28 ต.ค. 2022 เวลา 15:15 • ดนตรี เพลง
[รีวิวอัลบั้ม] Being Funny In a Foreign Language - The 1975
สนุกกับภาษาเดิม
[รีวิวอัลบั้ม] Being Funny In a Foreign Language - The 1975
-ยอมใจในการหาทางลงได้แนบเนียนมากๆ หลังจากสองชุดที่ผ่านมาทั้ง A Brief Inquiry Into Online Relationships และ Notes On a Conditional Form ทำให้ผมเกิดความรู้สึกไม่น่าเชื่อ ไกลเกินฝันของวงอินดี้อัลเทอร์เนทีฟแห่งเมืองแมนเชสเตอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยความทะเยอทะยานผลักดันให้พวกเขาเป็นวงแห่งยุคสมัยดิจิตอลได้โดยปริยาย อีกใจนึงก็อดคิดไม่ได้ว่าจะเกิดปัญหาของการติดหล่มทางไอเดียจนเลยเถิดเป็นความสะเปะสะปะหรือไม่? เพราะชุดที่ผ่านมา Notes เนี่ย เริ่มประสบปัญหาอย่างที่ว่านี้แล้ว
-อย่างไรก็ดีวงเลือกที่จะลิมิตตัวเองด้วยการไม่แวะไปทดลองโน่นนี่ หาวิธี approach คนฟังแบบ old school ด้วยจำนวนแทร็คที่ไม่มาก run time ที่ไม่ยืดยาว ไร้ซึ่ง interlude ตามมาตรฐานที่วงอื่นๆใช้กัน ในขณะเดียวกันเขาก็ยังไม่ทิ้งกลิ่นความพิศวงให้ได้ฉงนสนเท่ห์กันเล่นๆ ขนาดชื่ออัลบั้มผมยังตีความไม่แตกเลยว่าต้องการสื่ออะไร ?
-จะให้นิยามความเป็น traditional ป็อปร็อคดั้งเดิม ก็คงบอกได้ไม่เต็มปากมากนัก ถ้าผู้ใหญ่รุ่นน้ารุ่นอาได้บังเอิญเข้ามาฟังอัลบั้มนี้อาจเกิดความรู้สึกอิหยังวะ เพราะนี่อาจจะไม่ใช่เพลงที่คนรุ่นเขาได้ยินมาแน่ๆ
Marty Healy & Jack Antonoff
-การเลือกโปรดิวซ์เซอร์สายเนิร์ด Jack Antonoff มาเสริมทัพเหมือนได้คนที่คุยภาษาเดียวกัน ซึ่งสาวกเพลงป็อปหรืออัลเทอเนทีฟคงไม่มีใครไม่รู้จักแกแล้วละมั้ง เพราะแกคือคีย์แมนคนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังศิลปินแถวหน้าในยุคนี้แทนที่ Max Martin จนแนวเพลงป็อปกับอัลเทอร์แทบจะเป็นเส้นกั้นบางๆไปแล้ว ล่าสุดแกก็เป็น PD หลักให้อัลบั้ม Midnights ของเทย์เลอร์ด้วย เดือนเป็นเดือนของพี่แจ๊คจริงๆ
-ซิกเนเจอร์ที่ผมชอบมากๆจากเฮีย Jack มีอยู่สูตรนึงคือ element ของเครื่องสายออเครสต้าที่ถูกแต้มพู่กันบางๆลงในเพลง ผมมองว่ามันเลเยอร์ที่พิเศษกว่าบีทเครื่องเคาะ ซึ่งผมติดใจภาพจำเหล่านี้มาจากผลงานของ Lana Del Rey ชุด NFR, Chemtrail และ Clairo จากชุด Sling ถ้าคุณติดใจผลงานเหล่านั้น คุณน่าจะถูกโฉลกกับ Being Funny ได้ไม่ยาก และเป็นความหนักแน่นยิ่งกว่าด้วยการทำงานแบบ full band
-อีกอย่างผมไม่รู้ว่าเฮีย Jack แกมีเทคนิคอะไรที่ทำให้ศิลปินที่ร่วมงานด้วยรู้สึกสนิทสนมและไม่เคอะเขินที่จะปล่อยไหลความคิดสร้างสรรค์ในแบบที่ไม่เกร็งใส่กัน มวลรวมบรรยากาศของอัลบั้มนี้ก็ทำให้เราได้เห็นมุมสบายๆของพี่ Healy ในแบบที่ไม่อีโม ไม่อีโก้จัด มันเลยทำให้ Being Funny เหมือนอัลบั้มแตะเบรคที่พวกเขาหยุดที่จะเค้นไอเดียไต่บันไดในการทำเพลงที่ดีที่สุดแบบ Love It If We Made It หรือต้องขวนขวายขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมที่น่าสนใจอีกต่อไป
-ท่ามกลาง woke content ในสื่อบันเทิงที่มากล้นเหลือเกิน พวกเขาขอสวนทางด้วยการนำเสนอประเด็นความรัก และแตะความเป็นเพื่อชีวิตดิจิตอลหน่อยๆล่ะกัน
-พวกเขารู้ตัวเองว่าเหนื่อยมากกับการปลุกปั้น magnum opus (ศิลปะชิ้นเอก) แล้วเลือกหันมาแคปเจอร์ความรู้สึกใกล้ตัวด้วยรูปถ่ายโพลารอยด์แทน ผมเองก็สำนวนนี้มาจากสิ่งที่แมตตี้ให้สัมภาษณ์แล้วมาสื่อความในมุมมองของผมเนี่ยแหละ ซึ่งผมก็พอเข้าใจในการเปรียบเปรยแบบนี้เหมือนกัน ประหนึ่งแทนที่เราจะทำการเค้นความรู้สึกแล้วมาประดิษฐ์ประดอย ก็ลองเปลี่ยนมาเป็นการถ่ายภาพเพื่อจับความรู้สึกแรกนั้นไปเลย
-ในเมื่อทุกคนรับรู้ด้านอาร์ตของพวกเขามามากพอตั้งแต่ชุดสอง การกลับมา back to basic ไม่ขอยัดอาร์ตใส่คนฟังในครั้งนี้ พวกเขายังมีมุมฉีกให้ได้เซอร์ไพรส์กันตั้งแต่แทร็คแรกที่เป็น Self-Titled Track ใครที่ตามฟังทุกผลงานเป็นอันทราบว่า แทร็คเปิดอัลบั้มพวกเขาให้นิยามการเช็คอินเพื่อบ่งบอกการ represent era ใหม่ในทุกอัลบั้ม
-หากไม่นับสุนทรพจน์ภาวะโลกร้อนของน้องเกรต้าในชุด Notes สำหรับ era นี้พวกเขาเลือกที่เปลี่ยน lyrics ใหม่ดั้งเดิมใหม่หมดเลย และเป็นการเปลี่ยนบริบทที่ดีซะด้วย พี่แมตตี้ขออัพเดทสารทุกข์สุขดิบในแบบที่ยังไม่ทิ้งลายพ่อหนุ่มติดโซเชี่ยลอยู่วันยังค่ำ มีประโยคนึงที่เป็น deep conversation ที่โคตรเห็นด้วยเลยในประเด็นที่ศิลปินมักขายความเจ็บปวดลงบนบทเพลง ซึ่งแฟนเพลงชอบ แต่พี่แมตตี้เริ่มไม่ชอบ เพราะแบกรับประสบการณ์เหล่านั้นไม่ไหวเหมือนกัน
You're makin' an aesthetic out of not doing well
And minin' all the bits of you you think you can sell Whilst the fans are on
The 1975 (BFIFL)
