2 พ.ย. 2022 เวลา 05:53 • การตลาด
ความ ‘เหมือน’ ที่แตกต่าง
เมื่อเกิดความสงสัย เราก็ต้องหาคำตอบมาให้ได้ว่าสิ่งที่ดูเหมือนกันอย่างนี้ แท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ หลังจากสอบถามจากบรรดาแม่ค้าทั้งหลายจึงได้ความกระจ่างชัดว่า สิ่งที่ผู้เขียนเห็นและคุ้นชินในอดีตนั้นเรียกกันว่า ‘ปลาทูสั้น’ หรือ ‘ปลาทูแม่กลอง’ นั่นเอง รูปร่างหน้าตาก็อย่างชื่อเรียกเลยค่ะ หน้าจะเป็นสามเหลี่ยมหน้ามน ตัวสั้นและป้อม ที่สำคัญเนื้อเยอะ ลำตัวจะมีสีเงิน หรืออมเขียว
นิดๆ ตาตำ แม่ค้ายังบอกอีกว่าหากใช้นิ้วกดลงไปที่ตัวปล าเนื้อจะเด้งคืนสู่สภาพเดิม ไม่บุ๋มลงไปเป็นรอยกด ส่วนรสชาติก็เป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่าปลาทูแม่กลองนั้นถือเป็นราชาแห่งปลาทูเลยก็ว่าได้ เนื้อแน่น หวาน มัน ในตัว รสชาตินี้แหละที่ผู้เขียนคุ้นเคยมาแต่เด็ก ไม่ว่าจะปลาทูสดหรือปลาทูนึ่งผู้เขียนไม่ติดเลยกินได้หมดหากแต่ปัจจุบันปลาทูสั้นเริ่มหดหายไปและถูกแทนที่ด้วย ‘ปลาทูยาว’ ‘ปลาลัง’ ‘ปลาอินโด’ ซึ่งเป็นปลาชนิดเดียวกัน ลักษณะตัวและรูปร่างเรียกได้ว่าแทบจะคล้ายคลึงกับ
ปลาทูสั้น ชนิดที่ไม่สังเกตแบบจริงๆ จังๆ ก็คงจะแยกไม่ออกเลย ถ้าจะเป็นข้อสังเกตง่ายๆ ก็คงตามชื่อเรียกนั่นแหละว่าถ้าตัวยาวหน้าแหลมก็ให้รู้ไว้เลยว่านั้นคือปลาลังเรื่องรสชาติหากไม่ใช้คอปลาทูแท้จริงๆ ก็อาจจะแยกลำบากสักหน่อย แต่หากใครเป็นคอปลาทูอย่างผู้เขียนแล้วละก็ ไม่ยากที่จะแยกแยะรสชาติและเนื้อสัมผัสของปลาทั้ง 2 ชนิด พูดกันตามตรงเนื้อปลาลังจะหยาบแห้งและมันน้อยกว่า จึงทำให้เมื่อนำมาทอดกิน เนื้อปลาจะแห้ง หยาบ และไม่หวานมันเหมือนกินปลาทูแม่กลองเลยแม้แต่น้อย
ปลาที่หน้าตาเหมือนปลาทูยังมีอีกพบเห็นได้บ้างก็อย่าง ‘ปลาทูปากจิ้งจก’ ที่หน้าตาละม้ายคล้ายกับปลาทูลังไม่ผิดเพี้ยน ต่างตรงที่มีขนาดตัวที่กว้างน้อยกว่าเล็กน้อย แต่รสชาติและเนื้อสัมผัสเหมือนกันเลยคือเนื้อหยาบและมันน้อย
โฆษณา