Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BETTERCM
•
ติดตาม
31 ต.ค. 2022 เวลา 13:15 • สุขภาพ
DIAMOX VS Altitude Sickness
🧗♂️ช่วงนี้คงเป็นหน้าเทศกาลปีนเขาคิลิมานจาโร เพราะมีหรั่งมาร่ำลาไปปีนเขาท่องป่าซาฟารีกันเป็นเดือน พร้อมทั้งถามหายา DIAMOX เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากการปีนเขาสูง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า จากสถานการณ์โควิด บริษัทยาได้เลิกนำเข้ายา DIAMOX.ใครอยากได้คงต้องไปหาจากต่างประเทศสถานเดียว
🧞♀️Acute mountain sickness (AMS) / Altitude Sickness โรคที่เกิดจากการขึ้นไปบนที่สูง ที่มีความกดอากาศต่ำ ปริมาณออกซิเจนต่ำ จนทำให้เกิด hypoventilation ภาวะที่มีการหายใจผิดปกติ กล่าวคือ หายใจช้า หายใจตื้น หายใจแผ่วเบา และอาจถึงขั้นหยุดหายใจ ซึ่งจะส่งผลให้หายใจได้อากาศน้อยลง จนเป็นสาเหตุให้ร่างกายขาดอากาศหายใจ/อวัยวะต่างๆขาดออกซิเจน (hypoxemia) จนอวัยวะต่างๆทำงานไม่ได้ และเกิดภาวะเลือดเป็นกรด มีอาการปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน อ่อนแรง นอนไม่หลับ
อาการแพ้ที่สูง ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดการคั่งของน้ำ จนนำไปสู่ภาวะสมองบวม ความดันสมองเพิ่มขึ้น และน้ำท่วมปอด / high-altitude cerebral edema (HACE), and high-altitude pulmonary edema (HAPE)
💊Acetazolamide (Diamox) เป็นยาขับปัสสาวะกลุ่มยับยั้งเอนไซม์ carbonic anhydrase
♦️ซึ่งเอนไซม์ชนิดนี้มีบทบาทสําคัญในการควบคุมการดูดกลับโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) และการหลั่งกรด (H+) ที่ท่อไตส่วน proximal
♦️นอกจากนี้สามารถพบเอนไซม์CA ได้ที่เนื้อเยื่อบริเวณระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ซึ่ง ACZ จะออกฤทธิ์เช่นเดียวกับบริเวณท่อไตส่วนต้นคือ ยับยั้งเอนไซม์ CA ทำให้ Na+ เข้าเซลล์ลดลง การแลกเปลี่ยน Na+ กับ K+ ในกระบวนการ Na+/K+ ATPase ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการผลิตน้ำไขสันหลัง (CSF) ถูกรบกวน นำไปสู่การผลิต CSF ลดลง ดังนั้นมีการนำ ACZ มาใช้ในการรักษาเสริมภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองในผู้สูงอายุ (NPH) หรือในกรณีที่ไม่สามารถทำ shunt surgery ซึ่งเป็นการรักษาหลักของภาวะ NPH.
♦️นอกจากนี้ยังใช้รักษาต้อหิน
🎯ในกรณีที่ปีนเขาสูง หลังจากลงมาพักที่ระดับความสูง 1000 เมตร พักผ่อนแล้วไม่ดีขึ้น ให้กิน DIAMOX 250.มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
🎯สำหรับการป้องกัน ให้ปรับร่างกายที่ระดับความสูง 600-1200 เมตร หรือปีนเขาไม่เกินวันละ 300 - 600 เมตร ถ้าไม่ดีขึ้นให้กิน DIAMOX 125 - 250.มิลลิกรัม วันละ 2-3 ครั้ง โดยกินก่อนปีนเขา 1-2 วัน และให้กินติดต่อกันไปอีก 1-2 วัน การใช้ยาป้องกันไม่ควรใช้กับเด็ก
🛑ห้ามใช้ ในผู้ที่แพ้ยาซัลฟา ผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต hyponatremia, hypokalemia, หรือ metabolic acidosis
หญิงมีครรภ์
🌀อาการข้างเคียงจากการใช้ยา
รู้สึก ชาๆ เสียวแปลบๆ อาจคล้ายมีเข็มทิ่มแทง (Paraesthesia)
การรับรสเปลี่ยนแปลงไปไม่ตรง กับความเป็นจริง (DYSGEUSIA)
สมดุลย์เกลือแร่เปลี่ยนแปลง (glycemic and/or electrolyte changes)
ปัสสาวะมากผิดปกติ (diuresis)
ภาวะเลือดเป็นกรดจากการมีไบคาร์บอเนต (HCO3) ในเลือด (metabolic acidosis)
📌มีการปรับใช้แอสไพริน 320 มิลลิกรัม กินภายใน 1 - 2 ชั่วโมง เมื่อปีนเขาถึงความสูงเป้าหมาย โดยกินประมาณ 3-4ครั้ง หรืออาจใช้ไอบูโพรเฟน 600 มิลลิกรัม กิน3เวลา โดยเริ่มกินก่อนปีนเขา 6 -24 ชั่วโมง (อาจปรับใช้ NSAIDS ตัวอื่น เช่น Naproxen)
📌นอกจากนี้อาจใช้จิงโกะ 60 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หรือ 80 -120 มิิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง กินต่อเนื่องไปจนกว่าจะเริ่มปีนเขา โดยอาจกินร่วมกับอาหารเสริมอื่นๆ เช่น ascorbic acid, tocopherol และ lipoic acid
🚅คนไทยที่จะนั่งรถไฟไปธิเบต ก็คงต้องเตรียมตัวเตรียมร่างกายให้แข็งแรง จะได้ไม่เป็นโรคเมาความสูง อาจจะเตรียมเครื่องวัดออกซิเจนพกพาไปด้วย รายละเอียดเพิ่มเติม
http://earist-gui.blogspot.com/2019/12/2-diamox.html
🏔️ส่วนคนจากที่สูงเช่นจากหิมาลัย เมื่อลงมาเที่ยวยังพื้นราบ เช่นเชียงใหม่ บางคนก็ปรับตัวไม่ได้ มีปัญหาที่เกิดจากความกดอากาศสูง ได้รับออกซิเจนมากกว่าปกติจนอาจเกิดอาการทางกายเช่นหน้าแดง ปวดหัว ตัวร้อน ซึ่งก็คงต้องรักษาไปตามอาการที่เกิดขึ้น
😀มีปัญหาเรื่องการใช้ยา เชิญปรึกษาเภสัชกร
.
.
💢
https://www.uspharmacist.com/article/the-pharmacists-role-in-the-treatment-and-prevention-of-acute-mountain-sickness
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/webboard/wball.php?idqa=19
.
.
อ่านเพิ่มเติม
https://m.facebook.com/216848761792023/posts/1813007075509509/
https://www.thaitravelclinic.com/blog/th/other-travel-tips/thai-altitude-sickness-3-diamox.html
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK532282/
The use of acetazolamide for the prevention of high-altitude illness
https://academic.oup.com/jtm/article/27/6/taz106/5693888
🤢 ไปขึ้นเขา SpO2 85 % ไปต่อได้จริงๆ ใช่มั้ยวิ ?
สะดุ้งตื่นมาตอนกลางคืนพร้อมกับอาการใจสั่น ยกข้อมือดูนาฬิกา Heart Rate 112 SpO2 82% อันนั้นคือคืนแรกที่นอนบน Panalaban Basecamp ณ ความสูงระดับ 3272 เมตร (โดยปกติ นาฬิกาจะจับได้ประมาณ SpO2 90-96% จะไม่ค่อยแม่นมากอยู่แล้ว แต่ดูเป็นแนวทางได้ คิดว่าค่าจริงน่าจะอยู่ประมาณ 85-90% นี่แหละ)
❓ คำถามคือ
SpO2 85 % ควรกังวลมั้ย ? แล้วไปต่อได้รึเปล่า ?
✅ คำตอบคือ อันที่จริง Hypobaric Hypoxia นี่เป็นเรื่องที่ธรรมดามากของ Mountain Medicine ค่ะ ไม่แปลกใจและตกใจเลยสักนิดเดียว ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วเป็นสาเหตุจากภาวะพร่องออกซิเจน สรุปคือ ไปต่อได้ค่ะ ไปแตะขอบฟ้ากันต่อ
🗻 ยิ่งขึ้นที่สูง อากาศยิ่งเบาบางค่ะ ความกดอากาศจะต่ำลง เช่น
⬇️ ณ ความสูง ระดับน้ำทะเล ความกดอากาศ (Atmospheric Pressure) เท่ากับ 101 kPa และ PO2 21 kPa
⬆️ ณ ความสูง ของภูเขาเอเวอร์เรส 8848 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ความกดอากาศเหลือเพียง 33 kPa และ PO2 เหลือ 7.1 kPa
📉 กราฟด้านล่างจะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง ความสูง (เมตร) และค่า SpO2 เราจะเห็นว่าที่ความสูง 3500 เมตร โดยเฉลี่ย ค่า SpO2 จะอยู่ที่ +/- 85 % ดังนั้น ในการแปลผลว่า SpO2 ระดับไหนอันตราย เราจะต้องรู้ค่าปกติ (Normal value) ของแต่ละความสูงค่ะ ถึงจะเอามาประเมินได้
Lorente-Aznar, T. et al. (2016) Estimation of arterial oxygen saturation in relation to altitude. Med Clin (Barc) 147(10):435-440.
#HighAltitide #MountainMedicine #WildernessMedicine #ExpeditionMedicine #HypobaricHypoxia #ขึ้นที่สูง #ออกซิเจนต่ำเมื่อขึ้นที่สูง
https://solotraveller.food.blog/2022/11/07/🤢-ไปขึ้นเขา-spo2-85-ไปต่อได้จร/
https://www.facebook.com/100064686697164/posts/pfbid02iGvtQuRskhUyvbZtTqvr1bftdnfare4bVtAtXqubkmUZhmyaZKaUwoEfVhPDbwttl/
POSTED 2022.10.31
UPDATED 2022.11.07
บทความอื่น
เมารถ
https://www.blockdit.com/posts/625076c52235e460a8d1ed1f
https://www.blockdit.com/posts/61e81111c1d13e52a11d04ab
เวียนหัว บ้านหมุน
https://www.blockdit.com/posts/60db02ea6273bf05a68cfee1
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย