ในตอนที่แล้ว Tech By True Digital พาไปทำความรู้จักทุกเรื่องของ Web 3.0 ตั้งแต่วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตในแต่ละยุคที่ผ่านมา ไปจนถึงความหวัง ความฝันและความจริงของแนวคิด Web 3.0 ที่ถูกขนานนามว่าจะเป็นยุคใหม่แห่งโลกของการเชื่อมต่อ ในตอนที่ 2 นี้ เราจะพาไปดูความจริงอีกด้านของ Web 3.0 ถึงความเป็นไปได้ในการใช้งานได้จริงและสิ่งที่ยังต้องตั้งคำถามให้กับวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตยุคใหม่นี้
★
ความจริงอีกด้านหนึ่ง
ท่ามกลางความหวังจากแนวคิด Web 3.0 ที่จะกลายเป็นโลกยุคใหม่แห่งการเชื่อมต่อให้ผู้ใช้งานได้เป็นเจ้าของข้อมูลอย่างแท้จริง ได้รับการประมวลผลให้เป็นไปตามการใช้งานอย่างแม่นยำ และยังสามารถสร้างสรรค์คอนเทนต์โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง ไม่ต้องห่วงการถูกแบนด้วยระบบอัลกอริธึมที่ไม่ ‘เข้าใจ’ การใช้งานนั้น ยังคงมีหลายคำถามและความท้าทายเกี่ยวกับการพัฒนาตัวเทคโนโลยีและการใช้งานที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้น
เพราะแนวคิดของ Web 3.0 โดยเฉพาะประเด็นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบไร้ตัวกลางนั้น ทำให้เกิดคำถามหลายประการตามมา เช่น ผู้ใช้งานจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร แบบไหนจึงจะเรียกว่าเป็นการเข้าถึงเว็บไซต์แบบไร้ตัวกลางที่แท้จริง ในเมื่อปัจจุบันเรายังพึ่งพาผู้ให้บริการแพลตฟอร์มในการเข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ตอยู่
โดยในด้านเทคนิค ปัจจุบัน Web 3.0 ยังมีข้อจำกัดเรื่องประสิทธิภาพและความสามารถในการสเกลระบบ (Scalability) ที่ทำให้การดำเนินธุรกรรมบน Web 3.0 ทำได้ช้ากว่าบนเว็บแบบรวมศูนย์หรือ Centralized เพราะการประมวลผลในการทำธุรกรรมใดนั้นต้องรอการดำเนินการของผู้มีสิทธิหรือ Validator หรือ โหนด (Node) จากเครือข่ายทั่วทั้งโลกด้วย
แนวคิดอินเทอร์เน็ตแบบไร้ตัวกลางของ Web 3.0 ที่ไม่ต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มกลาง ที่มา: https://www.npr.org/
การทำงานของ Web 3.0 จึงยังเป็นที่จับตามองว่าจะใช้การทำงานระบบใดและจะก้าวข้ามแง่มุมของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่
การใช้พลังงานในระดับสูงของระบบ Proof of Work เมื่อเปรียบเทียบกับระบบ Proof of Stake ของ Ethereum ที่จะช่วยลดการใช้พลังงานลงถึง 99.95% ที่มา:https://www.facebook.com/binance/
แม้ว่า Web 3.0 จะยังดูเหมือนเป็นความจริงที่ยังมาไม่ถึง แต่ก็มีหลายองค์กรที่พัฒนานวัตกรรมและแอปพลิเคชันบนพื้นฐานแนวคิด Web 3.0 อาทิ