7 พ.ย. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไม ราคาน้ำมันในไทย ถึงแพงกว่า มาเลเซีย ?
หนึ่งในประเด็นเรื่องพลังงาน ที่มักจะถูกนำมาเปรียบเทียบระหว่างไทย และเพื่อนบ้านของเราอย่าง มาเลเซีย ก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง
ทำไม ราคาน้ำมันในไทย ถึงแพงกว่า มาเลเซีย ?
3
สะท้อนผ่านราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2022
- ประเทศไทย อยู่ที่ 34.94 บาทต่อลิตร
- ประเทศมาเลเซีย อยู่ที่ 2.15 ริงกิตต่อลิตร หรือราว 17.30 บาทต่อลิตร
จะเห็นได้ว่า ราคาน้ำมันดีเซลของไทย สูงเป็น 2 เท่าของมาเลเซียเลยทีเดียว แล้วทำไมถึงเป็นแบบนั้น ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
แม้ว่าไทยและมาเลเซียจะมีอาณาเขตติดกัน แต่สภาพทางธรณีวิทยา ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แหล่งทรัพยากรพลังงาน จึงมีความแตกต่างกันด้วย
3
จากข้อมูลของบริษัท BP ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของโลก
ได้เปิดเผยเกี่ยวกับน้ำมันดิบของไทย และมาเลเซียไว้ ดังนี้
ไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบราว 300 ล้านบาร์เรล ซึ่งเหลือใช้ได้เพียง 2 ปีเท่านั้น
2
โดยในปี 2021 ไทยผลิตน้ำมันดิบได้ราว 0.39 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ความต้องการใช้ อยู่ที่ 1.21 ล้านบาร์เรลต่อวัน
1
พอเป็นแบบนี้ ทำให้ไทยจึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบเป็นจำนวนมาก เพื่อนำมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูป
3
ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ไทยจะนำเข้าน้ำมันดิบ จากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ซาอุดีอาระเบีย, กาตาร์ และคูเวต
และถึงแม้ว่าไทยจะมีการส่งออกน้ำมันดิบบ้างเล็กน้อย
แต่ก็เป็นเพราะว่าน้ำมันดิบที่ผลิตได้มีสารปนเปื้อนสูง
 
ในขณะที่ กระบวนการผลิตของโรงกลั่นในประเทศ ไม่สามารถรองรับได้ จึงถูกส่งออกไปขายยังต่างประเทศ
7
นอกจากน้ำมันดิบแล้ว อีกหนึ่งพลังงานที่ไทยค้นพบปริมาณมาก ในบริเวณอ่าวไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน นั่นคือ “ก๊าซธรรมชาติ”
1
แต่หลังจากขุดใช้มากว่า 40 ปี ก็ทำให้ก๊าซธรรมชาติทยอยลดลงเรื่อย ๆ โดยไทยมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติประมาณ 100,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งคาดว่าจะเหลือใช้ได้อีกแค่ราว 4 ปี
โดยในปี 2021 ไทยผลิตก๊าซธรรมชาติ ได้ราว 31,500 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ มากถึง 47,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
2
ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้อยู่ดี
ทำให้ไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติ ทางท่อขนส่งจากประเทศเมียนมา
และนำเข้าก๊าซธรรมชาติผ่านทางเรือ ในรูปของ Liquefied Natural Gas (LNG) หรือก๊าซธรรมชาติเหลวด้วย
6
ซึ่งการนำเข้า LNG ก็กำลังมีบทบาทสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ ในการขึ้นมาทดแทนก๊าซธรรมชาติที่เหลือในอ่าวไทย
โดยในปี 2021 ไทยนำเข้า LNG ราว 9,200 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 20% ของความต้องการใช้ทั้งหมดเลยทีเดียว
2
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ทำให้โดยสุทธิแล้ว ไทยกลายเป็นประเทศ ที่จำเป็นต้องนำเข้าพลังงาน เพราะไม่สามารถผลิตพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการได้
 
ทีนี้ มาดูทางฝั่งประเทศมาเลเซียกันบ้าง
มาเลเซียมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบราว 2,700 ล้านบาร์เรล ซึ่งคาดว่าจะเหลือใช้ได้อีกกว่า 12 ปี
2
โดยในปี 2021 มาเลเซียผลิตน้ำมันดิบได้ราว 0.57 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่มีความต้องการใช้ อยู่ที่ 0.76 ล้านบาร์เรลต่อวัน
เมื่อเทียบกับไทยแล้ว ก็ต้องบอกว่า มาเลเซียมีความต้องการใช้น้ำมันดิบ มากกว่าที่ผลิตได้อยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ส่วนปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของมาเลเซีย อยู่ที่ 900,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งคาดว่าจะเหลือใช้ได้อีก 12 ปี เช่นกัน
2
โดยในปี 2021 มาเลเซียผลิตก๊าซธรรมชาติ ได้ราว 74,200 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ เพียง 41,100 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทำให้สุดท้ายแล้ว มาเลเซียจึงกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกพลังงาน และสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้
แล้วทำไมราคาน้ำมันของไทย ถึงแพงกว่ามาเลเซีย ?
ยกตัวอย่างราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2022
2
- ประเทศไทย อยู่ที่ 34.94 บาทต่อลิตร
- ประเทศมาเลเซีย อยู่ที่ 2.15 ริงกิตต่อลิตร หรือราว 17.30 บาทต่อลิตร
จะเห็นได้ว่า ราคาน้ำมันดีเซลของไทย แพงกว่าของมาเลเซียถึง 2 เท่าเลยทีเดียว
จากที่บอกไปตอนต้นว่า แหล่งทรัพยากรพลังงานของทั้ง 2 ประเทศมีความแตกต่างกัน
ส่งผลให้ ไทยเป็นประเทศนำเข้าพลังงาน ขณะที่มาเลเซียเป็นผู้ส่งออกพลังงาน จึงมีการดำเนินนโยบายด้านพลังงานไม่เหมือนกันด้วย
โดยหนึ่งในนั้นก็คือ โครงสร้างราคาน้ำมัน
ซึ่งไทยเอง จะมีการจัดเก็บภาษีต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ใช้น้ำมันอย่างประหยัด
10
รวมถึง มีการเรียกเก็บเงินอุดหนุนเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในตอนที่ราคาน้ำมันถูก เพื่อนำไปใช้อุดหนุนในช่วงที่ราคาน้ำมันแพง
อย่างสถานการณ์แบบตอนนี้
1
ขณะที่มาเลเซีย เนื่องจากมีรายได้จากการผลิตและส่งออกพลังงาน จึงไม่มีการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติม และไม่มีการตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแต่อย่างใด
3
นอกจากนี้ มาเลเซียยังสามารถนำรายได้ตรงนี้ มาอุดหนุนราคาน้ำมันขายปลีกให้ต่ำกว่าความจริงได้อีกด้วย
1
นี่จึงเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ราคาน้ำมันในมาเลเซีย มีระดับต่ำกว่าราคาน้ำมันในไทยนั่นเอง
 
จากเรื่องราวนี้ เราคงเห็นกันแล้วว่า
สถานการณ์ด้านพลังงานของแต่ละประเทศนั้น มีความแตกต่างกัน ส่งผลให้เส้นทางของนโยบายที่เลือกใช้ ก็ย่อมไม่เหมือนกัน
1
ดังนั้น หากเราจะเปรียบเทียบระหว่างไทย กับมาเลเซีย หรือแม้กระทั่งประเทศอื่น ๆ ก็ต้องพิจารณาถึงบริบทของประเทศที่แตกต่างกันด้วย..
3
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
โฆษณา