯลฯ
มีพิสัยยิงสกัดต่อต้านอากาศยานได้ 5 - 100 กม. และเพดานยิงสูง 0.05 - 27 กม.
8
โดย FK-3 หนึ่งระบบจะประกอบด้วยรถบังคับการ , รถฐาน Radar และรถฐานแท่นยิงแบบยกตั้งอัตตาจรอีก 3 คัน แต่ละแท่นยิงมีชุดบรรจุอาวุธปล่อยนำวิถี 4 ลูก รวม 12 ลูก
เพื่อโจมตีล็อคเป้าหมาย 6 เป้าอย่างต่อเนื่อง , กองทัพเซอร์เบีย ยุโรป ก็เพิ่งประจำการระบบ FK-3 นี้เช่นกัน
6
กองทัพเรือไทย ยังประจำการอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ Igla-S ความจุสองนัดในแท่นยิงแบบ Dzhigit ของรัสเซีย บนรถยนต์บรรทุกเสริมเกราะตระกูล Thairung TR Transformer 4x4 ของไทยเอง
และใช้เป็นรถฐานสำหรับแท่นยิงระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้แบบอื่น เช่น QW-2 ของจีน ที่ประจำการกองทัพอากาศไทยอีกด้วย
15
ดูเหมือนกองทัพทั่วโลกหลายชาติ ทะยอยปรับเปลี่ยนแนวคิดการป้องกันประเทศเป็นแนวระบบต่อต้านอากาศ และโดรนที่ผลิตจากเอเซียมากขึ้น
นั่นหมายความว่า สหรัฐ จะสูญอำนาจในตลาดเงินดอลลาร์ , เสียอำนาจครองตลาดน้ำมันให้กับกลุ่ม OpecPlus และสูญเสียสัดส่วนตลาดอาวุธอีกด้วย
15
สหรัฐ จะไม่ได้ครองพลังงาน , ไม่ได้ครองอาหาร , ไม่ได้ครองตลาดอาวุธ , แสนยานุภาพทางทหารก็ถูกเอเซียเบ่งรัศมีผงาดทดแทน ย่อมทำให้ระเบียบหรือกติกาโลกเก่าขั้วเดียว "เร่งเวลาเสื่อมถอยลง" ไปเรื่อยๆ
อำนาจโลกถึงจุดเปลี่ยนมือครั้งสำคัญไปแล้ว..คว่ำบาตรข้างเดียวต่อไปไม่มีใครสนใจเสียงนกเสียงกา..ส่วนไทยรักทุกคน ชนะแน่นอน 🚀🤭😂
21
ที่มา : aagth1 , CASIC , Ismaeelk21
#WorldUpdate
ช่องทางติดตามบทวิเคราะห์ข่าวเชื่อมโยงกัน
โฆษณา