29 ต.ค. 2022 เวลา 16:46 • การตลาด
สรุปจาก The Secret Sauce of the Standard
1
==============
1. ประวัติย่อของ THE STANDARD
==============
- THE STANDARD เปิดตัววันที่ 5 เดือน 6 ปี 2017 (5-6-7)
- เคยโดนแฮชแท็ก #สื่อเหี้ย ช่วงเปิดเพจโดนถล่มจาก 5 ดาว เหลือ 0.9 ดาว ใช้เวลา 6 เดือนถึงกลับมาได้
- เริ่มต้นมีพนักงาน 60-70 คน เคยมีเดือนนึงบริษัททำรายได้รวมกันทั้งหมดแค่ 50,000 บาท
- เปรียบตัวเอง 2017 เป็นเหมือนเรือเล็ก 2020 เรือหาปลา 2022 เรือยอชต์ เริ่มมีศักยภาพและมีแผนมากขึ้น
- Start with why: “Stand up for the people”
- Value proposition: “Creativity & Trust”
- Audience Centric: “Opion Leader”
- เริ่มต้นทำ Podcast โดยพี่บิ๊ก ภูมิชาย ในสมัยที่ยังไม่ค่อยมีคนทำ
- 2019: ทำ Debate การเลือกตั้ง เป็น fast track ทำให้ THE STANDARD เติบโตขึ้น
- 2020: ทำ Economic Forum
- 2021: เริ่มขยายช่อง Youtube เป็นห้าช่อง
- ปัจจุบันเพิ่ม core value เป็น Trust Creativity Lifelong Learning (มุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้สังคม ผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิต) ขยาย vision ทำ non-news เป็น Edutainment
- พนักงานจาก 70 คนสู่ 160+ คน
==============
2. THE STANDARD LESSONS LEARN
==============
1. คุณเกิดมาทำไม START WITH WHY
- ทำไมสังคมต้องมี THE STANDARD? -> เราอยากสร้างสังคมเชิงบวก
- เราต้องกำหนดว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาเพื่อสร้างความสุข / สร้างความบันเทิง / ให้ความรู้ทางด้านการเงิน
- กลับมาถามตัวเองบ่อยๆ ต้องมีจุดยึดในการทำคอนเทนต์ เพราะทะเลคอนเทนต์ที่ยิ่งใหญ่ในปัจจุบันจะทำให้คุณเซไปตามกระแส ถ้าไม่มีจุดยึด
- ต้องมี purpose ที่ทำเพื่อคนอื่น การทำให้ตัวเองอย่างเดียวไม่เพียงพอ
2. คุณจะชนะด้วยอะไร? FIND YOUR WINNING ZONE
- เหมือนการไปเชียงใหม่ เราจะเลือกว่าจะไปด้วยรถ/เรือ/เครื่องบิน
- ต้องหา fit ระหว่าง Product/Market/Price
- Compete To Be Unique, Not the Best คนอ่านไม่ได้สนใจว่าเราจะเป็นอันดับที่เท่าไหร่ แต่เราแตกต่างและเป็นประโยชน์กับเขาแค่ไหน
- การทำคอนเทนต์ไม่เหมือนการแข่งขันกีฬาที่มีผู้ชนะแค่คนเดียว การที่คุณเป็นแฟน BLACKPINK ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นแฟนพี่เบิร์ดด้วยไม่ได้
- อะไรที่มีแค่คุณเท่านั้นที่ทำได้ ลองดูคนที่ทำคอนเทนต์ในประเภทเดียวกับเรา มีอะไรที่เราทำแล้วจะไม่เหมือนคนอื่นบ้าง
- DUMB ZONE: What your brand does best + What your competitor does best
- LOSING ZONE: What consumers want + What your competitor does best
- RISKY ZONE: What consumers want + What your brand does best + What your competitor does best
- WINNING ZONE: What consumers want + What your brand does best
- ตอนก่อตั้ง THE STANDARD เราเห็นช่องว่างระหว่าง Internet Influencer = CREATIVITY และ Traditional Media = TRUST จึงตั้งนิยามขึ้นมาว่าเราจะเป็น Creative News (CREATIVITY + TRUST)
- มีคนที่ไม่ได้อยากอ่านแต่ข่าวใบ้หวย ข่าวอาชญากรรม เราจึงทำข่าวสร้างสรรค์ มีประเด็นมองไปข้างหน้า ลดความขัดแย้ง ทำให้คนได้ตื่น รู้จักปัญญาจากความรู้
- ช่วงแรกคนอ่านงง หาลูกค้ายากเพราะไม่สามารถสร้าง engagement แบบเพจใหญ่ๆ ได้
- แค่แตกต่างอย่างเดียวไม่พอ ต้องทำอย่างต่อเนื่องด้วย เราใช้เวลาประมาณ 2 ปีถึงกว่าจะเริ่มเข้าที่
3. ใครคือคนอ่านของคุณ? AUDIENCE CENTRIC
- ใครคือคนอ่านของคุณ สำคัญมากถ้าอยากทำงานกับลูกค้า กับเอเจนซี่ การรู้จักกลุ่มคนอ่านจะทำให้เกิดความยั่งยืนกับธุรกิจด้วย
- ต้องตอบให้ได้ก่อนว่าเขาคือใคร
- เปรียบเหมือนบอกรัก พ่อแม่/แฟน/หมา เราใช้วีธีบอกรักไม่เหมือนกัน แค่ LOVE คำเดียวพูดกับคนที่แตกต่างกัน ก็ต้องใช้คนละวิธี คนอ่านคือคนที่กำหนดกติกาว่าเราต้องสื่อสารแบบไหน
- จาก Demographics สู่ Psychographics หมดยุค Mass Marketing ต้อง very personalize เช่น เขาชอบทีม NBA ทีมไหน, ชอบฟังเพลงอะไร
- Audience ของ THE STANDARD ตอนเริ่มต้นคือ Urban Young Adults และ Opinion Leaders หลังจากนั้นเริ่มขยายเป็น Gen Z และ Executives (The Secret Sauce, Economic Forum) และเพิ่ม New Gen Investors (THE STANDARD WEALTH) และ Entertainment & Lifestyle Seekers (THE STANDARD POP)
- ยิ่งชัด ยิ่งแตกต่าง ยิ่งดี
- กลยุทธ์ของการเลือกและไม่เลือก: เลือกความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ต้องไม่เลือกข่าวชาวบ้าน อย่าหว่านทำหมด ทรัพยากรเรามีจำกัด ค่อยขยายเมื่อมีกำลังเพิ่ม
4. เกาะกระแสคลื่นในอนาคต
- เลือกทำสิ่งที่มี upside อยู่ในเทรนด์ ต้องเลือกขบวนรถไฟที่ไปข้างหน้า
 
- ดูภาพรวม mega trend เช่น เรื่อง Rapid Urbanisation เป็นสิ่งที่ทำให้เราเลือกทำข่าวเพื่อสังคมเมืองก่อนในเบื้องต้น
- เมื่อมีคนสนใจเรื่องใดมากขึ้น ตลาดก็จะโตขึ้น คนที่ต้องการเสพคอนเทนต์เรื่องนั้นก็จะมากขึ้น
- ตอนนี้มีกระแสของ Lifelong Learning เราก็มีคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ทั้งวิชาประวัติศาสตร์ การเงิน ธุรกิจ ภาษาอังกฤษ
- ไม่ได้หมายถึงคอนเทนต์ความรู้อย่างเดียว คอนเทนต์บันเทิงก็เหมือนกัน อนาคตคืออะไร เทรนด์ของเพลง/หนังไปทางไหน
- กระแสของ Sustainability เราก็พึ่งจัดงาน The Secret Sauce Strategy Forum 2022: CODE RED ไปเพื่อตอบโจทย์สิ่งนี้
5. ตามหาเสี้ยววินาทียิงประตู RONALDO’S MOMENT
- ไม่ว่าจะเป็นการทำคอนเทนต์หรือชีวิตคนเรา จะมีจุดไม่กี่จุดที่เป็นโอกาสของชีวิต เช่น โอกาสในการพรีเซนต์หน้าห้อง โอกาสในการสอบให้ผ่าน
- การเติบโตนั้น work hard เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ถ้าคุณสามารถคว้าโอกาสบางจุดได้ มันเปลี่ยนจะชีวิตคุณได้ทันทีเลย คอนเทนต์ก็เหมือนกัน อะไรที่จะเป็นโอกาสในการเป็น springboard การทำคอนเทนต์ไม่ใช่ทำไปเรื่อยๆ ต้องดูว่าตอนไหนคือโอกาสและกระโดดลงไปคว้ามัน
- ตัวอย่างเช่น ข่าวก็คือ Breaking News ถัาคุณทำได้เร็วกว่าคนอื่น วัดกันที่เสียววินาที ถ้าคุณลงช้ากว่าคู่แข่งแค่ 15 นาที คนดูอาจจะลดลงหลายเท่า
- THE STANDARD เราก็คว้าโอกาสในปีที่เกิดโควิด ทำ Economic Forum ทำให้ตอนนี้นอกจากที่เราจะทำคอนเทนต์ เรายังรับจ้างทำ conference ทำ event เพราะคนเห็นว่าเราทำได้ สามเดือนที่ทำ forum นั้นเหนื่อยมาก แต่มันคือฤดูทำนาของเรา อาจจะเป็น once in a life time
6. คิดแบบหมาจนตรอก JUDO STRATEGY
- คนตัวเล็กมีโอกาสชนะคนตัวใหญ่ โดยการใช้ resource ที่มี
- Movement: Go for the niche, Follow through fast, Stay below the radar
- Balance: Grip your opponent, Do not compete head-on, Push when pulled
- Leverage: Leverage opponent’s assets, Leverage opponent’s partners, Leverage opponent’s rivals
- “สิ่งที่ดีที่สุดคือสิ่งที่คุณมี” เรามีอะไรที่แตกต่าง หาจุดแข็งในทีมงานของตัวเอง
- เราเคยทำ THE STANDARD Daily เป็นสำนักข่าวออนไลน์แรกๆ ที่ทำในสตูดิโอ ด้วยรูปแบบที่แตกต่าง ไม่มีความยาวระยะเวลาที่แน่นอน พูดคุยลึกทะลุเพดานมากกว่าช่องหลัก ทำให้มีคนอยากมาออกรายการของเรา
- ไม่ต้องรอเงิน รอเวลา ให้ใช้สิ่งที่คุณมีก่อน
7. ปั่นจักยานอย่างไอน์สไตน์ NEVER STOP CREATING
- ชีวิตเหมือนการปั่นจักรยาน หยุดปั่นเมื่อไหร่ก็ล้มเมื่อนั่น
- คุณสุทธิชัย หยุ่น ทำ live ทุกวัน ห้ามหยุดเรียนรู้เทรนด์ใหม่ๆ
8. ต้องล้มเหลวตลอดเวลา FAIL FAST, LEARN FAST
- การทำคอนเทนต์มีต้นทุนที่ไม่แพง คุณสามารถทดลองได้ครั้งแล้วครั้งเล่า A/B test ก็ได้ แต่คุณต้องกล้าที่จะล้มเหลว
- โทมัส เอวา เอดิสัน ล้มเหลวมาเป็นพันครั้งกว่าจะทำหลอดไฟได้ แต่มันคือการเรียนรู้พันครั้งที่ทำให้เขาสามารถประดิษฐ์หลอดไฟได้
- ปัญหาไม่ใช่กำแพง แต่คือสะพานไปสู่ความสำเร็จ
- ต้องรู้ว่าเราทำไปเพื่ออะไร ต้องเก็บ feedback ตลอดเวลา ทำไมคนชมเยอะ ทำไมโดนดราม่า เป็นตันทุนที่สำคัญในการพัฒนาตัวเอง
- เป็นสิ่งที่ต้องทดลอง ไม่ต้องเชื่อกูรู แต่เชื่อตัวคุณเอง เท้าต้องเปียกน้ำ เราต้องกระโดลงไปว่าย
9. กล้าหาญในการมี “จุดยืน” STAND UP FOR THE PEOPLE
- ถ้าไม่มีจะหวั่นไหวมากๆ
- ความเป็นกลาง หรือ ความเป็น​ธรรม: ทัศนคติคนมีความแตกต่าง ความเป็นกลางสำคัญมาก แต่ทำได้ยากมาก แทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะทุกคนมีความคิดเห็นในตัวเอง ความเป็นกลางวัดยาก
- ความเป็นกลางสำคัญ แต่ความเป็นธรรมสำคัญกว่า เราต้องให้พื้นที่กับทุกฝ่าย ต้องให้ข้อเท็จจริง ความเป็นจริงที่เขาสื่อสาร สิ่งนี้จะเป็นเกราะกำบังเรา ถ้าเรามั่นใจ มันจะทำให้เรารอดมาได้เสมอ
10 เดินหน้าพร้อมทีมที่ดี TEAM SPIRIT
- ทำงานร่วมกันกับทีม จิตวิญญาณแห่งความเป็นทีม ถ้ายังไม่มีต้องสร้างขึ้นมา ถ้ามีทีมงานที่ดีก็รักเขาให้มากๆ
- ล้มด้วยกัน ชนะด้วยกัน ร้องไห้กอดคอ ไม่โทษกัน
- เดินคนเดียวไม่สนุก เดินกับทีมจะทำให้เกิดความฮึกเหิม
1
==============
3. REASON BACK, LOOK FORWARD
==============
- ให้ทบทวนทุกอย่างที่เกิดขึ้น อะไรคือเหตุผลของการมีอยู่ของเรา แล้วลืมเหตุผลนั้นให้หมด เพราะถ้าคุณเอาเหตุผลนั้นมาเดินต่อ คุณจะเป็นคนที่ยึดติดกับความสำเร็จ
1
- ให้มองไปข้างหน้า เราไม่สามารถ predict the future แต่เราสามารถ create the future ได้
- การทำคอนเทนต์ มีความหลากหลาย คู่แข่งเยอะ แต่เป็นโลกที่สนุก ทำให้เราได้เจอผู้คน ให้มองไปข้างหน้าแล้วดูว่าอะไรเป็นสิ่งที่อยากสร้างให้กับอนาคตมากขึ้น อยากสร้างอะไรให้คนรับรู้ผ่านการทำคอนเทนต์
Session: ไขเคล็ดลับ เบื้องหลังความสำเร็จของ THE STANDARD
Event: iCreator Conference 2022 Presented by Supalai (Rainmaker)
Date: 24 Oct 2022 (14:40 - 15:25)
Speaker: เคน - นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ (THE STANDARD, The Secret Sauce)
#iCreator2022 #TheNextChapter #TheSecretSauce #THESTANDRD #เคนนครินทร์ #วันนี้สรุปมา
โฆษณา