3 พ.ย. 2022 เวลา 12:11 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา Grab บริษัทที่มีรายได้หมื่นล้าน แต่ค่าใช้จ่ายแสนล้าน
2
ถ้าเพื่อนมาบอกเราว่า เขาขายสินค้าราคาหมื่นบาท แต่ค่าใช้จ่ายแสนบาท
เราคงตอบเพื่อนว่า บ้าหรือเปล่า ? จะทำไปทำไม
แต่ถ้าเพื่อนเราคนนี้คือ Grab
และตัวเลขที่เขาบอกเราต้องเติมหน่วยล้านเข้าไป
นั่นก็คือรายได้หมื่นล้านบาท แต่ค่าใช้จ่ายแสนล้านบาท
เพื่อนคนนี้กำลังทำอะไรอยู่ แล้ว Grab ที่เรากดเรียกกัน มันขาดทุนเท่านี้จริงหรือ ?
และสิ่งนี้มันนำไปสู่การต้องจองรอบงานของไรเดอร์อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจ การรับรู้รายได้ของ Grab
1
ด้วยความที่ Grab เป็นแพลตฟอร์มเรียกรถ และส่งอาหาร ที่มีโมเดลธุรกิจเป็นตัวกลาง โดยไม่ได้เป็นเจ้าของรถแท็กซี่ หรือมีไรเดอร์เป็นของตัวเอง
บริษัทจึงมีวิธีรายงานตัวเลขการซื้อสินค้าและบริการบนแพลตฟอร์ม กับรายได้แยกกัน
โดยตัวเลขการซื้อสินค้าและบริการ จะเรียกว่า GMV ย่อมาจาก Gross Merchandise Volume
2
โดยทุก ๆ ครั้งที่มีคนกดซื้อสินค้าและบริการ Grab ก็จะคิดค่าธรรมเนียมจากทุกครั้งที่ซื้อ
1
แล้วสงสัยกันไหมว่า ทุกครั้งที่เราซื้อสินค้า 100 บาท จะโดน Grab คิดค่าธรรมเนียมเท่าไร
2
จากตัวเลขในงบการเงินไตรมาสที่ 2 ปี 2022
- ธุรกิจขนส่งอาหาร Grab คิดค่าธรรมเนียมเฉลี่ย 20.8%
- ธุรกิจเรียกรถยนต์ Grab คิดค่าธรรมเนียมเฉลี่ย 23.2%
4
ในขณะที่ การรับรู้รายได้ของบริษัท จะเป็นค่าธรรมเนียมที่ Grab ได้ แล้วนำไปหักเงิน Incentives ที่ให้ร้านค้า ไรเดอร์ และผู้ซื้อ
3
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น
เราสั่งชานมไข่มุกใน Grab 100 บาท
มูลค่าตรงนี้ จะนับเป็นยอดซื้อสินค้าและบริการ หรือ GMV
Grab ได้ค่าธรรมเนียมเฉลี่ย 20.8%
แปลว่ารายได้ค่าคอมมิชชันของ Grab จะเป็น 20.8 บาท
1
ทีนี้ หากเรามีการใช้โคดส่วนลด เช่น GRAB10 เป็นส่วนลด 10 บาท
และ Grab มีการจ่าย Incentives หรือเงินจูงใจให้กับร้านค้าและไรเดอร์ อีก 6.5 บาท
ทั้งสองส่วนนี้ จะนำมาหักออกจากรายได้
2
สรุปก็คือ ออร์เดอร์นี้ Grab บันทึกรายได้ลงบริษัท 20.8 - 10 - 6.5 เท่ากับ 4.3 บาท..
2
พอเห็นภาพแบบนี้แล้ว เรามาดูผลประกอบการของ Grab ปีที่แล้วกัน
2
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2022 Grab มี GMV หรือยอดซื้อสินค้าและบริการรวม 192,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30%
โดย Grab มีรายได้หลังหัก Incentives ที่ 12,208 ล้านบาท
และ Grab ขาดทุน 21,800 ล้านบาท
7
หรือหากจะดูผลประกอบการในช่วง 12 เดือนล่าสุด
Grab จะมีรายได้ 31,500 ล้านบาท
มีต้นทุนขาย 46,000 ล้านบาท
พูดง่าย ๆ คือ แค่เริ่มทำธุรกิจก็ขาดทุนแล้ว
2
เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก สรุปแล้วตลอด 1 ปี Grab ขาดทุน มากถึง 114,000 ล้านบาท..
1
ซึ่งล่าสุด เหมือนว่าตัว Grab เอง ก็รู้ปัญหานี้ดี และได้เริ่มหาวิธีลดต้นทุน
โดยสิ่งที่วันนี้ผู้บริโภคเริ่มสังเกตเห็นได้ก็คือ
2
- มีจำนวนไรเดอร์รับงานน้อยลง ทั้งดิลิเวอรี และการเรียกรถ
- ได้รับอาหารช้าลง หรืออาหารที่ได้รับเย็นชืด
สาเหตุก็เป็นเพราะว่า Grab ได้ปรับวิธีการรับงานของไรเดอร์ และเส้นทางการส่งอาหาร เช่น
- ไรเดอร์ต้องมีการจองรอบงาน ถึงจะรับงานได้
- รวมการส่งอาหารมากกว่า 1 ออร์เดอร์ และให้ไรเดอร์ไปส่งพร้อมกัน
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับไรเดอร์ คือ
- ได้รับงานจำนวนน้อยลง
- ได้รับค่าธรรมเนียมการรับงานต่อ 1 ออร์เดอร์น้อยลง
- เมื่อส่งอาหารให้ลูกค้า ก็ได้ฟีดแบ็กที่แย่ลง
1
เมื่อประกอบกับค่าน้ำมันแพง ที่เป็นต้นทุนสำคัญของไรเดอร์ เราจึงได้เห็นการรวมตัวประท้วงกันในขณะนี้
และในสนามธุรกิจที่ดิลิเวอรีทุกเจ้าแข่งขันกันอย่างรุนแรง
เมื่อไปดูราคาหุ้นของ Grab ก็สะท้อนกับความยากลำบากที่เกิดขึ้น
หลังจากที่ Grab เข้าตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq เมื่อปีที่แล้ว
หุ้นของบริษัท ก็ถูกเทขายตั้งแต่วันแรก โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
ปรับตัวลดลงไปมากถึง 77% แล้ว
2
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า อนาคตของ Grab จะเป็นอย่างไร
แต่ที่แน่ ๆ คือ การสั่งอาหารผ่าน Grab หรือฟูดดิลิเวอรีเจ้าอื่นที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
ผู้ประกอบการกำลังขาดทุนไปเรื่อย ๆ
และเมื่อถึงวันที่แบกไม่ไหว เราก็น่าจะได้เห็นอะไรเกิดขึ้นสักอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นการควบรวม หรืออาจมีบริษัทที่ต้อง จมหายไป ในตลาดทะเลเลือดแห่งนี้..
3
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
1
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
1
โฆษณา