-อีกอย่างที่จะไม่ให้ first impression ได้ไงก็คือท่วงทำนองคลาสสิคที่ทำให้คนฟังรู้สึกเบิกบาน ตื่นตาตื่นใจตั้งแต่แรกฟัง และทิ้งท้ายด้วยรีฟกีตาร์ไฟฟ้าเป็นการเพิ่มความตื่นเต้นอันเป็นการสร้างจุด fresh start ให้คนฟังพร้อมที่จะตะลุยอัลบั้ม เป็น self-title track ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาโดยไม่คิดมาก
-พวกเขาก็ไม่รอช้าที่จะเปิดทางความคึกคักด้วยท่วงทำนองฟังก์ที่แฟนเพลงคุ้นเคยในเพลง Happiness แต่เพิ่มเติมด้วยท่วงทำนองแซ็กโซโฟนที่ซับซ้อนเอาการ มาพร้อมกับความย้อนแย้งของการตามหานิยามความสุขที่ไม่ใช่อะไรที่ไหน ติดอยู่แค่เธอเท่านั้นที่เป็นความสุขที่ขาดหาย
-การฟังเพลงวงนี้ต้องตั้งธงไว้เลยว่า พวกเขามักจะหลอกดาวในแง่ของการหยอกเย้าความย้อนแย้งของท่วงทำนองที่สวนทางกับเนื้อหา อย่างไรก็ดีมันทำให้เพลงที่ว่าด้วยความรักไม่ได้มีรสหวานโดดเสมอไป สอดคล้องความจริงอันขมขื่นได้เรียลหน่อย
-Looking For Somebody (To Love) ท่วงทำนองซินธ์ป็อปสุด alert ชวนเต้นรำ แต่เคลือบนัยยะสุดโรคจิตของคนที่ใช้ความรุนแรงในการตอบโต้คนอื่นเมื่อไม่ได้ดั่งใจ Oh Caroline ท่วงทำนอง retro upbeat ที่เต็มไปด้วยความรู้สึกกรีดกรายด้วยสภาวะของคนลืมยาก เป็นความสนุกที่กลบรสดราม่าของการไม่มูฟออนได้อยู่หมัด
-ในความชอบเล่นความย้อนแย้ง พวกเขาไม่ลืมที่จะเผยความในโดยไม่ต้องอ้อมค้อมในเพลง I’m in Love With You เพลงคลั่งรักผู้หญิงผิวสีที่พี่แมตตี้เคย In Relationship with อยู่ช่วงนึง (หลายคน assume ว่าเป็นแฟนเก่า FKA Twigs) ซึ่งเธอคนนั้นดันรู้สึกว่าพี่แมตตี้ไม่ค่อยเข้าใจคัลเจอร์ธรรมเนียมการปฏิบัติของคนดำมากเท่าที่ควร กรอบคัลเจอร์ช่างมันไว้ก่อนก็คนมันตกหลุมรักไปแล้ว เป็นเพลงที่ผมมองว่ากลั่นออกมาจากความรู้สึกแรกมากสุด และทำออกมาได้ใจฟูเสียจนอดที่จะร้องตามไม่ได้ แสดงถึงเซนส์ป็อปที่ยังแข็งแรงอยู่ด้วย
You show me your (You show me your)
Black girl thing (Black girl thing)
Pretendin' that I know what it is (I wasn't listening)
I apologise, you meet my eyes
Yeah, it's simple and it goes like this
I’m in Love With You - The 1975
-All I Need to Hear เป็นเพลงรักรส soul rock ที่หล่อมาก มันเป็นการประนีประนอมที่ช่างอ่อนโยนจริงใจซะเหลือเกิน แพ้ทางเพลงตั้งรับแบบนี้มากๆ เป็นความหนักแน่นเชิง gentleman ที่ฟังกี่ทีก็รัก Wintering เพลงที่ให้นิยามของการแคปเจอร์โมเมนต์ไว้ในภาพถ่ายโพลารอยด์มากที่สุด เพราะนี่คือ Christmas song ที่เป็นนิมิตรหมายของการกลับมารวมตัวกันของครอบครัวนั่นเอง
-สำหรับเพลง About You ภาคต่อ Robbers เอามาบีบอัดด้วยสุ้มเสียง shoegaze สากๆ แล้วเพิ่มเติมด้วยออเครสตร้า ฟังอินโทรก็รู้สึก hype อยู่ หลังจากนั้นคือเรียบๆ ไม่มีจุด lift up ใดๆมากมาย ฟีลเพลง Side-B มากๆ ทำมาเพื่อ tribute “With or Without You” แต่ก็ไม่รู้สึกเป็นเพลงดูเอ็ทคู่ชูโรงของวงขนาดนั้น เกือบติด Top Track แต่ก็ต้องขอโทษมิตรรักเดอะหนึ่งเก้าเจ็ดห้าจริงๆ
-Part of the Band ซิงเกิ้ลแรกที่อยู่ในรอยต่อของการเปลี่ยนผ่านจากวงชอบทดลองไปเป็นวงที่คุยด้วยภาษาสามัญ ปล่อยมาตอนแรกๆนี่รู้สึกอิหยังวะอีกล่ะ โฟล์คซองสวิงสวายด้วยเครื่องสายไวโอลิน ท่อนฮุกที่ไม่ตายตัว weird มาก และ poem ที่พี่แมตตี้เองพร่ำร้องด้วยสัญชาตญานดิบล้วนๆ ซึ่งเจ้าตัวก็ออกมายอมรับแบบงงๆว่า กูก็ไม่รู้ว่าเพลงนี้สื่อความอะไร อ้าว !
-นั่นแหละครับมันคือเพลงที่เข้านิยามความหมาย Being Funny In a Foreign Language มากที่สุด มันเต็มไปด้วยศัพท์แสลงแปลกๆ จินตนาการยากเสียจนผมก็ไม่อยากจินตนาการคิดตาม สุดแท้แล้วแต่จะตีความเลยครับ เพลงนี้ได้ Michelle Zauner (a.k.a Japanese Breakfast) มาร่วมขับขาน back up ร่วมกับด้วย
-Human Too เพลงที่ติดกลิ่นแอมเบี้ยน A Brief Into Online Relationship แต่มาในเวย์ที่ personal จัดๆสมชื่อเพลงเลย ประหนึ่งคนตั้งการ์ดหลังทัวร์ลง ความเจ็บปวดของคนสาธารณะที่เจอ cancel culture พลาดเมื่อไหร่เป็นอันติดมลทิน ผมก็มนุษย์คนนึงที่แสดงความเห็นผิดพลาดกันได้
-มีการหยิบยกกรณีที่มีดราม่าในเรื่องคอสตูมในเอ็มวีเพลง PEOPLE ที่เจ้าตัวสวมเสื้อกั๊กระเบิดพลีชีพ ซึ่งก็โยงกับเหตุการณ์ระเบิดหลังคอนเสิร์ต Ariana Grande ที่แมนเชสเตอร์บ้านเกิดของแมตตี้ด้วย เลยโดนด่าเรื่องการแสดงออกในเชิงไม่สำเหนียกตัวเอง แน่นอนว่าคนสาธารณะย่อมมีเรื่องในอดีตให้ขุดคุ้ยอยู่วันยังค่ำ ทันทีที่มีประเด็นข้อขัดแย้งใหม่ขึ้นมา ซึ่งบางทีมันก็ผ่านไปนานล่ะ ตัวศิลปินเองก็กลัวคนภายนอกมองเปลี่ยนไปด้วยเหมือนกัน ทั้งๆทีพวกเขาเองก็เป็นมนุษย์เหมือนเดิม case by case ครับแบบนี้
I'm sorry about the bomb thing
That's overdue
I'm sorry that I quite liked seein' myself on the news
And I'm sorry that I'm someone that I wish I could change
Human Too - The 1975
-ปิดท้ายด้วย When We Are Together ที่เป็นอคลูสติคกีตาร์โปร่ง post-breakup ที่ reminisce ถึงความทรงจำร่วมกับอดีตรักที่แสนเรียบง่ายบ้านๆ แต่โคตรรู้สึก empty มากๆ เป็นเพลงสุดท้ายที่อัดก่อนจะวางแผนประกาศอัลบั้มด้วย เป็นการปิดท้ายอัลบั้มที่ไม่มีอะไรหวือหวา ส่งท้ายความรู้สึกโดดเดี่ยวที่ธรรมดา ไม่เรียกร้องหรือเค้นอารมณ์อะไรมากจริงๆ
-จำได้ว่าตอนรีวิว Notes ผมก็ยังคาดเดาทิศทางของพวกเขาต่อจากนี้ไม่ได้จริงๆ แต่ผมเชื่อว่าคนที่ได้ตามวงนี้จริงๆคงไม่ยึดติดใน direction ทางใดทางนึงอยู่แล้ว ตั้งแต่การเปลี่ยนผ่านมู้ดแอนด์โทนจากดำทมิฬในชุดแรกมาเป็นป็อปอาร์ตชมพูนีออนในชุดสองก็นับว่ากล้าและบ้าในระดับนึงแล้ว การเอากรอบไฟทิ้งไปสู่จุดที่เป็นธาตุอากาศดุจไฟล์ดิจิตอลในชุด A Brief และ Notes ก็ตอกย้ำแก่นอุดมการณ์ของวงได้อย่างนึงคือ พวกเขาเป็นวงที่พร้อมจะเปลี่ยนแนวทางไปเรื่อยตามใจชอบ แต่มีสูตรลับของการรักษาเอกลักษณ์ได้อย่างแนบเนียนที่สุดวงนึง
-อย่างผมบอกไปข้างต้นเกี่ยวกับการไม่พยายามทำ magnum opus แต่เลือกที่จะถ่ายรูปโพลาลอยด์จับทางความรู้สึกแรกแทน ซึ่งมันได้ผลเว้ยเห้ยในแง่การดึงความสดใหม่ในการถ่ายทอดจริงๆ ขนาดเพลง Part of The Band พี่แกยังขับเคลื่อนด้วยสัญชาตญาณดิบล้วนๆเลย และการพลิกบริบทในเนื้อเพลงให้ย้อนแย้งสวนทางกับ vibe เพลงในแบบที่จะไม่ให้รู้สึกฉงนสนเท่ห์ได้ไง เห็นอาร์ตไดเรคชั่นไปทางขาวดำเรียบง่าย แต่แม่งไม่ใช่เลย
-ชอบมากที่วงแก้เกมส์เรื่องความยืดยาวในแบบที่ไม่มีดนตรีบรรเลงหรือ interlude มาแทรก มันทำงานต่อความรู้สึกได้เต็มที่กว่าเยอะ ยืดไปไม่ไหว abstract ไปก็ไม่รู้จัก relate ยังไงเช่นกัน นี่จึงเป็นการกลับมาที่ไม่ได้แก้คิดถึง แต่พวกเขายังมีแผนการณ์ที่ดีในการใช้กลวิธีให้เพลงมันทำงานสอดรับกับความรู้สึกคนฟังได้อยู่หมัดเสียจนมันเป็นจุดแข็งของวงที่รักษามันได้อย่างแนบเนียน และรู้ตัวเองดีว่าลิมิตของตัวเองอยู่ที่จุดใด
มันต้องมีจุดที่ต้องแตะเบรคบ้าง
Top Tracks : The 1975 (BFIFL), Looking For Somebody (To Love), Part of The Band, Oh Caroline, I’m In Love With You, All I Need To Hear, Human Too
Give 8/10
Thx 4 Readin’
See Y’all
โฆษณา