Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Techno Digi
•
ติดตาม
3 พ.ย. 2022 เวลา 01:47 • ข่าว
“อดีตบอร์ดสภาการศึกษา” ชี้ผนึก TRUE-DTAC ยกระดับ 7 นวัตกรรมเทคโนฯเรียนรู้
อดีตบอร์ดสภาการศึกษาฯ หนุนควบรวมทรู-ดีแทค เชื่อเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคและประเทศชาติ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา คาด TRUE และ DTAC ต้องปรับยุทธศาสตร์รองรับเงื่อนไข กสทช. แต่มั่นใจเป็นโอกาสในการสร้างความเปลี่ยนแปลงแก่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยให้ก้าวไกล
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 20 ต.ค.65 ที่ประชุม คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติเสียงข้างมากรับทราบการควบรวมธุรกิจ ระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC พร้อมกำหนดเงื่อนไข/มาตรการเฉพาะ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและการพัฒนากิจการโทรคมนาคม
ล่าสุด ทางด้านนายเกียรติชัย โสภาเสถียรพงศ์ นักการเงินการคลัง และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลังและอดีตบอร์ดสภาการศึกษาฯ ให้ความเห็นถึงการควบรวมกิจการระหว่าง TRUE-DTAC และการกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและการพัฒนากิจการโทรคมนาคม ตามประกาศ ปี 2561 ของกสทช. ว่า ตนเชื่อมั่นว่าการควบรวมดังกล่าวจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคและประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยีมาพัฒนามาตรฐานการศึกษาของประเทศไทย จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา
“การออกเงื่อนไขของกสทช.นั้นผมมองว่าเป็นทั้ง “ยาขม” และ “ความท้าทาย” ต่อการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจของทรูและดีแทค แต่มั่นใจว่าทรูและดีแทคจะสามารถปรับยุทธศาสตร์เพื่อรองรับเงื่อนไขของ กสทช. ได้ในที่สุด ซึ่งจะเป็นโอกาสในการสร้างความเปลี่ยนแปลงแก่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยให้ก้าวไกล” นายเกียรติชัย กล่าว
นายเกียรติชัย กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นสมาชิกบอร์ดสภาการศึกษามา 5 ปี ตนได้ประจักษ์ถึงบทบาทอันสำคัญของเทคโนโลยีที่จะมาช่วยพัฒนามาตรฐานการศึกษาของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา และยังคงยืนยันสนับสนุนการควบรวมครั้งนี้ ดังเช่นที่เคยเขียนเสนอความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับแผนการควบรวมระหว่างทรูและดีแทค ถึงกสทช. ตั้งแต่วันที่ 6 ก.ค.2565 ที่ผ่านมา ตนเชื่ออย่างแรงกล้าว่าแผนการควบรวมระหว่าง 2 บริษัทโทรคมนาคมครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย
และที่สำคัญด้วยสินค้าและบริการที่หลากหลายมากกว่าเดิมของทั้ง 2 บริษัทเทคโนโลยีนี้ ส่งผลให้ภาคธุรกิจโทรคมนาคมจะสามารถนำเสนอโซลูชันที่รวดเร็วในราคาที่ย่อมเยาว์ให้แก่ภาคการศึกษาไทยที่ยังมีความเหลื่อมล้ำและยังเกิดช่องว่างระหว่างกลุ่มคนในสังคมในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลการศึกษา เช่น ครูที่มีประสบการณ์และมีคุณสมบัติที่เหมาะสม หนังสือเรียน เทคโนโลยี ตลอดจนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ แก่โรงเรียน การควบรวมบริษัทโทรคมนาคมครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิด “นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการศึกษา” ได้แก่
(1) หนังสือดิจิทัลและแท็บเล็ต
(2) การพิมพ์ 3 มิติ
(3) เทคโนโลยีโลกเสมือน
(4) เกมมิฟิเคชั่น
(5) เทคโนโลยีคลาวด์
(6) ปัญญาประดิษฐ์
(7) เทคโนโลยีโมบายล์
อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าจากเงื่อนไขที่กสทช. กำหนดขึ้นมาสำหรับการควบรวมทรู-ดีแทคถือว่าสร้างความท้าทายให้แก่โอเปอร์เรเตอร์เครือข่ายโมบายล์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 และ 3 ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้ ให้ความสำคัญแก่ประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นสำคัญนั้น ทั้งยังเป็นการสร้างความเปลี่ยนแปลง (Disrupt) กลยุทธ์ของทรูและดีแทค ในอนาคตอีกด้วย เพราะการระบุเงื่อนไขที่ยังคงแบรนด์การให้บริการแยกจากกัน เป็นระยะเวลา 3 ปีนั้น
จะส่งผลกระทบต่อแผนของทรูและดีแทคในการผนึกความแข็งแกร่งที่จะดึงดูดผู้ใช้งานที่มากขึ้น ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของการควบรวม กลยุทธ์หลังการควบรวมกิจการอาจล่าช้าถึง 3 ปี ซึ่งจะทำให้ผู้แข่งขันใช้แคมเปญการตลาดใหม่มาแย่งชิงลูกค้าที่มีอยู่ ถือเป็นการการสกัดกั้นการสร้างแบรนด์ใหม่ เงื่อนไขข้อนี้ทำให้ ทรูและดีแทคยังไม่ได้อยู่ในตำแหน่งผู้นำตลาดหลังการควบรวมในทันที
ทั้งนี้ ในรายงานผลวิจัยระดับโลก HSBC คาดการว่าการผนึกกำลังครั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CAPEX) และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) ได้ 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ถึง 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลอดจนเพิ่มรายได้ ในมุมของกฎระเบียบ สถาบันการเงินเชื่อว่า การควบรวมครั้งนี้ จะเกิดสิ่งดี ๆ เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทไม่มีใครสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างเพียงพอเพื่อลงทุนด้านเครือข่าย
ที่มา TopNews
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย