29 ต.ค. 2022 เวลา 09:48 • ข่าว
#ดราม่าร้อนต้อนรับริชี ซูนัค
#เมื่อผู้นำอังกฤษปฏิเสธเข้าร่วมประชุมCOP27
ถือเป็นการต้อนรับน้องใหม่ของสภาอังกฤษให้กับนายกรัฐมนตรีเชื้อสายอินเดียคนแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศนี้ด้วยดราม่าชุดใหญ่ จัดเสิร์ฟร้อนๆ ให้ถึงทำเนียบตั้งแต่สัปดาห์ที่เข้ามาประจำตำแหน่งในบ้านเลขที่ 10 ถนน ดาวนิ่งเลยทีเดียว
เมื่อมีข่าวว่า ริชี ซูนัค ตัดสินใจที่จะไม่เข้าร่วมงานประชุม COP27 หรือชื่อเต็มๆว่า การประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในปีนี้จะจัดที่ เมืองชาร์ม เอล ชีค ประเทศอียิปต์
โดย ริชี ซูนัค ให้เหตุผลว่า ในปีนี้เขาจำเป็นต้องอยู่ทำงานร่วมกับคณะรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อร่างแผนนโยบายประจำปีของฤดูใบไม้ร่วง ที่ต้องทำให้เสร็จในวันที่ 17 พฤศจิกายน และเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่มีงานประชุม COP27 พอดี ที่จัดระหว่างวันที่ 9-18 พฤศจิกายน
พองานสำคัญมาชนกันเช่นนี้ ในฐานะผู้นำรัฐบาล เขาจึงตัดสินใจเลือกทำภารกิจในบ้านให้ลุล่วงก่อน ส่วนงานประชุม COP27 ทางรัฐบาลจะส่งรัฐมนตรีอาวุโสที่เกี่ยวข้อง กับ ประธาน COP ของทางอังกฤษไปร่วมประชุมแทน
พอมีข่าวว่า ริชี ซูนัค ปฏิเสธที่จะไปร่วมงานประชุมด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกในปีนี้ รถทัวร์ฝ่ายค้านรอบทิศจากทุกพรรคก็แห่ไปจอดหน้าทำเนียบบ้านเลขที่ 10 โดยพร้อมเพรียงกันทันที
3
เริ่มจาก เคียร์ สตาร์เมอร์ หัวหน้าพรรคแรงงาน และผู้นำฝ่ายค้าน ออกมาโพสต์ทวิตเตอร์ตำหนิพรรครัฐบาลว่า การที่อังกฤษจะได้ไปออกยืนแถวหน้ากับผู้นำต่างประเทสจากทั่วโลกเป็นโอกาสที่ต้องรีบคว้าไว้ ไม่ใช่โยนทิ้งไป
เอ็ด เดวี หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย และยังเป็นอดีตรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ออกมาวิจารณ์ว่า ซูนัค ทำลายความภาคภูมิใจของชาติอังกฤษที่เคยเป็นหนึ่งในผู้นำของโลกและเอาจริง เอาจัง กับงานด้านสิ่งแวดล้อมมาก่อน
2
ยังไม่นับพรรคกรีน และ แกนนำกลุ่ม Greenpeace ในอังกฤษ ที่ออกมาแสดงความผิดหวังในตัวริชี ซูนัค ที่เลือกที่จะไม่ไปงาน COP27 เช่นกัน
จริงๆแล้ว การที่ ริชี ซูนัค เลือกงานหลักของรัฐบาลก่อนงานประชุมต่างประเทศ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะอย่าลืมว่า รัฐบาลอังกฤษล่มมาแล้วถึง 2 ครั้งในรอบไม่ถึง 1 ปี และเส้นตายการสรุปแผนงบประมาณแผ่นดินก็เป็นเรื่องด่วนเช่นกัน
แต่ ริชี ซูนัค จะไม่โดนดราม่าหนักเท่านี้ ถ้าไม่มีประเด็นของพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และ ลิซ ทรัสส์ เข้ามาเกี่ยวข้อง จนทำให้กลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ กำลังสงสัยว่า รัฐบาลอังกฤษมีความมุ่งมั่นตั้งใจในเป้าหมายแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศจริงๆหรือเปล่า
จุดเริ่มแรกของปมดราม่า คือ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ตอนที่ลิซ ทรัสส์ เพิ่มเข้ามารับตำแหน่งใหม่ๆ ใหม่พอๆกับที่เจ้าฟ้าชายชาลส์ เถลิงราชย์ขึ้นเป็นพระเจ้าชาลล์ที่ 3 ทางองค์การสหประชาชาติได้สอบถามมายังรัฐบาลอังกฤษว่า ในปีนี้ พระเจ้าชาลส์ที่ 3 จะทรงให้เกียรติมาร่วมเปิดงานประชุม COP27 หรือไม่
อันเนื่องจากสมาชิกราชวงศ์อังกฤษ เคยร่วมงานในการประชุม COP มาแล้วหลายครั้ง โดยปีที่ผ่านมา ควีน เอลิซาเบธ ทรงประธานพระราชดำรัสในงานเลี้ยงรับรองคณะผู้ประชุม COP26 แม้จะทรงร่วมงานด้วยพระองค์เองไม่ได้ และได้มอบหมายให้พระเจ้าชาลส์ที่ 3 เมื่อครั้งยังเป็นมกุฏราชกุมาร ยังมากล่าว สุนทรพจน์ในงานประชุมครั้งนั้นที่เมืองกลาสโกว์
อีกทั้งพระองค์ก็ยังเคยไปร่วมงาน COP21 ที่ปารีสมาแล้วก่อนหน้านี้ และสมาชิกราชวงค์ท่านอื่นก็ปฏิบัติภารกิจในงานด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆอย่างสม่ำเสมอ ทางผู้จัดงาน COP27 ในปีนี้ จึงคาดหวังว่าจะได้เห็นพระเจ้าชาลส์ที่ 3 มาร่วมงานอีกครั้ง และจะเป็นพระราชกรณียกิจแรกในต่างแดนของพระเจ้าชาลส์ในฐานะประมุขคนใหม่ของเครือจักรภพอังกฤษ
1
แต่ต่อมาปรากฏสาสน์จากพระราชวังบักกิงแฮมว่า ในปีนี้พระเจ้าชาลส์ที่ 3 ไม่ทรงเสด็จร่วมงาน COP27แล้ว และทางสำนักพระราชวังก็มีความเสียดายเช่นกัน แต่ทั้งนี้พระเจ้าชาลส์ที่ 3 ก็ต้องรับฟังคำแนะนำจากคณะรัฐบาลอังกฤษที่จะพิจารณาความเหมาะสมของประมุขแห่งรัฐ ในการเสด็จไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจในต่างประเทศ
กระแสก็เลยตีกลับมาที่ลิซ ทรัสส์ ว่าทำไมถึงไม่อนุมัติให้คิง ชาลส์ ท่านไปงาน COP27 หล่ะ เพราะตามธรรมเนียมของอังกฤษ สำนักพระราชวังต้องถามความเห็นของสภาอังกฤษทุกครั้งเมื่อมีภารกิจที่ต้องเสด็จเยือนต่างประเทศ
แต่เบื้องลึก เบื้องหลังจะเป็นอย่างไร เราไม่อาจรู้ได้ แต่ปีนี้อังกฤษเพิ่งเปลี่ยนแผ่นดิน อาจจะยังไม่สะดวกในการเสด็จพระราชดำเนินไปต่างประเทศ แต่ ลิซ ทรัสส์ ได้ตอบรับว่าจะไปค่ะ นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะไปร่วมงาน COP27 แน่นอน
แต่หลังจากนั้นเพียงเดือนเดียว รัฐบาลลิซ ทรัสส์ ก็ล่ม ริชี ซูนัค เข้ามาแทนตอนที่มีงานรัฐบาลที่ต้องสะสางก่อนสิ้นปี กับปัญหาทั้งภายในพรรครัฐบาล และ นอกสภามากมาย จนกลายเป็นว่าปีนี้ แม้แต่นายกรัฐมนตรีอังกฤษก็จะชิ่ง ไม่สามารถไปร่วมงาน COP27 ได้แล้วเหมือนกัน
1
ด้าน อันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการแห่งองค์การสหประชาชาติ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า งาน COP27 ถือเป็นวาระระดับโลก ที่ต้องการให้ประชาชมโลกตระหนักว่าเป็นภารกิจสำคัญที่เร่งแก้ปัญหา ก่อนที่จะหายนะไปกว่านี้
และในฐานะที่อังกฤษเพิ่งเคยเป็นเจ้าภาพจัดงาน COP26 เมื่อปีที่แล้ว นายกูเตร์เรส ก็คาดหวังว่าจะได้พบผู้นำอังกฤษ และ พระเจ้าชาลส์ที่ 3 ในงานปีนี้ เป็นการสร้างกระบอกเสียงที่เข้มแข็ง แต่ปรากฏว่า แขกกิตติมศักดิ์ระดับ VVIP แห่งอังกฤษปฏิเสธที่จะมาทั้ง 2 คน
เรื่องนี้สื่อหลายสำนักมองว่า ทำให้ภาพลักษณ์การเป็นชาติมหาอำนาจด้านสิ่งแวดล้อมของอังกฤษเสียหายมาก เพราะขนาดผู้นำยังเลือกทำงานในบ้านก่อน ปัญหาระดับโลกไว้ทีหลังเลย แล้วประชาคมโลกจะพึ่งพาอะไรได้
พอเรื่องนี้ชักกลายเป็นประเด็นใหญ่โต คนวิจารณ์กันเยอะมาก ล่าสุด เธเรสซ่า คอฟฟีย์ รัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อม ก็ออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านสื่ออังกฤษ โดยเลือกที่จะโยนเผือกกลับไปที่พระราชวังบักกิงแฮมว่า จริงๆแล้ว เรื่องที่คิง ชาลส์ จะเสด็จ หรือ ไม่เสด็จ ไปงาน COP27 เป็นพระประสงค์ของพระองค์เอง ทางรัฐบาลไม่ได้มีหน้าที่ไปถวายคำแนะนำว่าท่านควร หรือไม่ควรเสด็จไป ซึ่งหากเป็นพระประสงค์จริงๆย่อมทำได้
จากที่ดราม่าจะจบ ยิ่งไปกันใหญ่ กลายเป็นรัฐบาลอังกฤษเล่นการเมืองชิ่งกันเองระหว่างสภา กับ ในวัง มีปัญหาภายในทำไมไม่คุยกันเองก่อน ขนาดการสื่อสารภายในยังมีปัญหา แล้วประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมโลก สภาพอากาศ เป้าหมายเรื่องการลดคาร์บอนเป็นศูนย์ยิ่งไม่ต้องพูดถึง คงอยู่ท้ายคิวไว้ทีหลังไปอีก 😑
1
จึงเป็นดราม่ารับน้องของริชี ซูนัค ที่มาอย่างไม่ได้ตั้งใจ จะเก็บตัวอยู่ทำงานในทำเนียบเงียบๆ ก็มีคนต้มมาม่ามาเสิร์ฟให้ถึงที่
3
ถึงปีนี้พลาดไปแล้ว แต่ปีหน้า ริชี ซูนัค ต้องไปให้ได้นะจ๊า กับ COP28 เพื่อประกาศความเป็นมหาอำนาจเสาหลักของโลก ในเรื่องเจตนารมย์ด้านสิ่งแวดล้อม เว้นแต่ปีหน้า ต้องเปลี่ยนนายกฯอย่างกระทันหันใกล้งานประชุมอีก ก็ตัวใครตัวมันเลยจริงๆ
2
****************
ติดตามบทความของ "หรรสาระ" เพิ่มเติมได้ที่
Facebook - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
Tiktok - @HunsaraByJeans
และ Blockdit - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
แพลทฟอร์มคุณภาพ ไม่ปิดกั้นการมองเห็นเนื้อหา
****************
1
แหล่งข้อมูล
โฆษณา