30 ต.ค. 2022 เวลา 13:45 • ข่าวรอบโลก
อิแทวอน คลาสสส:
บทเรียนคืนฉลองฮาโลวีน
CULTURE SHOCK! :: คนเกาหลีบอกว่า การที่คนไทยไม่เบียดเข้าไปในรถไฟฟ้าตอนเช้าที่แน่นๆ ถือเป็น คัลเจอร์ ช็อค!!!
นี่เป็นคำบอกเล่า ที่ได้ยินมาจากช่องยูทูปช่องนึง ก่อนเหตุการณ์เหยียบกันที่อิแทวอน
RIP to Itaewon Night OCT 29th 2022
จำชื่อช่องไม่ได้ แต่สาวเกาหลีท่านนั้น ถามเพื่อนคนไทยว่า ทำไมคนไทยถึงยอมรอรถไฟขบวนถัดไป เธอบอกว่ามันเป็นเรื่องปกติมากของ #คนเกาหลี และ #คนญี่ปุ่น ต่อให้แน่นแค่ไหน ก็ต้องเบียดเข้าไปให้ได้
คนไทยที่เป็นเพื่อนเธอ บอกไม่ชอบโดนเนื้อตัวกับคนเยอะๆ และเห็นว่าการรอขบวนถัดไป ไม่เป็นไร แต่คนเกาหลีว่าเป็นเรื่องแปลกมากๆ ทำไมไม่รีบ ... ด้วยนิสัยคนไทยอะนะ ชิลล์ๆ ไม่เร่งร้อน ยอมรอ แต่ไม่ยอมเบียดเสียด
จะว่าไป ก็ไม่ใช่คนไทยทุกคนที่ไม่ชอบเบียดเสียด เวลามีงานสงกรานต์ งานคอนเสิร์ต งานเค้าท์ดาวน์ปีใหม่ ฯลฯ ก็จะมีคนไทยส่วนนึง ที่ชอบบรรยากาศรื่นเริง ในมวลมหาชน เต็มไปด้วยคลื่นมนุษย์ อยู่ไม่น้อย
แต่โดยส่วนตัว เคยสัมผัสกับบรรยากาศแบบนั้นจริงๆ สมัยยังทำงานแถวสาทร แถวอโศก รถไฟฟ้า BTS มันแน่นมาตั้งแต่ก่อนปี 2010 หลายปีแล้วรู้ไหม? 555 เราเองก็เป็นคนนึง ที่ยอมรอรถขบวนถัดไป ใยจะต้องเอาตัวแทรกเข้าไปในที่ที่ไม่มีช่องให้แทรกแล้ว? เคยทำแล้วมันก็ทรมาน การออกไปทำงาน ต้องเผื่อเวลามาแล้วในระดับนึง ถ้ายอมอีกซักขบวน เราต้องเป็นคนแรกๆ ที่ได้เข้าเป็นแน่ เพราะคนไทยเข้าแถว มีมารยาทอยู่นาา
ล่าสุด งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่สิริกิตไง วันแรกของงาน ตรงกับวันหยุด คนออกต่างจังหวัดกันเยอะ ก็คิดว่างานโล่งๆ แต่พอถึงงาน ยิ่งกว่า Culture Shock ก็งานหนังสือเนี่ยะแหละ คนแน่นเอี๊ยดด เบียดเสียดแทบไม่มีที่เดิน
ส่วนนึงเห็นผู้คนเยอะก็ดีใจนะ คนไทยรักการอ่านหนังสือขนาดนี้ ชาติเราต้องเจริญแน่ๆ (แต่เปล่า หนังสือการ์ตูน Y ชายรักชายปาเข้าไปครึ่งฮอลล์ได้จ้า อีกครึ่งงานก็แบ่งซอยเป็นหนังสือประเภทต่างๆ)
1
งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ OCT2022 ไม่มีที่เดิน
แต่ด้วยนิสัยเรา ไม่รู้ว่าเหมือนคนไทยส่วนใหญ่รึเปล่า ยอมกลับ ไม่ยอมเบียดจ้า คือมันแน่นมากๆๆ ไม่มีรูให้เดินเลย จะหยิบจับหนังสือขึ้นมาดู ก็ไม่ถนัดในทุกบูธ ร้านอาหารต่างๆ คนยังแย่งกันกินเหมือนของฟรี ทั้งที่กว่าจะกลับรถเข้างานได้ รถติดใต้สะพานนานมากกก (เค้าไม่ยอมให้กลับรถหน้างานแล้วเลี้ยวขวาเข้างาน ให้ไปอ้อมกลับตรงที่รถติดๆ) แล้วยังกว่าจะหาที่จอดได้ ได้ที่จอดแล้ว ยังยอมใจกลับบ้านเลย คนมันแน่นจริงๆ ค่อยมาใหม่ละกัน
เชื่อว่าถ้าเป็น #คนจีน คนเกาหลี คนญี่ปุ่น ต้องไม่ยอมแพ้ให้กับเรื่องนี้แน่นอน ไปถึงถิ่น ต้องได้สิ่งที่ต้องการก่อน ไม่งั้นจะไปเพื่ออะไร? นี่แหละ ... นิสัย แนวคิด ของคนแต่ละชาติ ทำให้เราคิดไม่เหมือนกัน “ฉันต้องการอากาศ” “ฉันต้องการหายใจ” ไม่มีที่ให้เดินก็กลับ .....
เราเคยไปอยู่เมืองจีนมาก่อน เวลาห้องสมุดกว่างโจวเปิด คนก็กรูเข้าไปแย่งหาที่นั่งอ่านหนังสือ ทั้งที่ห้องสมุดใหญ่มากๆ มีหลายอาคาร หลายชั้น เดินวน 10 รอบ ก็ไม่มีที่ให้นั่ง เพราะโดนมืออาชีพจองไปหมดแล้ว
นี่ไง เราไม่โตมาแบบนั้น ที่จะต้องแย่งชิง ไม่ได้โตมาในประเทศที่ประชากรหนาแน่น ชินกับการที่คนเยอะๆ คนไทย(แบบเรา) เลยเป็นคนนิสัย ยอมมม ในสิ่งที่ไม่ไหว ... แบบเดียวกับที่เราไม่ชอบเมืองเซี่ยงไฮ้ ไปแล้วคนเยอะทุกซอกทุกมุม แค่จะถ่ายรูปกับหอไอเฟล เอ้ย หอไข่มุก ต้องหารูเบียด รูแทรก รอคนเยอะๆ ออกไปก่อนเป็นชั่วโมงถึงหาจังหวะถ่ายได้
การอยู่ในที่ Crowded เร่อเน่า นิกิยากะ เป็นสิ่งทรมานสำหรับเรา
ไทยเราเองก็มีสำนวน มากคน มากความ จึงขอหาที่ตั้งหลักก่อนเถอะ
อ้อ...ยังมีอีกประเทศนึง ที่ใดๆ แล้ว ไม่แพ้คนญี่ปุ่น ไม่แพ้คนจีน ไม่แพ้คนเกาหลี การไม่เบียดกัน คงเป็น Culture SHOCK ของ “คนอินเดีย” เช่นกัน
เบียดกันขึ้นรถไฟที่อินเดีย
นี่ก็เพิ่งดูช่อง “แบกเป้เก้อ” ของน้อง ซันนี่ อาทิตย์ก่อน มันเป็นการผจญภัยที่สุดมาก มีการรีวิวรถไฟ ชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ที่อินเดียให้ดู งานนี้ไม่อาจให้คะแนนได้ว่าใครอึดกว่าใคร ระหว่าง อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ต้องไปดูเอาเองนะ ว่าแค่ไหน ที่ไม่มีจะให้ยืนแล้ว ยังเบียด ยังดัน เอาให้ตายกันไปข้างเลยสิ น้องซันนี่ นี่มันสุดยวดจริงๆ แบกแบคแพค ถือกล้อวเซลฟี่ทำยูทูป แล้วยังเบียดขึ้นไปสำเร็จอะ
อ้อ ... ลืมบอกไป ว่าเราก็มีประสบการณ์มาก่อน ในนาทีชุลมุนหนีตาย ... มีอยู่ครานึง ที่เมืองไทยเริ่มมีสถานการณ์ไม่สงบ มีการวางระเบิดทั่วกรุงเทพ ซัก 10 กว่าปีก่อนเห็นจะได้
ตอนนั้น ไม่รู้ข่าววงในมาก่อน ก็ไปแฮงค์เอ้าท์กะเพื่อนเป็นปกติที่ซีคอนฯ (ตอนนั้นมีสาขาศรีนครินทร์ที่เดียว) อยู่ๆ บทข่าวจะมาก็มา ขนาดสมัยนั้น โซเชี่ยลไม่เท่าทุกวันนี้ มีโทรศัพท์ มีปากต่อปากในห้าง ยังน่ากลัวมากๆ เลย
ตอนอยู่ในห้างเป็นตอนบ่ายๆ ได้ เริ่มมีข่าว และคนก็เริ่มเดินเริ่มวิ่งออกไปประตูใหญ่ บ้างก็ยังไม่รู้ข่าว มีร้านเห็นคนวิ่งออกจากห้าง ก็ตะโกนถาม “วิ่งกันทำไมอะน้อง” มีคนตอบ “หนีระเบิด” เท่านั้นแหละ เจ้าของร้านหันไปตะโกนบอกลูกน้อง ทิ้งร้านๆ ไม่ต้องเก็บ
ต่างคนต่างกรูกันไปยังประตูทางออก ( ลานจอดรถติดมาก บอกเลย ใครอย่าคิดลงไปเอารถ) ภาพประตูทางออก ยังตราตรึงมาทุกวันนี้ เหมือนจะเหยียบกันตาย สีหน้าตื่นกลัวของแต่ละคน ยิ่งทำให้คนยิ่งเบียด และออกกันไปแทบไม่ได้ เพราะทุกคนต่างมีเป้าหมายเดียวกัน คือ “เอาตัวรอด” ภาพแบบเดียวกับทางออก “ซานติก้าผับ” แต่เป็นเวอร์ชันคนเป็น
ดูยทูป ที่อินเดีย + ฟังทัศนคติ คนเกาหลี + นึกถึงภาพในวันประวัติศาสตร์แล้ว ต้องขอบคุณเมืองไทย ที่หล่อหลอมดิฉันให้เป็นคนสบายๆ ไม่เป็นไร เกรงใจ ยิ้มไตยแลนด์ ไม่คิดเอาตัวเข้าไปหายใจในที่อากาศน้อย หรือพยายามหลีกเลี่ยงที่ชุมชนหมู่มากชนิดไม่มีที่เดิน
คนไม่เคยผ่านเหตุการณ์ ไม่เข้าใจหรอก ว่ามันน่ากลัวขนาดไหน แต่คนเคยมาแล้ว บอกได้เลยว่า ถ้าเวลาคนกลัวพร้อมๆ กัน แตกตื่น หาทางเอาตัวรอด พาตัวเองหลบภัยพร้อมกันนั้น มันเหมือนภาพหลอน หลอนยิ่งกว่า Criminal Minds และเป็นวินาทีแห่งความเป็นความตาย
สุดท้ายจะว่าเป็นที่ดวง หรือวาระถึงคราวใดๆ ก็ตามแต่ แต่สิ่งที่เรารับรู้ ไม่ว่าเราจะประสบพบเห็นด้วยตัวเอง หรือเห็นผ่านข่าว ผ่านสื่อ มันก็ “เป็นบทเรียน”สอนใจว่า อย่าได้พาตัวเองเข้าไปในที่สุ่มเสี่ยง แม้จะไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เป็นสิ่งที่ดีกว่า
มวลมหาชน งานไหล งานแห่ ที่ปริมาณผู้คนเกินจะควบคุม ไม่เข้าไปได้ จะเป็นดี
คนที่ดูทีวีอยู่บ้าน ก็มี Probability ที่จะเกิด Risk of Death ไม่เท่าคนที่ไปงานเบียดหรอก ว่ามั้ย!?
โฆษณา