25 ต.ค. 2022 เวลา 13:29 • สุขภาพ
😪โรคหวัด​ / Common cold
เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของทางเดินหายใจส่วนบน​ พบบ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสตระกูล rhinovirus มักมีอาการนำคือ เจ็บคอ น้ำมูกไหล มีไข้ อ่อนเพลีย ตามด้วยอาการจามและไอ ในผู้ป่วยบางรายอาจพบภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดอาการที่รุนแรง​ และมีระยะเวลาเจ็บป่วยที่ยาวนานขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีประวัติโรคทางเดินหายใจ และผู้ป่วยเด็ก
.
.
🤧แนวทางการรักษาที่ใช้เป็นหลักในโรคหวัด คือ การบรรเทาอาการรบกวนที่เกิดขึ้น โดยการดูแลตัวเอง เช่น เช็ดตัวลดไข้ การใช้ยาทานวดระเหย การดื่มน้ำ และการพักผ่อนให้เพียงพอ ร่วมกับการใช้ยาบรรเทาอาการ เช่น
.
.
.
📌การใช้ยาลดไข้แก้ปวด
📌ยาแก้คัดจมูกชนิดเม็ดเดี่ยวๆ​ สูโดเอฟีดรีน​ ไม่มีจำหน่ายในร้านยาประเทศไทย​ คงเหลือแต่ยาเฟนิลเอฟรีนผสมกับยาแอนตี้ฮิสตามีนชนิดง่วง​ เช่น​ คลอเฟนิรามีน​ บรอมเฟนิรามีน​ ซึ่งห้ามใช้ในผู้ที่เป็นต้อหิน​ ต่อมลูกหมากโต​ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง​ โรคหัวใจและหลอดเลือด​ โรคเบาหวาน​ หรือ​ ต่อมธัยรอยด์​ทำงานมากกว่าปกติ​
📌ยาพ่นแก้คัดจมูก​ อาทิเช่น​
Naphazoline​(Nasol® Nose frossy®)
​Oxymetazoline (Iliadin® Phindroz® Feenoze®)​ Xylometazoline (Otrivin®)​
ใช้ในระยะสั้นๆ​ 3-5 วัน​ ไม่ควรใช้เป็นเวลานาน​ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง​ (rhinitis medicamentosa, rebound congestion)
📌ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ 2 หรือกลุ่มใหม่ที่ไม่ทําให้ง่วงนอน​ เช่น​ ลอร์ร่า​ตาดีน​ มีประสิทธิภาพน้อยในการรักษาภาวะไข้หวัด เนื่องจากการเกิดไข้หวัดไม่เกี่ยวข้องกับสารฮีสตามีน​ นิยมใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ที่มีโรคภูมิแพ้ร่วมด้วย​
📌การล้างจมูกด้วยนํ้าเกลืออาจช่วยได้บ้าง.แต่ไม่มากนัก
👾ไม่จําเป็นต้องรีบใช้ยาแก้ไอในระยะแรกของการเกิดไข้หวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยังไม่พบอาการไอ เนื่องจากอาการไอสามารถพบได้ในระยะท้าย ๆ ของโรค และหากสามารถรักษาภาวะไข้หวัดได้อย่างเหมาะสมตั้งแต่ระยะแรกของโรคก็อาจไม่พบอาการไอเกิดขึ้นเลย
👾หากพบอาการไอในระยะท้าย ๆ ของโรค (วันที่ 5-6 ของโรค) อาจพิจารณาใช้ยาสูตรผสมของยากดอาการไอกับยาอื่น โดยเลือกชนิดให้เหมาะสมกับอาการแสดงร่วมเด่น เช่น chlorpheniramine, guaifenesin เป็น​ต้น
.
🚫ไม่มีข้อบ่งใช้ยาปฏิชีวนะในภาวะไข้หวัด เนื่องจากสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส ดังนั้น การใช้ยาปฏิชีวนะจึงไม่ทําให้หายจากโรคและอาจเสี่ยงต่อการแพ้ยา การเกิดอาการข้างเคียงจากยา และส่งเสริมการเกิดเชื้อดื้อยาได้
😨การเกิดน้ำมูกเปลี่ยนสี จากใสๆเป็นเขียวข้นหรือสีเหลือง ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเสมอไป ในบางรายที่มีอาการหลอดลมอักเสบร่วมด้วย ก็อาจมีอาการเสมหะเหนียวข้นเขียวได้ หรือแม้กระทั่งเชื้อไวรัสก็สามารถทำให้เกิดน้ำมูกเขียวได้ ดังนั้น การมีน้ำมูกเขียวไม่ได้แปลว่าจะต้องกินยาปฏิชีวนะทุกครั้ง
☺️ปัจจุบันมีนวัตกรรมการรักษาโรคหวัดในระยะเริ่มต้น​ ในรูปแบบผลิตภัณฑ์พ่นจมูก.ที่ประกอบด้วยสารโพลิเมอร์ เช่น hydroxypropyl methylcellulose (HPMC) ที่ช่วยลดการเกาะยึดของอนุภาคไวรัสกับเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ ซึ่งช่วยควบคุมการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสในโพรงจมูกและทางเดินหายใจส่วนต้นได้ ทำให้ความรุนแรงของโรคหวัดลดลงและมีระยะเวลาเจ็บป่วยสั้นลงซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งโดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
👨‍⚕️การรักษาร่างกายให้แข็งแรง และอบอุ่น นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และอยู่ห่างไกลคนป่วย หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีคนมากๆ นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จะสามารถป้องกันโรคหวัดจากไข้หวัดใหญ่ได้
😊 มีปัญหา​เรื่อง​การ​ใช้​ยา​ เชิญ​ปรึกษา​เภสัชกร​
.
.
💢
ความรู้พื้นฐานสําหรับการจัดการภาวะไข้หวัดที่เภสัชกรควรทราบ - Wongkarnpat
Cold, flu and sinusitis: Managing symptoms and supporting self-care A handbook for pharmacists
POSTED 2022.10.25
บทความ​อื่น
หวัด​ เด็ก
💉FLU VACCINE
โฆษณา