25 ต.ค. 2022 เวลา 06:48 • ข่าวรอบโลก
โพลเศรษฐกรรอยเตอร์สชี้ เศราฐกิขญี่ปุ่นอาจไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย แต่เผชิญความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นของสหรัฐฯ
25 ต.ค. - ความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปีหน้าคือความตึงเครียดทางการเงินที่สหรัฐอเมิรกากำลังเผชิญอย่างต่อเนื่อง ความตึงตัวทางการเงินเป็นเวลานาน ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ที่จัดทำโดยรอยเตอร์สเปิดเผยว่า เศรษฐกร 17 จาก 29 คนกล่าวว่าการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะส่งผลกระทบต่อญี่ปุ่นมากกว่าการถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศในยุโรป
1
ฮารุมิ ทางุจิ เศรษฐกรจาก S&P Global Market Intelligence กล่าวว่าวิกฤตอัตราดอกเบี้ยที่ยืดเยื้อและความเสี่ยงที่จะเกิดเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา จะส่งผลต่อการส่งออกของญี่ปุ่นเศรษฐกิจโลกเป็นส่วนมาก เกิดความกังวลต่อการใช้จ่ายในองค์กร(ในญี่ปุ่น) เนื่องจากบริษัทต่างๆ พบว่าพวกเขามีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการอ่อนค่าของเงินเยน ซึ่งผู้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นเชื่อว่ามาจากความแตกต่างกันของอัตราดอกเบี้ยระหว่าง ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)
ในแบบสำรวจที่จัดโดยสำนักข่าวรอยเตอร์สเมื่อกลางเเดือนตุลาคม ได้ถามเศรษฐกรจำนวน 29 คนและเปิดโอกาสให้พวกเขาเลือกคำตอบได้สูงสุด 2 ตัวเลือก โดยมีคำถามหลักที่ว่า
"อะไรเป็นความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น" ผลปรากฎว่า
- 17 คน เลือกการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed อย่างต่อเนื่อง
- 15 คน เลือกการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
- 11 คน เลือกเคลื่อนไหวเหมือนกับจีน ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของญี่ปุ่น
- 7 คน เลือกผลกระทบเชิงลบจากการเงินเยนอ่อนค่าและราคาสินค้าอุปโภค/บริโภคที่สูงขึ้น
- 3 คน เลือกความไม่แน่นอนทางการเมือง เช่น คาบสมุทรเกาหลี/ช่องแคบไต้หวัน
- 1 คน เลือกผลกระทบจากไวรัสโคดรน่าสายพันธุ์ใหม่
ขณะที่เศรษฐกรส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าความเสี่ยงดังกล่าวนี้จะไม่ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอย
ชิยูกิ ทากามัตสึ หัวหน้าเศรษฐกรจาก Fukoku Mutual Life Insurance กล่าวว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นดูแข็งแรงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ก็จริง แต่มันเป็นเพียงการฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เท่านั้น เงินเยนของญี่ปุ่นอาจอ่อนลงได้ถึงระดับ 170 JPY/USD
การสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคจะสูงเกินที่คาดหมายไว้ที่ 2% ของ BOJ ช่วงเดือน เมษายน - มิถุนายน ปี 2023 และจะลดลงกลับมาอยู่ที่ระดับ 1% หรือต่ำกว่าในช่วงปลายปีหน้า แต่ปัจจุบันดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นไปถึง 3% ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2014 เป็นผลมาจากต้นทุนของวัตถุดิบและพลังงานที่สูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการอ่อนค่าของเงินเยน
3 ใน 4 ของเศรษฐกรคาดว่าการผ่อนคลายทางการเงินครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ อย่างน้อยไปจนถึงช่วงครึ่งหลังของปี 2023 ขณะที่ความยากลำบากในการคาดเดาความเปลี่ยนแปลงของ Fed ยังทำให้แนวนโยบายของ BOJ ยังมืดมนอยู่ โดยมีเศรษฐกรจำนวน 25 จาก 29 คนกล่าวว่าความเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งต่อไปของ BOJ คือ "ผ่อนคลายลง"
โฆษณา