Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Auto III
•
ติดตาม
4 พ.ย. 2022 เวลา 02:40 • ปรัชญา
💘 ธิดามาร
พวกเราหลายคนน่าจะได้เรียนพุทธประวัติมาบ้าง เราน่าจะจำกันได้ว่าตอนผจญมาร มีพระแม่ธรณีบีบมวยผม
ผลงานของ อาจารย์กฤษณะ สุริยกานต์
ต่อมาในช่วงเสวยวิมุตติสุข พญามารได้แก้แค้นโดยส่งธิดามารมาทดสอบว่าพุทธะจะถูกยั่วยวนด้วยกามารมณ์หรือไม่ เรามักจำตาม ๆ กันมาแบบนี้ แต่รู้หรือไม่ว่า ตามที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร
ผลงานของ อาจารย์คำนวณ ชานันโท
ใน {มารธีตุสูตร} เล่าว่า มารไม่สามารถโน้มน้าวพระพุทธเจ้าได้ แล้วมารทำยังไงรู้มั้ยครับ
“จึงหลีกจากที่นั้นไปนั่งขัดสมาธิที่พื้นดิน
ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค เป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
ใช้ไม้เขี่ยพื้นดินอยู่”
อ่ยย ไอ้ต้าวมาร 🥺 หนูจะน่ารักเกินปุยมุ้ยย 555
“ครั้งนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา เข้าไปหามารผู้มีบาปถึงที่อยู่แล้ว กล่าวกับมารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
ท่านพ่อ ท่านเสียใจด้วยเหตุไร
หรือเศร้าโศกถึงบุรุษคนไหน
พวกดิฉันจักใช้บ่วงคือราคะนำมาถวาย
เหมือนบุคคลคล้องช้างป่านำมา ฉะนั้น
บุรุษนั้นจักตกอยู่ในอำนาจของท่านพ่อ”
ก่อนจะเล่าต่อ หลายคนคงรู้สึกว่านี่เป็นเพียงเรื่องเล่าปรัมปรา อาจจะยังจับสาระไม่ได้ ดังนั้น ผมจึงอยากให้ทุกคนสังเกตชื่อธิดามารดูดี ๆ ครับ
ราคา — ความกำหนัด, ความยินดีในกาม, ความใคร่.
อรดี — ความไม่ยินดี, ความไม่พอใจ, อราดี หรืออราติ ก็ใช้.
ตัณหา — ความทะยานอยาก, ความต้องการ, ความใคร่ในกาม.
ราคา อรดี ตัณหา คือตัวแทนของ craving, disinterest, passion
เห็นไหมครับว่า ชื่อธิดามารแต่ละนาง ล้วนสื่อถึงสภาพอารมณ์ทั้งสิ้น เหตุการณ์นี้จึงสื่อถึงการเอาชนะของพุทธะต่อสภาพอารมณ์เหล่านี้นั่นเองครับ
‘มารกล่าวว่า
บุรุษนั้นเป็นพระอรหันต์
เป็นพระสุคตในโลก ก้าวล่วงบ่วงแห่งมารได้แล้ว
ใครๆ พึงนำมาด้วยราคะไม่ได้ง่ายๆ
เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก
ครั้งนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอปรนนิบัติพระยุคลบาทของพระองค์”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคไม่ทรงใส่พระทัยถึงคำของธิดามารนั้น’
รู้มั้ยครับธิดามารทำไงต่อ พวกนางวางแผนกันครับ ตกลงกันว่าจะแปลงร่างเป็นสาววัยรุ่นคนละ 100 แต่ก็แน่นอนครับ ไม่สำเร็จ! คราวนี้เปลี่ยนแผนครับ แปลงเป็นหญิงที่ยังไม่เคยคลอดบุตรคนละ 100 เรียกได้ว่ายังโสดยังซิงทีเดียว แต่ก็ไม่สำเร็จอีกแล้วครับ เลยเปลี่ยนแผน แปลงเป็นหญิงคลอดลูกแล้ว 1 ครั้งคนละ 100 ก็แล้ว แปลงเป็นหญิงคลอดลูกแล้ว 2 ครั้งคนละ 100 ก็แล้ว แปลงเป็นหญิงกลางคนคนละร้อยก็แล้ว แปลงเป็นหญิงแก่คนละร้อยก็แล้ว ไม่สำเร็จสักครั้ง พวกนางก็เลยคิดว่า
“ถ้าพวกเราพึงเล้าโลมสมณะหรือพราหมณ์ใดที่ยังไม่หมดราคะ ด้วยความ
พยายามอย่างนี้ หทัยของสมณะหรือพราหมณ์นั้นพึงแตก โลหิตอุ่นๆ พึงพุ่งออก
จากปาก หรือเขาพึงบ้า หรือว่ามีจิตฟุ้งซ่าน เหมือนอย่างต้นอ้อสดถูกลมพัดขาด
เหี่ยวเฉาแห้งไป แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์นั้นพึงหงอยเหงา ซูบซีดเหี่ยวแห้งไป” พวกนางก็เลยโยนคำถามให้พุทธะครับ
ธิดามาร :
ท่านถูกความเศร้าโศกทับถมหรือ
จึงมาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้
ท่านเสื่อมจากทรัพย์สมบัติหรือ
หรือว่ากำลังปรารถนาอะไรอยู่
ท่านได้ทำความเสียหายร้ายแรงอะไรไว้ในหมู่บ้านหรือ
เพราะเหตุไรท่านจึงไม่เป็นมิตรกับชนทั้งปวงเล่า
หรือว่าท่านเป็นมิตรกับใครๆ ไม่ได้
พุทธะ :
เราชนะเสนามารคือรูปที่น่ารัก
และรูปที่น่าพอใจแล้ว เพ่งพินิจอยู่ผู้เดียว ได้รู้ความสุข
เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่เป็นมิตรกับชนทั้งปวง
เพราะความเป็นมิตรกับใครๆ ไม่สำเร็จประโยชน์แก่เรา
ธิดามาร :
ภิกษุในศาสนานี้มากไปด้วยวิหารธรรมอย่างไหน
จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย)
บัดนี้ ท่านข้ามโอฆะที่ ๖ (ใจ) ได้แล้วหรือ
บุคคลเพ่งฌานอย่างไหนมาก
กามสัญญาทั้งหลายจับยึดเขาไม่ได้ จึงห่างเหินไป
พุทธะ :
บุคคลมีกายอันสงบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอะไรๆ เป็นเครื่องปรุงแต่ง
มีสติ ไม่มีความอาลัย รู้ทั่วธรรม
มีปกติเพ่งพินิจอยู่ด้วยฌานที่ ๔ อันหาวิตกมิได้
ย่อมไม่กำเริบ ไม่ซ่านไป ไม่เป็นผู้ย่อท้อ
ภิกษุในศาสนานี้มากไปด้วยวิหารธรรมอย่างนี้
จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ ได้
บัดนี้ เธอข้ามโอฆะที่ ๖ ได้แล้ว
ภิกษุผู้เพ่งฌานอย่างนี้มาก
กามสัญญาทั้งหลายจับยึดเธอไม่ได้ จึงห่างเหินไป
ธิดามาร :
พระศาสดาผู้นำหมู่สงฆ์
ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว และชนผู้มีศรัทธาเป็นอันมาก
จักประพฤติตามได้แน่
พระศาสดาพระองค์นี้เป็นผู้ไม่มีความอาลัย
ตัดขาดจากมือมัจจุราชได้แล้ว
จักนำหมู่ชนเป็นอันมากไปสู่ฝั่งได้แน่
พระตถาคตทั้งหลายผู้เป็นมหาวีระ ย่อมนำสัตว์ไปด้วยพระสัทธรรม เมื่อพระตถาคตนำไปอยู่โดยธรรม ความริษยาจะมีแก่ท่านผู้รู้ได้อย่างไร
พระพุทธเจ้า
ลำดับนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันเข้าไปหามารผู้มีบาปถึงที่อยู่ มารผู้มีบาปเห็นธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคามาแต่ไกล จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า
“พวกเธอช่างโง่เขลา พากันทำลายภูเขาด้วยก้านบัว
ขุดภูเขาด้วยเล็บ เคี้ยวเหล็กด้วยฟัน
พวกเธออาศัยพระโคดมหาที่พึ่ง
จะเป็นดุจคนวางหินไว้บนศีรษะแล้วเจาะหาที่พึ่งในบาดาล ฉะนั้น
พวกเธอเหมือนเอาหนามมายอกอก(พ่อ) จงหลีกไปเสียเถิด”
พระศาสดาได้ขับไล่นางตัณหา นางอรดี และนางราคา
ผู้มีรูปน่าทัศนายิ่ง ซึ่งได้มาในที่นั้นให้หนีไป
ดุจลมพัดปุยนุ่น ฉะนั้น
ที่มา :
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๕. มารธีตุสูตร
84000.org
���. �. ��øյ��ٵ� : ����ûԮ�������� ��
พุทธศาสนา
ศาสนา
พระพุทธเจ้า
บันทึก
2
4
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย