Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Saratangtang
•
ติดตาม
30 ต.ค. 2022 เวลา 11:30 • สิ่งแวดล้อม
ฝูงผึ้งสามารถสร้างประจุไฟฟ้าได้
มีการวิจัยใหม่พบว่า ฝูงผึ้งสามารถสร้างประจุไฟฟ้า คล้ายกับสภาพอากาศตอนเกิดฝนฟ้าคะนอง
เยี่ยมชม
saradeestory.com
Saradeestory » ฝูงผึ้งสามารถสร้างประจุไฟฟ้าได้
มีการวิจัยใหม่พบว่า ฝูงผึ้งสามารถสร้างประจุไฟฟ้า คล้ายกับสภาพอากาศตอนเกิดฝนฟ้าคะนอง 1
ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร iScience เมื่อวันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม นักวิจัยจาก University of Bristol ในสหราชอาณาจักรซึ่งได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้โดยบังเอิญ
นักชีววิทยา Ellard Hunting กล่าวกับ CNN ว่าทีม Bristol กำลังศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตต่างๆ จะใช้สนามไฟฟ้าสถิตย์ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งในสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร
สนามไฟฟ้าสถิตย์ในบรรยากาศนี้มีหน้าที่หลากหลาย ส่วนใหญ่ใช้ในการกำหนดสภาพอากาศและช่วยเหลือสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น ช่วยในการหาอาหาร
ตัวอย่างเช่น ในทุ่งดอกไม้ที่มีสนามไฟฟ้า ซึ่งฝูงผึ้งสามารถรับรู้ถึงสนามไฟฟ้าเหล่านี้ได้ ทุ่งดอกไม้ไฟฟ้าเหล่านี้สามารถดึงดูดให้ผึ้งมาดูดเกสร และผึ้งตัวอื่นๆ ก็ใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อไปหาอาหารตามทุ่งดอกไม้เช่นกัน” ฮันติงอธิบาย
นักวิจัยได้ติดตั้งอุปกรณ์วัดสนามไฟฟ้าในบรรยากาศ ที่สถานีสนามของมหาวิทยาลัยซึ่งมีรังผึ้งอยู่หลายรัง Hunter และทีมงานของเขาสังเกตเห็นว่าเมื่อใดก็ตามที่ผึ้งจับกลุ่มกันเป็นฝูง และพบว่า “มีผลกระทบต่อสนามไฟฟ้าในบรรยากาศอย่างประหลาด” แม้ว่าสภาพอากาศจะไม่เป็นเช่นนั้น
แมลงทุกชนิดสามารถสร้างประจุไฟฟ้าในระหว่างการบินได้เช่นกัน อันเกิดจากการเสียดสีของปีกแมลงในอากาศ โดยขนาดของประจุไฟฟ้าจะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ซึ่งผึ้งแต่ละตัวสร้างประจุไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก แต่มักจะถูกมองข้ามโดยนักวิจัย
นักวิจัยสังเกตรังผึ้งบนสถานีภาคสนามโดยใช้กล้องบันทึกภาพและมอนิเตอร์สนามไฟฟ้า เพื่อวัดกระแสไฟฟ้ากับฝูงผึ้ง นักวิจัยพบว่า ฝูงผึ้งจะสามารถทำรังได้โดยต้องมีผึ้งนางพญาและประกอบไปด้วยจำนวนผึ้งงานประมาณ12,000 ตัว
จอภาพจะวัดกระแสไฟฟ้าได้ครั้งละประมาณ 3 นาที ขณะที่ฝูงผึ้งบินผ่าน และวัดประจุได้ตั้งแต่ 100 – 1,000 โวลต์ต่อตารางเมตร Hunting และเพื่อนร่วมงานสังเกตเห็นว่าสนามไฟฟ้าสถิตย์เริ่มไล่ระดับในอัตราสูงขึ้นเมื่อจำนวนฝูงผึ้งมีความหนาแน่นมากขึ้น พวกเขาพบว่ากำลังของไฟฟ้าสถิตย์ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของจำนวนฝูงผึ้ง ประจุไฟฟ้านี้ในบรรยากาศมีความคล้ายกับก้อนเมฆพายุ พายุฝนฟ้าคะนอง หรือพายุฝุ่นที่เกิดจากไฟฟ้า
เมื่อใช้แบบจำลองนี้ที่ใช้ร่วมกับฝูงผึ้ง ทีมงานได้จำลองแบบกะบแมลงสายพันธุ์อื่นๆ เช่น ตั๊กแตน ที่รวมตัวกันเป็นฝูง และตั้งทฤษฎีว่าพวกมันมีศักยภาพในการสร้างไฟฟ้าสถิตย์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นด้วย
Hunting กล่าวว่าเขาเชื่อว่าการค้นพบนี้ เป็นการเปิดช่องทางใหม่ในการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเกี่ยวข้องกันระหว่างธรรมชาติกับกระแสไฟฟ้าในชั้นบรรยากาศ
ที่มา :
https://edition.cnn.com/2022/10/26/world/bees-swarms/
ภาพ:Image by pvproductions on Freepik
เรื่องเล่า
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย