27 ต.ค. 2022 เวลา 02:24 • ความคิดเห็น
ถูกต้องเลยค่ะ...สมัยพุทธกาล หัวใจของกฐินคือ สังฆกรรมที่มีการทอดกฐิน หรือที่เรียกว่ากรานกฐิน คำว่าสังฆกรรมนั้นหมายถึงเป็นกิจของสงฆ์ "ย้ำอีกครั้งว่ากิจของสงฆ์" ที่พึงกระทำเพื่อความสามัคคี คือเป็นการพร้อมใจกันของสงฆ์ที่จะอนุเคราะห์ผ้าจีวรให้กับพระสงฆ์ที่มีจีวรขาดชำรุด คือไม่ให้แย่งผ้าจีวรกันนั่นเอง ก็เท่านั้นเอง
ต่อมาก็ฆราวาสญาติโยมนี่เองที่ไปยุ่งเหยิงวุ่นวายกับ"กิจของสงฆ์" และคุณก็รู้ว่าพระพุทธองค์ท่านทรงมีพระเมตตาอย่างไม่มีประมาณ ท่านไม่เคยห้ามปราม ไม่เคยพูดว่า "ฆราวาสห้ามยุ่งกิจของสงฆ์" บรรดาฆาราวาสก็อยากได้ "บุญ" โดยไม่ลึกซึ้ง ว่าบุญคืออะไร ก็ขอร่วมถวายผ้าเลยละกัน ก็เรียกกันว่า "สังฆทาน" เมื่อได้ผ้า พระสงฆ์ท่านก็ไปทำพิธีกรานกฐินกันเอาเอง ว่าจะให้ผ้าจีวรนี่แก่พระสงฆ์รูปใด
ต่อมา เราเข้าใจว่าญาติโยมที่ยากจนคงไม่มีเงินพอจะซื้อจีวรไปถวาย แต่ก็อยากทำบุญ นั่นแล คงเป็นที่มาให้เกิดคำว่า"ร่วมบุญ" "ร่วมถวายปัจจัย" และเงินก็เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนไง
พอมีเรื่องเงิน แน่นอนว่ามันย่อมมีกลุ่มบุคคลที่เห็นช่องทาง ใช้จิตวิทยาล่อหลอก ให้ฆาราวาสหลงทาง คำเจ้าปัญหาคือคำว่า "ทำบุญเยอะๆนะ" ยิ่งฆาราวาสไม่สนใจศึกษาให้ลึกซึ้ง ไม่แจ่มแจ้ง ก็หลงกันยาวค่ะ
สังเกตดูว่าพิธีหลวง ก็มีแต่พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินตามพระราชประเพณีดั้งเดิม แต่พิธีราษฎร์เพี้ยนไปมากแล้วค่ะ ให้ตายเถอะ เราจะตกนรกไหมนี่?
โฆษณา