Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Sokochan Fullfillment
•
ติดตาม
31 ต.ค. 2022 เวลา 06:05 • ธุรกิจ
รู้จักโครงสร้างองค์กรแบบ Flat ที่บริษัทยุคใหม่นิยม
แตกต่างจากโครงสร้างแบบลำดับขั้นอย่างไร ?
รู้จักโครงสร้างองค์กรแบบ Flat ที่บริษัทยุคใหม่นิยม แตกต่างจากโครงสร้างแบบลำดับขั้นอย่างไร
ตั้งแต่ที่โลกนี้มีการทำงานในลักษณะองค์กร เราก็คุ้นเคยกับการจัดผังองค์กรในลักษณะลำดับขั้นหรือ Hierarchical มาตลอดนะคะ ว่าบริษัทจะต้องมีผู้บริหารสูงสุด เพื่อสั่งงานผู้จัดการในระดับรอง แล้วสั่งงานหัวหน้าระดับย่อย ก่อนที่จะมาถึงพนักงานทั่วไป แต่ปัจจุบันนั้นมีรูปแบบโครงสร้างองค์กรอีกแบบที่บริษัทยุคใหม่เริ่มนิยมทำกันคือองค์กรแบบเรียบหรือ Flat ที่แทบทุกตำแหน่งในบริษัทนั้นมีความสำคัญพอๆ กัน แล้วโครงสร้างองค์กร 2 แบบนี้แตกต่างกันอย่างไร Sokochan จะเล่าให้ฟังค่ะ
การจัดโครงสร้างองค์กรในแบบลำดับขั้นหรือ Hierarchical นั้นมีข้อดีคือได้การทำงานที่เป็นสัดเป็นส่วน เพราะมีการแบ่งแผนกต่างๆ ชัดเจน พนักงานแต่ละคนก็ทำงานในเชิงลึกที่ตัวเองเชี่ยวชาญไปเลย เพราะไม่ต้องทำอะไรที่นอกเหนือจากความถนัดของตัวเองมากนัก
ทำงานอยู่ในแผนกของตัวเองเป็นหลัก นอกจากนี้เส้นทางอาชีพหรือ Career Path ยังชัดเจน ว่าจากตำแหน่งเริ่มต้นจะสามารถเติบโตเป็นตำแหน่งไหนได้ต่อไปในองค์กร ซึ่งก็เป็นวิธีการจัดองค์กรที่เหมาะสมสำหรับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีพนักงานหลายสิบหลายร้อยคน เพราะสามารถติดตามการทำงานได้ง่าย ทุกคนมีหน้าที่ชัดเจน
แต่จุดอ่อนของการจัดโครงสร้างองค์กรแบบลำดับขั้นคือความซับซ้อนและความช้าในการทำงานค่ะ เช่นการสั่งงานหรือการสื่อสารในองค์กรก็ต้องผ่านลำดับขั้นมากมาย การสั่งงานมาจากบนลงล่าง จะประสานงานกับแผนกอื่นๆ ส่วนงานอื่นๆ ก็ต้องเข้าให้ถูกลำดับขั้น ถ้าสั่งงานแบบข้ามหัวกันก็เกิดปัญหาในองค์กรขึ้นมาอีก ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนที่ทำงานในองค์กรน่าจะเคยเจอกันมานะคะ จนเกิดปัญหาก้าวตามความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วไม่ทัน หากฝ่ายบริหารไม่สามารถสั่งการได้อย่างทันท่วงที
ส่วนการจัดโครงสร้างองค์กรแบบเรียบหรือ Flat นั้นจะมีฝ่ายบริหารไม่กี่คน เป็นผู้นำองค์กรจริงๆ ส่วนระดับกลางในบริษัทนั้นจะไม่มีผู้จัดการเหมือนองค์กรแบบลำดับขั้นนะคะ ทำให้พนักงานไม่ได้มีกลุ่มก้อน หรือมีแผนกที่เหนียวแน่น พนักงานแต่ละคนมีคุณค่า มีความสำคัญพอๆ กัน แม้ว่าการจัดองค์กรในลักษณะนี้พนักงานก็ยังมีเรื่องที่ตัวเองเชี่ยวชาญอยู่
แต่ก็สามารถข้ามไปทำงานอื่นๆ ที่ตัวเองสนใจและสร้างประโยชน์ให้กับบริษัทได้เช่นเดียวกัน พนักงานจึงมีความสามารถรอบด้าน ทำงานได้หลากหลายประเภท หรือมีทักษะแบบตัว T ที่ Sokochan เคยเล่าไป ทำให้องค์กรแบบ Flat นั้นทำงานได้รวดเร็ว การตัดสินใจต่างๆ เกิดในไม่กี่ลำดับขั้น ก็เป็นรูปแบบการทำงานที่เหมาะสำหรับ StartUp ธุรกิจเกิดใหม่ทั้งหลายค่ะ
แน่นอนว่าการจัดองค์กรแบบเรียบนั้นก็มีข้อเสียอยู่ด้วยคือ พนักงานอาจรู้สึกว่าตัวเองเป็นเป็ด ทำอะไรเยอะแยะไปหมด แต่ไม่เห็นจะเชี่ยวชาญเชิงลึกเลย เส้นทางอาชีพก็เลยไม่ชัดเจนว่าจะเติบโตต่อในด้านไหนยังไง
นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องปริมาณงาน เพราะไม่มีหัวหน้าคอยกรอง คอยจัดการงานในทีมให้ และการที่ทุกคนแยกกันทำงาน อาจมีปัญหาด้านวิสัยทัศน์ หรือการมองภาพกว้างของเรื่องต่างๆ ได้ เพราะขาดหัวหน้าในระดับกลางคอยดูภาพรวมของทีมต่างๆ ซึ่งผู้นำขององค์กรต้องเก่งจริงๆ ที่จะมองทั้งภาพรวมบริษัทให้ขาด และมองภาพรวมย่อยๆ ในองค์กรให้ออกค่ะ
ซึ่งการเลือกใช้รูปแบบโครงสร้างแบบไหน ก็ต้องเลือกให้เหมาะกับพนักงานในบริษัทด้วยนะคะ อย่างแบบ Flat ก็ต้องอาศัยพนักงานที่มีความรับผิดชอบสูงกว่า มีความยืดหยุ่นในการเรียนรู้มากกว่า เปิดกว้างรับสิ่งใหม่ๆ มากกว่าด้วยค่ะ บริษัท StartUp จึงมักเริ่มต้นจากแบบ Flat เพราะทีมงานน้อย และเป็นบริษัทก็สามารถคัดคนที่เหมาะสำหรับองค์กรเข้ามาได้เลยค่ะ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย