30 ต.ค. 2022 เวลา 13:30 • การศึกษา
ความแตกต่างระหว่างการซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค กับ การซื้อทรัพย์สินมาประกอบกิจการแล้วบริจาค >>>
1. การซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค
1.1 ภาษีซื้อ เคลมไม่ได้ เพราะถือเป็นภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ (ต้องห้ามตามมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร) และภาษีซื้อไม่สามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายได้ (ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(6ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร)
1.2 ต้นทุนทรัพย์สินที่ซื้อมา แบ่งพิจารณา ดังนี้
(1) บริจาคให้องค์กรสาธารณกุศล ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นรายจ่ายได้แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ (ตามมาตรา 65 ตรี(3)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร) ซึ่งแปลว่า หากบริษัท ประกอบกิจการขาดทุน ก็ไม่สามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายได้ และการบริจาคให้องค์กรสาธารณกุศลไม่มีภาษีขาย ณ ตอนโอนทรัพย์สิน (ยกเว้น)
(บริษัทต้องขอหนังสือขอบคุณ หรือ ใบอนุโมทนา ระบุมูลค่าทรัพย์สินที่บริจาค + เก็บใบเสร็จรับเงิน หรือ ใบกำกับภาษี ตอนซื้อทรัพย์สินไว้เป็นหลักฐานด้วย)
(2) บริจาคให้องค์กรที่ไม่ใช่สาธารณกุศล ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ต้นทุนที่ซื้อมาไม่สามารถลงเป็นรายจ่ายได้ และมีภาษีขาย ณ ตอนโอนทรัพย์สินด้วย
2. การซื้อทรัพย์สินมาเพื่อประกอบกิจการแล้วบริจาค
2.1 ภาษีซื้อ เคลมได้ เพราะถือว่าเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร
2.2 ต้นทุนทรัพย์สินที่ซื้อมาลงเป็นรายจ่ายได้ ในรูปของค่าเสื่อมราคา และหากภายหลังนำทรัพย์สินไปบริจาค Book Value ที่เหลืออยู่ ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 1.2 (1) และ (2)
ดังนั้น หากบริษัทประสงค์จะซื้อทรัพย์สินไปเพื่อบริจาค บริษัทควรเลือกบริจาคเป็นเงินสดมากกว่าบริจาคเป็นทรัพย์สิน และให้ผู้รับบริจาคไปซื้อทรัพย์สินที่ต้องการเอง บริษัทก็ไม่ต้องมาวุ่นวายกับภาษีซื้อต้องห้ามและภาษีขาย ณ ตอนบริจาค
*เงินสด ไม่ถือเป็นสินค้าหรือบริการ จึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) ณ ตอนบริจาคเป็นเงินสด
ขอบคุณรูปภาพประกอบบทความจาก PIXABAY
เพจ VI Style by MooDuang
โฆษณา