Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน
•
ติดตาม
6 พ.ย. 2022 เวลา 02:06 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ว่าด้วยอุบัติเหตุไฟไหม้ ..
กับ กังหันลม ผลิตไฟฟ้าในโลกใบนี้ ..
▪️ ▪️ ▪️ ▪️ ▪️ ▪️ ▪️ ▪️
ขอเริ่มจาก :
1️⃣ ในโลกใบนี้มีการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม มากแค่ไหน?
🔸ในปี 2021ที่ผ่านมา มีการผลิตมากถึง 837 จิกะวัตต์
🔸 มีสัดส่วนการผลิตบนบกร้อยละ 93 อีกร้อยละ 7 อยู่ในทะเล
🔸จีนเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากลมมากที่สุดในร้อยละ 28 ของโลก
🔸ประเทศไทย มีการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมราว 1,500 เมกะวัตต์
หากคิดเฉลี่ยจะมีกังหันลมผลิตไฟฟ้าบนโลกใบนี้ราว 300,000 ต้น
จากสถิติพบว่า มีเหตุไฟไหม้กังหันลมเฉลี่ยราว 120 ครั้งต่อปี
หากคิดสัดส่วนในเชิงจำนวน ร้อยละ 0.04
(หมื่นต้น พบ 4 ต้น)
2️⃣ กังหันลม เกิดไฟไหม้ได้อย่างไร ?
▪️สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากกังหันถูกฟ้าผ่า
▪️ความผิดปกติทางไฟฟ้า ความผิดปกติทางกล ของกังหันเอง
▪️การบำรุงรักษาไม่ได้เป็นไปตามวาระ
ยกเรื่องสาเหตุจากฟ้าผ่า และพิจารณาจากสาเหตุที่ตัวกังหันเอง
ขอให้นึกภาพพัดลมที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ครับ
ปัจจัยการเกิดไฟ ก็คือ
▪️ความร้อนสะสม
▪️ประกายไฟ
▪️ออกซิเจน
ดังนั้นวัสดุต่างๆในการผลิตกังหันลม จะต้องลดปัจจัยการเกิดความร้อนสะสม และประกายไฟให้มากที่สุด (ต้องระบายความร้อนให้ดี)
สำหรับออกซิเจน มันต้องมีของมันอยู่แล้ว (ลม)
3️⃣ กังหันลม หากไฟไหม้ ใครได้รับผลกระทบบ้าง ?
1. เจ้าของกังหันลม : กังหันลมต้นหนึ่งมีราคาราว 2 ล้านยูโร และสามารถขายไฟฟ้าได้โดยเฉลี่ย 5 แสนยูโรต่อปี (ขึ้นอยู่กับความเร็วลม)
นอกจากนี้โดยปกติกังหันลมจะผลิตไฟฟ้าในลักษณะ wind farm เมื่อเกิดไฟไหม้กังหันลมตัวใดตัวหนึ่ง กังหันลมที่เหลือก็จะต้องถูกตรวจสอบด้วย (หยุดการผลิตไฟฟ้าชั่วคราว) : ทำให้ขายไฟฟ้าเข้าระบบไม่ได้
ดังนั้น .. โดยสภาวะของการทำธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม
จะต้องไม่ให้เกิดอุบัติเหตุลักษณะนี้ต่อกังหันลมผลิตไฟฟ้า และด้วยความสูงของกังหัน การซ่อมแซมนั้น ดำเนินการค่อนข้างไม่ง่ายครับ อีกทั้งต้องใช้ผู้เชียวชาญด้านนี้โดยตรง
2.ชาวบ้านละแวกนั้น กระทบมั้ย ?
🔸สิ่งแรกที่ชาวบ้านจะได้รับคือ ความตระหนกจากไฟที่ไหม้กังหัน
🔸เสียงระเบิด (หากเกิดระเบิดขึ้น) หรือเสียงกังหันล้ม
🔸แต่ด้วยระยะห่างของกังหันลมกับชุมชนจะไม่มีผลกระทบต่อชาวบ้าน
ในละแวกนั้น
4️⃣ การติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้า มีหลักเกณฑ์ในการติดตั้งหรือไม่ ?
ประเทศไทยโดย กกพ.กำหนดระยะห่างที่ตั้งการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม ตั้งแต่ปี 2558 ดังนี้
▪️ระยะปลอดภัยกรณีกังหันลมโค่นล้ม : ระยะโคนเสาถึงขอบที่ดินโครงการไม่น้อยกว่า 1.2 เท่าของผลรวมของความสูงบวกกับรัศมีใบพัด
▪️ระยะห่างระหว่างกังหันลมกับชุมชน : ระยะห่างจากโคนเสาถึงเขตที่ดินที่อยู่อาศัย ไม่น้อยกว่า 3 เท่าของผลรวมของความสูงบวกกับรัศมีใบพัด
▪️ระยะห่างระหว่างเสากังหันลมกับทางหลวง : เหมือนกับกรณีเสาล้ม
ด้วยหลักเกณฑ์ที่มี ทำให้ชุมชนที่อยู่ใกล้กับกังหันลม
มีระยะปลอดภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น
🚩 จบโพสต์นี้ด้วย
การผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลม ยังคงเป็น Trend ของโลกที่จะใช้พลังงานสะอาดทดแทนการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล
นอกจากนี้ ความสวยงามของกังหันลม ยังคงเป็นเสน่ห์
เป็นจุดเช็คอิน จุดถ่ายรูป เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ซึ่งเป็นประโยชน์ทางอ้อมที่ดีทีเดียว
2
หากติดตั้งได้ตามมาตรฐาน และบำรุงรักษาตามวาระของเค้า
ก็ไม่น่าเป็นห่วงอะไร ..
โลกยังคงต้องการพลังงานสะอาด ... และปลอดภัย
2
เรียนรู้ .. ไปพร้อมๆกัน
6 พฤศจิกายน 2565
เครดิตภาพ : pixabay
อ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?v=MVHzfUWul2Y
https://mgronline.com/china/detail/9640000062085
https://spectrum.ieee.org/wind-farm-fires-far-more-common-than-reported-study-finds
ไฟฟ้า
พลังงาน
บันทึก
17
15
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เรียนรู้ปัญหาไฟฟ้า ที่พบได้บ่อยๆ
17
15
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย