31 ต.ค. 2022 เวลา 00:55 • ความคิดเห็น
Shiny Object Syndrome - อาการของคนตามหาของเล่นใหม่เรื่อยไป
3
ลองถามตัวเองว่าเรา (หรือคนรอบตัว) มีอาการเหล่านี้หรือไม่
ชอบลองของใหม่ๆ อยู่ตลอด ไม่ว่า "ของ" ในที่นี้จะเป็น product, services, หรือ framework ในการทำงาน
9
ชอบริเริ่มโปรเจ็คใหม่ๆ ด้วยความกระตือรือร้นอย่างเต็มที่ แต่ผ่านไปได้ไม่กี่สัปดาห์ก็ทิ้งโปรเจ็คเดิมไปทำโปรเจ็คอื่น จนแทบไม่มีโปรเจ็คไหนเสร็จเป็นชิ้นเป็นอัน
7
ถ้าฟังดูแล้วคุ้น แสดงว่าเรา(หรือเขา) อาจกำลังประสบกับ SOS - Shiny Object Syndrome อาการของคนที่เห็นอะไรสุกสกาวแวววาวเป็นไม่ได้ ต้องกระโจนเข้าหาตลอด
3
เรื่องส่วนตัวก็อย่างคนที่ต้องซื้อ gadget ใหม่ๆ เข้าบ้านตลอด
ตัวอย่างในองค์กรก็เช่น framework การทำงานที่ผู้บริหารชอบเอามาใช้กันอย่าง Digital Transformation, Agile, Scrum, OKR, CFR, Gamification etc.
2
ในวงการ content creator ก็มี shiny object syndrome ให้เห็นอยู่เหมือนกัน ช่วงแรกเฟซบุ๊คดังคนก็แห่กันเปิดเพจ จากนั้นก็เป็นยุคของคนทำพ็อดแคสต์ พอเฟซบุ๊คมี FB Live ออกมาก็มีหลายคนหันไปทำ FB Live จากนั้นพอ Elon Musk จุดกระแส Clubhouse คนก็แห่ไปออก Clubhouse และตอนนี้ TikTok กำลังมาคนก็ไปทำวีดีโอติ๊กต่อกกันสนุกสนาน
5
ซึ่งในฐานะบล็อกเกอร์คนหนึ่งก็เข้าใจว่าเมื่อเครื่องมือใหม่ๆ มาเราก็ควรต้องเรียนรู้เอาไว้ เพราะเทคโนโลยีนั้นอายุสั้น เฟซบุ๊คไม่ได้อยูค้ำฟ้า หากของใหม่มาแล้วเราไม่ลองใช้เราก็อาจกลายเป็นคนหลงยุคสักวันหนึ่ง
2
Shiny Object Syndrome นี้เขาบอกว่ามีต้นทางมาจากตอนเด็กๆ ที่เราอยากจะได้ของเล่นชิ้นใหม่ทั้งที่ของเก่าเราก็ยังใช้ได้อยู่
เมื่อเห็นของใหม่แล้วตาวาว เราจึงแทบไม่เคยเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรามีอยู่
3
ผมคิดว่าอีกหนึ่งสาเหตุหลักของ Shiny Object Syndrome คือ "ความหวัง" ที่ Oliver Burkeman เขียนเอาไว้ในหนังสือ Four Thousand Weeks
3
ความหวังว่าเราจะเจอเครื่องไม้เครื่องมืออะไรบางอย่างที่จะเปลี่ยนชีวิตเราให้กลายเป็นคนในอุดมคติที่จัดการทุกอย่างได้อยู่หมัด
4
แต่เราก็ต้องผิดหวังอยู่เสมอเพราะเครื่องมือนั้นไม่มีอยู่จริง แต่เราก็ไม่วายหลอกตัวเองด้วยการวิ่งหาสิ่งใหม่เรื่อยไป
2
Shiny Object Syndrome นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ผมคิดว่ามีข้อเสียเยอะกว่า
ข้อดีคือเราจะเป็นคนไม่ตกยุคและอาจะฟลุ้คได้ของที่มันจะเปลี่ยนชีวิตเราได้จริงๆ
ข้อเสียคือเรามีความเสี่ยงจะกลายเป็นคนหยิบโหย่ง ทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่างเพราะไม่มีความอดทนที่จะอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานพอ ในขณะที่ของดีมีคุณค่าต้องใช้เวลาด้วยกันทั้งนั้น
4
และถ้าเราเป็นผู้บริหารที่มีอาการ SOS ลูกน้องก็จะสับสนเพราะเราเปลี่ยน focus อยู่ตลอดเวลา นานๆ เข้าลูกน้องก็จะรู้ตัวว่าไม่ต้องทุ่มเทมากก็ได้เพราะเดี๋ยวนายก็เปลี่ยน เดี๋ยวนายก็ลืมอีก
2
แล้วเราจะเอาชนะอาการ Shiny Object Syndrome ได้อย่างไร?
ผมก็ไม่แน่ใจนัก แต่ถ้ามีคนถามแนวทางที่ผมให้คงประมาณนี้
- เห็นคุณค่าของสิ่งที่เรามีและสิ่งที่เรากำลังทำ
- เตือนตัวเองว่าความสำเร็จไม่มีทางลัด
- เลิกหวังว่าเราจะเจอ software/hardware/framework อะไรที่จะทำให้ชีวิตเราเพอร์เฟ็กต์
- มี craftsman mindset ที่จะอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานพอจนเราสามารถเก็บเกี่ยวคุณค่าจากมันได้จริงๆ ครับ
12
โฆษณา