25 ต.ค. 2022 เวลา 18:25 • ข่าวรอบโลก
ตุรกี ส้มหล่น! รับเป็นยี่ปั้วก๊าซให้อิหร่าน - รัสเซีย ขายส่งยุโรป แทนเยอรมนี
11
ปี 1520 จักรวรรดิออตโตมันได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด ถือเป็นยุคทอง อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล จรดดินแดนออสเตรีย , คาบสมุทรอาเรเบีย , คาบสมุทรไครเมีย จรดซูดาน แอฟริกาเหนือ
ต่อมายุโรปประสบความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่จักรวรรดิออตโตมันกลับอ่อนแอลงตามลำดับ
8
ปี 1854 จักรวรรดิออตโตมัน (ศูนย์กลางอำนาจในเมืองอิสตันบูลตรุกี ในปัจจุบัน) ตัดสินใจผิดพลาดเข้าร่วมกับ อังกฤษ และฝรั่งเศส ในสงครามไครเมีย เพื่อต่อต้านรัสเซีย ทำให้จักรวรรดิฯ อ่อนแอเสื่อมอำนาจลงจนกลายเป็นคนป่วยแห่งยุโรป
ปี 1914 สงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดิออตโตมัน ตัดสินใจผิดพลาดอีกครั้ง เข้าร่วมกับเยอรมนี ที่ระดมทหารมากกว่า 70 ล้านนาย มีทหารเสียชีวิตราว 9 ล้านราย และพลเรือนเสียชีวิต 13 ล้านราย เมื่อเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามทำให้จักรวรรดิออตโตมัน ล่มสลายแตกออกเป็นประเทศต่างๆ จำนวนมาก
10
ปัจจุบันอิหร่าน อดีตดินแดนส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน ส่งก๊าซให้ตุรกีผ่านท่อส่งก๊าซ Tengiz-Ankara ราว 1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร/ปี คิดเป็นราว 16% ของปริมาณนำเข้าของตุรกี
ล่าสุดอิหร่าน ได้บรรลุข้อตกลงในการส่งออกก๊าซของบริษัท ก๊าซแห่งชาติของอิหร่านเพิ่มไปยังตุรกี ข้อตกลงใหม่นี้จะมีการสร้างท่อส่งก๊าซใหม่ เพิ่มเข้าสู่พรมแดนตุรกีในเวลาราว 6 เดือน เพื่อเพิ่มความสามารถในการขนส่งก๊าซ
7
ตั้งแต่เดือน ก.พ.2022 ถึง ส.ค.ที่ผ่านมาการส่งออกสินค้าของตุรกีไปยังรัสเซียเพิ่มขึ้น 87% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
เนื่องมาจากบริษัทในยุโรปใช้ตุรกีเป็นคลังสินค้าและตัวกลางสะพานเชื่อมส่งสินค้าไปขายในรัสเซีย โดยตุรกี เพิ่มการนำเข้าน้ำมันรัสเซียเพิ่มขึ้นอย่างมากและได้เพิ่มการนำเข้าทองคำเป็น 2 เท่า
8
ตุรกี ยังบรรลุข้อตกลงกับรัสเซีย ในการมอบให้ตุรกีเป็นยี่ปั้ว "ศูนย์กลางก๊าซ" เข้าสู่ยุโรปแทนเยอรมนี โดยแลกเปลี่ยนกับบริษัท Baykar ผลิตอากาศยานโดรนของบุตรชายผู้นำตุรกี
ยกเลิกการสร้างโรงงานการผลิตโดรนในยูเครน เพราะผลประโยชน์มหาศาลจากข้อตกลงก๊าซกับรัสเซีย มากกว่าการสร้างโรงงานผลิตโดรนให้ยูเครน
9
เมื่อก่อนรัสเซียนำเข้ากังหันก๊าซจากบริษัทซีเมนส์ เยอรมนี สร้างรายได้มหาศาลต่อปีให้เยอรมนี เมื่อรวมสินค้าอื่นขายให้รัสเซียแล้วเยอรมนีแทบใช้ก๊าซฟรี
แต่เมื่อคว่ำบาตรรัสเซีย ล่าสุดก็ไม่สนหันมาลงนามสัญญาสั่งนำเข้ากังหันก๊าซจากบริษัทวิศวกรรมและพัฒนาก๊าซแห่งอิหร่าน (IGEDC) ผู้ผลิตกังหันก๊าซรายใหญ่ของโลก น้องๆ เยอรมนี
7
โดยรัสเซีย อุดหนุนเพื่อนสั่งกังหันก๊าซรวดเดียว 40 เครื่อง เพื่อขยายอุตสาหกรรมก๊าซของรัสเซีย ทำให้อิหร่านรวยอื้อปานพลิกฝ่ามือทันที
ทั้งรัสเซียและอิหร่านมีแหล่งก๊าซสำรองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยบริษัทก๊าซรัสเซีย ยังร่วมลงทุนกับอิหร่านในการขุดเจาะก๊าซเพิ่ม
8
ทำให้ 2 ประเทศสร้างความร่วมมือกันเข็มแข็งมากขึ้นในหลายด้าน ทั้งด้านพลังงาน อาหาร อาวุธ ยานยนต์ และระบบการชำระเงินสกุลรูเบิล
อิหร่าน ยังรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับซาอุฯ และมีความคืบหน้าอย่างมากโดยใช้กาวใจยี่ห้อรัสเซีย - จีน , ส่วนตุรกี ก็หันกลับมาคืนความสัมพันธ์กับซาอุฯ มาได้สักระยะแล้วเช่นกัน
13
อิรัก อดีตส่วนหนึ่งอาณาจักรออตโตมัน ยังบรรลุข้อตกลงกับ บริษัท Gazprom และ Lukoil ของรัสเซีย พัฒนาแหล่งน้ำมัน เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตที่แหล่ง Badra อีกด้วย
การได้แหล่งทุนและเทคโนโลยีจากรัสเซียมา จะทำให้อิรักสามารถสร้างรายได้จากน้ำมัน นำมาพัฒนาชาติ จากความเสียหายที่ถูกสหรัฐ ทำลายไปช่วงสงครามยาวนาน
8
ตุรกี กำลังจะถูกปั้นให้เป็นเศรษฐีใหม่ดาวรุ่งแทนเยอรมนี ให้เป็นยี่ปั้ว "ศูนย์กลางคลังสินค้าโภคภัณฑ์" กินกำไรส่วนต่างก๊าซ น้ำมัน ธัญพืช สินแร่ จากรัสเซีย อิหร่าน อิรัก
ส่วนยุโรป ก็สวมรอยตีเนียนใช้ตุรกี เป็นฉากหน้าคลังสินค้าส่งไปขายยังรัสเซีย และอิหร่าน
เพราะยุโรปเขินเกินไปที่ค้าขายโดยตรง ทำให้ตุรกี อดีตจักรวรรดิออตโตมัน จะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในฐานะพ่อค้าคนกลางภูมิรัฐศาสตร์ที่ลงตัว เชื่อมทุกดินแดน
7
แต่ภาพรวมระยะยาวแล้วยุโรป จะไม่ได้รับพลังงานจากรัสเซียเท่าเดิมเหมือนก่อน เพราะรัสเซีย ได้เปลี่ยนเส้นทางพลังงานหลักมายังเอเซียแล้ว ดังนั้นยุโรป จะต้องใช้พลังงานแพงต่อไป ภาคอุตสาหกรรม จะแข่งขันราคาต้นทุนกับเอเซียไม่ได้
ส่วนสหรัฐ ยูเครน ถูกกีดกันออกไป ไม่อยู่ในสมการการค้าจัดระเบียบโลกใหม่ ไม่มีใครสนิทด้วย..ตุรกี รักทุกฝ่าย เป็นมิตรทุกคน ชนะแน่นอน 🤭😂
12
ที่มา : SANA , spiegel , Tasnim news , Aljazeera
#WorldUpdate
2
ช่องทางติดตามบทวิเคราะห์ข่าวเชื่อมโยงกัน
1
โฆษณา