1 พ.ย. 2022 เวลา 02:41 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ภาพถ่ายใหม่จากกล้อง JWST
คราวนี้เป็นรูป Pillars of Creation หรือชื่อภาษาไทยคือ เสาแห่งการก่อกำเนิด (แน่นอนว่าคือก่อกำเนิดดาวฤกษ์) ที่เคยถ่ายด้วยกล้องฮับเบิลมาก่อน เมื่อปี 1995 แต่ครั้งนี้ JWST ถ่ายมันใหม่อีกครั้งในปี 2022 คมชัดและมีรายละเอียดมากกว่าเดิม โดยเป็นการถ่ายด้วยกล้อง Near Infrared Camera (NIRCam) ซึ่งเป็นคลื่น อินฟราเรดใกล้ช่วงแสงที่ตาเรามองเห็น
ดาวฤกษ์ที่มองไม่เห็นจากฮับเบิลก็มองเห็นได้จาก JWST ซึ่งนักดาราศาสตร์สามารถนำไปศึกษาและทำความเข้าใจกลไกการกำเนิดดวงดาวได้ดียิ่งขึ้น
ภาพแรกจาก JWST (2022) ถ่ายด้วยกล้อง NIRCam
ภาพจาก Hubble (2014)
โดย Pillars of Creation นี้เป็นส่วนหนึ่งของ เนบิวลานกอินทรีย์ (Eagle Nebula, M16) ในบริเวณกลุ่มดาวงู (Serpens) ห่างจากโลกประมาณ 6,500 ถึง 7,000 ปีแสง โดยเสาที่เห็นนี้มีความยาวประมาณ 4-5 ปีแสง (ในขณะที่ เนบิวลานกอินทรีย์ กว้างประมาณ 55-70 ปีแสง)
แล้วไม่กี่วันต่อมา กล้อง JWT ก็ได้เผนแพร่ภาพ Pillars of Creation อีกครั้ง โดยครั้งนี้เป็นการถ่ายด้วยกล้อง mid-infrared instrument (MIRI) ซึ่งเป็นคลื่นอินฟราเรดกลาง
การถ่ายภาพด้วย MIRI ทำให้เราเห็นรายละเอียดของฝุ่นหมอกได้ระเอียดมากยิ่งขึ้น โดยบริเวณที่กลุ่มหมอกมีสีฟ้าๆ เทาๆ เข้มข้นสูง คือบริเวณที่ กลุ่มก๊าซมีความหนาแน่น และมีความร้อนสูง และเมื่อความหนาแน่นมากถึงจุดหนึ่ง ความโน้มถ่วงจากมวลของสสาร จะดึงดูดให้ก๊าซเหล่านั้นยุบรวมกันเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์กลายเป็นดาวฤกษ์ดวงใหม่
ภาพจาก JWST (2022) ถ่ายด้วยกล้อง MIRI
สำหรับสีในภาพนี้ สีฟ้ากว่าคือวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ส่วนสีแดงกว่า คือวัตถุที่มีอุณหภูมิเย็นกว่า
ทำให้ภาพที่ออกมา ดูเหมือนมือปีศาจท่ามกลางพื้นหลังที่แดงฉาน เข้ากับช่วงเทศกาล Halloween พอดี
Credits: NASA, ESA, CSA, STScI; Joseph DePasquale (STScI), Alyssa Pagan (STScI)
อยากได้ข้อมูลที่ละเอียดขึ้น อ่านต้นฉบับได้ที่ : https://go.nasa.gov/3DEqFws
โฆษณา