6 พ.ย. 2022 เวลา 23:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คนลาวนิยมใช้เงินบาทไทยในลาว จึงทำให้เงินกีบอ่อนค่าและไร้ความเสถียรภาพ
ธนาคารแห่ง สปป.ลาว นำมาใช้เพื่อแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งลาวกำลังเผชิญอยู่อย่างหนักหน่วง มาตรการที่เพิ่งประกาศออกมา มีเป้าหมายเบื้องต้นเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับเงินกีบที่ได้อ่อนค่าลงมาอย่างรุนแรง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของลาวพุ่งสูงขึ้นสร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2565 เพิ่มภาระค่าครองชีพแก่ประชาชนลาว เพราะสินค้าจำเป็นทุกชนิดล้วนแพงขึ้นอย่างถ้วนหน้า
ธนาคารแห่ง สปป.ลาว ยังได้กำหนดส่วนต่างของเงินกีบเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ให้อยู่ในกรอบไม่เกิน +/-4.50% จากอัตราอ้างอิงที่ประกาศออกมาในแต่ละวัน
นับแต่ลาวต้องปิดประเทศเพื่อป้องกันการระบาดของโควิด-19 เมื่อปี 2563 เงินกีบก็ปรากฏแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะแหล่งรายได้หลักที่เป็นเงินตราต่างประเทศส่วนหนึ่งของลาวนั้น มาจากภาคการท่องเที่ยว
มื่อเศรษฐกิจทั่วโลกเข้าสู่แนวโน้มขาลงอย่างชัดเจน หลังรัสเซียนำกำลังบุกยูเครนเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ลาวยิ่งต้องเผชิญกับวิกฤติการเงินที่แสนสาหัส เกิดภาวะขาดแคลนเงินดอลลาร์ภายในประเทศ ค่าเงินกีบตกต่ำลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ขณะที่เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นสร้างสถิติใหม่ต่อเนื่องทุกเดือน ประชาชนมีรายได้น้อยลง แต่ค่าครองชีพสูงขึ้น
ล่าสุดที่ศูนย์สถิติแห่งชาติ กระทรวงแผนการและการลงทุน เพิ่งประกาศเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 เงินเฟ้อของลาวเดือนตุลาคม2565 เพิ่มขึ้น 36.75% "ราคาน้ำมัน-อาหาร" ปัจจัยหลัก
อัตราเงินเฟ้อของลาวเดือนมกราคม 2565 เทียบกับงวดเดียวกันของปี 2564 เพิ่มขึ้น 6.25% เดือนกุมภาพันธ์เพิ่มเป็น 7.31% มีนาคม 8.54% เมษายน 9.87%
ปัจจัยที่ทำให้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของลาวพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าทุกชนิดยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในหมวดคมนาคมและขนส่ง ที่สูงขึ้นถึง 58.1% เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2564 โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มถึง 95% รองลงมาเป็นสินค้าหมวดเสบียงอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่มสูงขึ้น 38.8% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุกชนิด ทั้งข้าวสาร เนื้อสัตว์ทุกประเภท ไข่ ผักสด ผลไม้
โฆษณา